วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556
เสียงสตรีจากแดนใต้..เยี่ยมยอดที่กล้าคิด
ดิฉันชาวสวนยาง ไม่เห็นด้วยถ้ารัฐบาลจะประกันราคายาง 120 บาท + + +
เพราะมันจะเป็นการปั่นราคาและสร้างมาตรฐานของราคายางพาราที่เกินจริงจากกลไกการตลาด
http://www.watchlakorn.in/-video-37446
ดูข่าวจากรายการ "ประเด็นเด็ด 7 สี" ประจำวันนี้ (28/08/2556) บอกว่า ที่ประชุมคณะรัฐบาลมีมติจะชดเชยต้นทุนค่าปุ๋ยให้กับเกษตรกรชาวสวนยางไร่ละ 1,200 บาท แต่ไม่เกินคนละ 25 ไร่โดยจะจ่ายผ่าน ธกส. ดำเนินการได้ทันที โดยส่วนตัวดิฉันค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับมตินี้ และถ้าหากรัฐบาลยอมอ่อนข้อให้กับเกษตรกรที่กำลังปิดถนนประท้วงเพื่อให้รัฐบาลรับประกันราคายางพาราที่ กก. ละ 120 บาท ด้วยแล้ว ดิฉันขอแสดงจุดยืนที่จะไม่เห็นด้วย และห้ามไม่ให้ที่บ้านเข้าร่วมชุมนุมประท้วงโดยเด็ดขาด
ไม่ใช่ดิฉันร่ำรวยเสียจนหยิ่งยโสโอหัง และไม่เห็นอกเห็นใจความเดือดร้อนของคนอื่น เพียงแต่ดิฉันเห็นว่ามันไม่ยุติธรรมกับเกษตรกรรายอื่นที่ไม่ใช่ชาวสวนยาง เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย มันสำปะหลัง ชาวสวนผลไม้ หอม กระเทียม และอื่นๆอีกมากมาย ทุกคนล้วนมีต้นทุนการผลิต ต้องใช้ปุ๋ยทั้งสิ้น แล้วทำไมรัฐบาลจะต้องใช้เงินงบประมาณมาชดเชยให้เฉพาะชาวสวนยางพารา? แล้วเกษตรกรรายอื่นล่ะ....คุณคิดว่าเขาไม่เดือดร้อนหรือ? ถ้าเกษตรกรเหล่านี้ออกมาประท้วงขอให้รัฐบาลประกันราคาผลผลิตตามที่เขาพอใจบ้าง หรือขอให้ชดเชยค่าปุ๋ยอย่างชาวสวนยางบ้างล่ะ ? รัฐบาลจะโอบอุ้มพวกเขาบ้างหรือเปล่า ?
แล้วถ้ารัฐบาลต้องช่วยเหลือเกษตรกรทั้งหมด จะต้องใช้เงินงบประมาณแผ่นดินมากมายขนาดไหน ? แต่ถ้าไม่ช่วยเหลือก็จะเป็นการเลือกปฏิบัติ พวกเขาไม่ใช่เกษตรกรชาวไทยหรืออย่างไร ? มันเป็นคำถามที่รัฐบาลจะต้องเตรียมตัวตอบ....
ดิฉันคิดว่า ... การที่รัฐบาลชดเชยค่าปุ๋ยให้กับเกษตรกรชาวสวนยางดังที่ว่ามาข้างต้น เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ไม่ถูกจุดเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องและจะกลายเป็นการ "ขว้างงูไม่พ้นคอ"
รัฐบาลต้องระดมสมองเพื่อหาทางออกกับปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำให้กับทุกภาคส่วนเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวไม่ใช่ใช้เงินในการแก้ปัญหา แต่ต้องใช้ปัญญาและความสามารถในการแก้ปัญหา
ดิฉันเป็นเกษตรกร เป็นทั้งชาวสวนยาง ถึงแม้จะมีไม่มากขนาดเป็นร้อยๆไร่ แต่ก็มีอยู่หลายสิบไร่ มากเกิน 25 ไร่ มีสิทธิได้เงินชดเชย ค่าปุ๋ย เป็นทั้งชาวนามีที่นาอีกหลายสิบไร่ นอกจากนั้นยังมีบ่อเลี้ยงปลาอีก การที่ครอบครัวดิฉันประกอบอาชีพเกษตรหลายอย่างนั้น เป็นการกระจายความเสี่ยง และทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตหมุนเวียนก่อให้เกิดรายได้ตลอดปี จึงพอมีเงินทุนมาหมุนเวียนได้
จนชิกหายเลย จนๆมากจนต้องให้รัฐบาลผ่อยรถ ผ่อนบ้าน จ่ายค่ากินให้ลูกไม่งั้นอดอยาก
จากภาพข่าวที่รายการ "ประเด็นเด็ด 7 สี" นำเสนอ ได้ไปสัมภาษณ์เกษตรกรชาวสวนยางที่ออกมาประท้วงที่อำเภอ ชะอวด จ.นครศรีธรรมราชนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์บอกว่า รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ที่ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ และต้องเลี้ยงลูกที่ยังเล็กอยู่ ในภาพข่าว
เห็นบ้านของผู้ให้สัมภาษณ์เป็นบ้านชั้นเดียวแต่ปลูกอย่างสวยงามหรูหรา และรถปิ๊กอัพยี่ห้อแพงจอดอยู่ ไม่ได้บ่งบอกเลยว่ามีฐานะยากจน .... และกำลังเดือดร้อน
นอกจากนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์อีกรายหนึ่งบอกว่า รายได้เฉลี่ยเดือนละ 30,000 กว่าบาทไม่พอค่าใช้จ่าย เพราะต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ(ไม่ใช่รถปิ๊กอัพที่ใช้ในการเกษตร แต่เป็นรถประเภทสเตชั่นวากอน) พร้อมกับบอกว่าลำพังต้องให้ลูกก็ตกเดือนละ 20,000 กว่าบาท
ซึ่งไม่พอแน่นอน (ทำไมเด็กใช้เงินเยอะจัง?)
ดิฉันเปรียบเทียบดูกับเกษตรกรที่ไม่ใช่ชาวสวนยางทางภาคอีสานบ้านดิฉัน ต่างกันราวฟ้ากับเหว ... ชาวนา ชาวไร่ ทางภาคอีสานส่วนใหญ่ฐานะยังยากจน บ้านเป็นบ้านกระต๊อบ ไม่มีรถยนต์อย่างเก่งก็แค่รถมอร์เตอร์ไซด์ และพวกเขาก็ไม่ได้ขี้เกียจ ทำงานหนักทั้งปี หมดหน้านาก็ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ไว้กินเอง ลูกหลานเข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ๆเพื่อส่งเงินไปให้พ่อแม่ จุนเจือครอบครัว
แต่ก็ยังมีฐานะยากจนเพราะสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย ทรัพยากรทางธรรมชาติไม่มี ทุกคนต้องดิ้นรน เพื่อหนีจากความยากจนข้นแค้น ... แบบนี้ ...พวกเขาไม่เดือดร้อนกว่าหรือ ? แต่ทำไมพวกเขายังอยู่ได้ น้อยครั้งเหลือเกินที่จะเห็นพวกเขาออกมาประท้วง
เรียกร้องและสร้างความกดดันให้รัฐบาล หรือสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นเหมือนที่ชาวสวนยางกำลังทำอยู่ในขณะนี้ ....
ดิฉัน อยากให้ราคายางพาราเป็นไปตามกลไกของตลาด แต่อยากให้รัฐบาลรีบเร่งหาตลาดใหม่ หรือหาวิธีแปรรูป หรือหาผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราก่อนส่งออกสู่ตลาดเพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน
ราคายางพาราแผ่น กิโลกรัมละ 90 บาท เป็นราคาที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้ ในความคิดเห็นของดิฉัน
ที่มา Pantip
******************************
ผมเห็นด้วยกับความคิดนี้
ไม่แค่ยางนะ ข้าว มัน อ้อย ข้าวโพด หอมหัวใหญ่
การช่วยเหลือไม่ใช่วิธีการประกัน การจำนำ ยังมีวิธีอื่นๆอีกเยอะ และตรงกับความต้องการของเกษตกรอีกทั้งใช้งบประมาณแรกๆเท่านั้นและถาวรพืชผลราคากลไกตลาดโลก ไม่เป็นการบิดเบือนการตลาดรัฐบาลมีนักวิชาการเยอะ ไม่รู้จักให้พวกเขาคิดกันบ้างหรือ?
คนพวกนี้เขาอยู่ในเมือง ที่ดินปลูกเพิงพักอาศัยก็ไม่ใช่ของตน
ที่ดินทำกินก็ไม่มี ยางซักต้นก็ไม่เคยเห็น เขาก็มีลูกไม่น้อยกว่าพวกคุณ
เงินเดือนกินแต่ละเดือนถึงหมื่นหรือเปล่าก็ไม่รู้ รถเก๋ง
รถปิกอัพนั้นอย่าคิดมันแค่นอนฝันถึง เขานั่งรถเมล์
ผัวเขา ตัวเขา ลูกเขาปากกัดตีนถีบกัน
พวกเขามีเงินชดเชยมั้ย ใครให้ค่าประกันการมีชีวิตอยู่มั้ย
แต่เขาก็เสียภาษีเหมือนกับพวกคุณ
พวกคิดอย่างเดียวกูจะเอา เพราะกูต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ลูกใช้เงินเดือนละ 20000
แค่เงินลูกพวกคุณใช้เดือนนึ่งพวกเขากินกันได้ทั้งครอบครัวสองสามเดือน
สันดานเห็นแก่ตัวกับสังคมฉิบหายเลยวะ ไอ้พวกเศษสวะสังคม
http://www.dangdd.com/threads/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89-%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94.111977/
ม็อบชาวสวนยางอาวุธครบมือก่อเหตุจราจลบุกปะทะกับเจ้าหน้าที่ปราบจลาจล 23/08/56
คลิบช่อง 9 โผล่ประจาน...ม็อบ...หรือ...ซ่องโจร
ไม่มีเบื้องหลัง...มีแต่เบื้องหน้า
ฝากพี่น้องชาวใต้...พิจารณากันด้วยเหตุและผล
ไม่มีเบื้องหลัง......มีแต่เบื้องหน้า
แมงสาบล้วนๆ
เบื้องหน้าเห็นกันชัดๆแมงสาบ...วิทยา แก้วภราดัย
สถานการณ์การชุมนุมของเครือข่ายชาวสวนยางพาราจังหวัดนครศรีธรรมราช ล่าสุดท่าทีของกลุ่มผู้ชุมนุมยังพอใจการแก้ปัญหาของรัฐบาล ตั้งแต่ช่วงเช้ากลุ่มผู้ชุมนุมนำรถเทลเลอร์มาปิดถนนสายเอเชียเพิ่ม ติดตามได้จากรายงาน
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556
รายงานเสวนา “อียิปต์ : ประชาธิปไตยทำไมต้องนองเลือด”
รายงานเสวนา “อียิปต์ :
ประชาธิปไตยทำไมต้องนองเลือด”
มองอียิปต์เหลียวมองไทย ‘จรัญ มะลูลีม-ศิโรตม์-ประวิตร-จรัล ดิษฐาอภิชัย’ ถกสถานการณ์อียิปต์ บทบาทกองทัพ กลุ่มภารดรภาพมุสลิม ความเหมือน-ต่างกับการเมืองไทย พร้อมวิเคราะห์ทางออกสถานการณ์ ‘จิตรา’ ชวนไปประท้วงสถานทูตฯ อีกครั้ง 22 ส.ค.นี้ 10 โมง
20 ส.ค. 56 คณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ จัดเสวนาหัวข้อ "อียิปต์ : ประชาธิปไตยทําไมต้องนองเลือด" ที่ ห้องราณี โรงแรมโรยัลรัตนโกสินทร์ ถนนราชดําเนิน โดยมีวิทยากรประกอบด้วย จรัญ มะลูลีม อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการด้านตะวันออกลางศึกษา ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการประวิตร โรจนพฤกษ์ นักข่าว และจรัล ดิษฐาอภิชัย ประธานคณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์
ในระหว่างเสวนา จิตรา คชเดช นักสหภาพแรงงาน ผู้ไปประท้วงที่หน้าสถานทูตอียิปต์ต่อเหตุการณ์ความรุนแรงนี้ร่วมกับกลุ่มนักกิจกรรมเมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมา(ดู นักกิจกรรมชูป้ายหน้าสถานทูตอียิปต์ ประณามปราบประชาชน-รัฐประหาร) ประกาศเชิญชวนเดินทางไปร่วมชุมนุมหน้าสถานทูตอียิปต์ ที่บริเวณหน้าอาคารสรชัย ถนนเอกมัย(สุขุมวิท 63) ใกล้สถานีรถไฟฟ้าเอกมัย อีกเป็นครั้งที่ 2 เพื่อประณาการปราบปรามประชาชนของรัฐบาลอียิปต์ ในวันที่ 22 ส.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
จิตรา คชเดช กล่าวเชิญชวนผู้สนใจร่วมประณามที่หน้าสถานทูตอียิปต์ 22 ส.ค.นี้
0000
จรัล ดิษฐาอภิชัย
เหตุผลที่จัดเสวนาในครั้งนี้ เพราะเหตุการณ์ 14 ตุ.ค.16 นั้นนักศึกษาถูก เช่นเดียวกับเหตุการณ์หลังจากนั้นคือ 6 ต.ค.19 และ พ.ค.35 รวมทั้ง พ.ค.53 ทั้ง 4 เหตุการนี้เหมือนกัน เป็นการต่อสู้และถูกปราบปราม แต่ทั้ง 4 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยยังไม่ถึงขนาดเหตุการณ์ที่อียิปต์ที่ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาที่มีการปราบจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก การที่เราจะจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์ 14 ต.ค. 16 โดยที่ไม่นำพาเหตุการณ์ที่อียิปต์มาพิจารณานั้นไม่ได้เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เหมือนกัน และถ้าประชาชนผู้รักประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ไม่ร่วมกันหยุดยั้งการปราบปรามประชาชนในอียิปต์ มันก็จะมีผลไม่เพียงคนในอียิปต์ถูกปราบไปเรื่อยๆ แต่ยังเป็นแบบอย่างให้ประเทศอื่นทำตาม ดังนั้นต้องแสดงทัศนะเพื่อที่จะหยุดยั้ง โดยเริ่มจากการวิเคาราะห์สถานการณ์ ซึ่งหายคนบอกว่ามันเป็นเหตุการณ์ที่ซับซ้อน เช่นเดียวกับเหตุการร์อื่นๆ ทั่วโลก ยิ่งซับซ้อนยิ่งต้องมาหาข้อเท็จจริง เมื่อวิเคราะห์แล้วก็ต้องมาแสดงจุดยืนต่อเหตุการณ์นั้น
เวลาพูดถึงอียิปต์เราต้องรู้พื้นฐานอย่างน้อย อียิปต์เป็นประเทศเก่าแก่ เป็นต้นสายของอารยธรรมโลกแห่งหนึ่ง และมีบทบาทสำคัญในตะวันออกกลางและโลกมายาวนาน รวมทั้งในฐานะทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคของประเทศมหาอำนาจ จนกระทั้งเมื่อ 2 ปีกว่าที่แล้วเกิดอาหรับสปริง และคาดคะเนได้ว่าหลังจากอาหรับสปริงแล้วสถานการณ์ยังไม่จบจนถึงจนถึงปัจจุบันเหตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ถือเป็นโศกนาฎกรรมของมนุษย์
จรัญ มะลูลีม
จรัญ มะลูลีม : ประวัติศาสตร์การเมืองอียิปต์โดยย่อ
ในบรรดาโลกอาหรับอียิปต์ถือเป็นประเทศที่ลิเบอรัลสุดแล้ว ที่มีความหลากหลายทั้งลักษณะที่มีทั้งที่เป็นเป็นทางโลกสูงจนถึงความเคร่งครัด เราจะได้ยินคำว่า สังคมนิยมอาหรับ หรือนัสเซอริสม์ ที่ต้องการให้โลกอาหรับต้องอยู่ด้วยกัน ส่วนสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาเรียกว่า “อาหรับสปริง” หรือ ฤดูใบไม้ผลิของอาหรับหรือการเคลื่อนจากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง เหตุการที่เกิดขึ้นครั้งแรกมันเหนือความคาดหมายของคนจำนวนมาก เนื่องจากดินแดนแห่งนี้ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนผ่านอย่างรุนแรง คือในประเทศตูนิเซีย เป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากฝรังเศสมาก เกิดเหตุที่นักศึกษาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์คนหนึ่งที่เรียนจบแล้วไม่สามารถหาทางทำงานได้จึงไปขายของ แต่กลับโดนรบกวนจากตำรวจ. นำไปสู่การฆ่าตัวตาย เหตุการณ์แบบนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นในลกมุสลิม เพราะการฆ่าตัวตายเป็นบาปอย่างร้ายแรง แต่ว่ากระแสนี้กลับกลายเป็นความเห็นใจจากคนจำนวนมากในโลกออนไลน์ที่ไม่ใช่เฉพาะในประเทศตูนิเซีย แต่บางประเทศยุติลงได้เมื่อผู้ปกครองให้เงินประชาชนมากขึ้น ดูแลบริการมากขึ้น
ทั้งนี้ประเทศตูนิเซียเป็นที่เจริญรุ่งเรืองของแอฟริกาเหนือ แต่ปัญหาของอียิปต์และตุนิเซียที่มีความเจริญรุ่งเรื่องทางเศรษฐกิจ แต่เป็นความเจริญที่มีลักษณะรวยกระจุกจนกระจาย จึงทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตูนีเซีย นำไปสู่การตั้งโจทย์กับผู้นำในประเทศอาหรับอื่นๆที่มีภาวะแบบนี้
สำหรับนัสเซอร์เป็นวีรบุรุษของคนจำนวนมากหลังจากโค้นสถาบันกษัตริย์ในปี 1952 แล้วก็มีการกระจายทรัพยากรนำเอาทีดินจากคนรวยมาให้คนจน รวมทั้งเขาให้การสนุบนุนขบวนการภารดรภาพมุสลิมที่ตั้งมาก่อนปี 1952 เพื่อต้องการปลดแอกประเทศอียิปต์ที่อยู่ใต้การปกครองเจ้าอาณานิคม เมื่อนัสเซอร์ปกครองไปได้ระยะหนึ่งแล้ว กลุ่มผู้คนที่นั่นก็บอกว่านัสเซอร์ห่างไกลหลักการทางศาสนา จึงมีการเสนอหลักการปกครอที่มีศาสนารวมอยู่ด้วย ซึ่งเราเรียกว่าการใช้อิสลามในการเมืองและนำไปสู่การขัดแย้งกันระหว่าภารดรภาพมุสลิมกับผู้ปกครองในเวลานั้น และในที่สุดทางการก็กล่าวอ้างว่าพวกภารดรภาพมุสลิมวางแผนสังหารนายกและประธานาธิบดี หลังจากนั้นเป็นต้นมาขบวนการภารดรภาพมุสลิมไม่อนุญาติให้ตั้งพรรคการเมือง ถูกบีบให้ส่งเพียงแค่ตัวบุคคลลงเล่นการเมืองในอียิปต์
เมื่ออาหรับสริงมาถึงอียิปต์ทุกคนคิดว่านี่เป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพราะฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ฝ่ายฆารวาสนิยม รวมทั้ง คริสเตียนคอปติก ทุกฝ่ายรวมตัวกันเพื่อโค้นมูลบารัค ประธานาธิบดีที่สืบทอดมาจากอัลวาร์ ซาดัต ซึ่งตั้งแต่นัสเซอร์เป็นต้นมาอียิปต์ปกครองโดยนักการทหารทั้งสิ้น แม้จะมีการเลือกตั้ง แต่คนที่จะเป็นผู้สมัครต้องได้รับเสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภา ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะแม้มีเสียงพรรคการเมืองฝ่ายค้าน แต่รัฐบาลทหารก็มักจะวางแผนไว้แล้ว เลือกตั้งเมื่อไหร่รัฐบาลทหารก็ชนะเลือกตั้ง
อัลวาร์ ซาดัตขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีแทนนัสเซอร์ จากเดิมนัสเซอร์นิยมโซเวียส ซาดัตหันไปหาสหรัฐอเมริกา โลกอาหรับตอนนั้นจึงขับอียิปต์ออกจากสันนิบาตอาหรับ ไม่นาน ซาดัส ถูกลอบสังหารระหว่างดูการสวนสนาม ที่ปลอมเป็นทหารมาลอบสังาร และขณะนั้นคนที่นั่งใกล้ซาดัตคือมูลบารัค ก็ขึ้นมาแทน ซึ่งมูบารัคก็ดำเนินนโยบายต่างประเทศผสมกัน 2 อย่าง ที่สามารถเข้ากันได้ทั้งโซเวียสและสหรัฐอเมริกา และสหรัฐฯวางให้อียิปต์เป็นโบรคเกอร์ใหญ่ในการเจรจากับอิสลาเอล และให้เงินสนบนุนเป็นอันดับ 2 รองจากอิสลาเอล ทำให้ทหารยื้ออำนาจได้อย่างยาวนานตั้งแต่ 61 ปีที่แล้วจนเกิดเหตุการณ์ อาหรับสปริง แต่ขณะนี้มูบารัคที่ถูกโค้นอำนาจไปเมื่อ 2 ปีที่แล้วนั้น รัฐบาลรักษากากำลังจะมีการปลอยตัวเขา เป็นการพลิกความคาดหมายหลายอย่างด้วยกัน
ช่วงเปลี่ยนผ่านทั้งตูนิเซีย อียิปต์ หลายคนคิดว่าจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งในตูนิเซียเลือกตั้งประสบความสำเร็จโดยพรรคนิยมแนวทางอิสลามประสบชัยชนะ ในอียิปต์การเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. นั้นพรรคภารดรภาพมุสลิมได้รับชัยชนะ แต่เลือก ประธานาธิบดี ตัวแทนภารดรภาพลงแข่งคู่กับอดีตนายกรัฐมนตรีในสมัยประธานาธิบดีมูบารัค แต่ภารภาพมุสลิมชนะแบบฉิวเฉียด แสดงให้เห็นว่าฝ่ายที่ตรงข้ามรัฐบาลที่มาจากระบอบประชิปไตยมีจำนวนไม่น้อย นอกจากนี้ก็มีกระบวนลงประชามาติ การร่างรัฐธรรมนูญต่อเนื่องซึ่งในช่วงนั้นรัฐบาลทหารก็พยายามที่จะรักษาอำนาจ ความจริงก็พยายามรักษาอำนาจไว้ให้นานที่สุด และมีการขัดขวางและล้มการเลือกตั้ง ส.ส. แต่ก็มีการจัดการเลือกตั้งได้ประธานาธิบดีมอร์ซีคนนี้ขึ้นมาปกครองได้ 1 ปี แต่ถูกกล่าวอ้างว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนและก่อให้เกิดการแปลกแยกระหว่างหมู่ชน และเศรษฐกิจเลวร้าย ในที่สุดฝ่ายที่คัดค้านประธานาธิบดีก็รวมตัวกันมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่มิ.ย.ที่ผ่านมา จนมีการยื่นคำขาดจากทหาร และทหารก็เข้ามารัฐประหาร
ทันทีที่ทหารเข้ามาใช้ความแยบยนก็ไปดึงพรรคอิสลามที่ได้คะแนนน้อยกว่าภารดรภาพมุสลิมมาร่วมด้วย และอีกหลายๆคน เพื่อสนับสนุนการเลือกตั้ง ที่สำคัญตอนทำรัฐประหารนั้น สหรัฐอเมริกาได้เรียกว่าไม่สามารถเรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าการรัฐประหารได้ อังกฤษ สหภาพสหภาพยุโรป ก็บอกว่านี่ไม่ใช่การรัฐประหาร ในอียิปต์เพียง 3 วันก็มีการรวมตัวกันต่อสู้กับการรัฐประหาร และล่าสุดมีคนตายกว่า 1,000 คน ได้
กรณีการโค้นอำนาจผู้นำอียิปต์ในครั้งนี้ประเทศที่เคยประณามการรัฐประหาร ไม่มีท่าที ขณะที่ซาอุดิอาระเบียกลับเห็นด้วยกับการรัฐประหาร คนที่ร่วมกับการโค้นมูลบารัคเวลามีการเลือกตั้งก็แบ่งกลุ่มก้อนเป็นหลายก้อน เหตุผลหนึ่งเป็นเรื่องของเก้าอี้ในตำแหน่งสำคัญๆของรัฐบาล ก่อนที่จะเกิดการโค้นอำนาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เลือกตั้ง หรือคัดเลือกตำแหน่งสำคัญๆ มา 3 ครั้งแล้ว กลุ่มที่เป็นกลุ่มนิยมอิสลามบางกลุ่มก็คิดว่าตนเองถูกลดอำนาจ แต่ภารดรภาพมุสลิมมีอำนาจก็ไปปลดทหาร จะเป็นเรื่องที่นอกเหนืออุดมการณ์แล้วยังเป็นเรื่องของนโยบายการเมืองด้วยที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
สิ่งที่ทหารเข้ามาแล้วคิดไม่ถึงว่าเวลาได้อำนาจมาแล้ว จะมีการต่อต้านขนาดหนักขนาดนี้ โดยเฉพาะเป็นช่วงเดือนรอมฎอนขณะนี้ผู้ชุมนุมเอามัสยิตเป็นศูน์กลาง ดังนั้นวันศุกร์ก็จะมีการชุมนุม สิ่งที่เหนคือคนที่สนับสนุนผู้นำคนเก่ามีมากกว่าฝ่ายผู้นำรัฐประหาร สิ่งที่รัฐบาลรักษาการทำคือจะให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ ให้มีการเลือกตั้งภายใน 6 เดือน เชิญกลุ่มภารดรภาพมุสลิมเข้ามาร่วมด้วย แต่ก็ยังคงจับตัวกลุ่มพวกเขาอยู่
เมื่อสิ้นสุดอาหรับสปริงทุกคนก็ไปลงเลือกตั้ง ดังนั้นก็มีหลายความคิดที่มีหลายกลุ่มก้อน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการไม่ยอมรับสิ่งที่ได้มาโดยวิธีการเลือกตั้ง กลับใช้วิธีการรวมกลุ่มแล้วกดดัน ทั้งที่น่าจะแก้ไขได้ในรัฐสภา
ที่สุดแล้วอียิตป์สามารถลงเอยหลายอย่าง
1. องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรอิสลามเข้ามามีบทบาทให้มีการพูดคุย
2. หรือเผชิญหน้ากัน เหมือนที่เกิดในซีเรีย ในที่สุดกลายเป็นสงครามกลางเมือง
แต่ข้อสังเกตประการหนึ่งคือไม่ว่าประเทศใดที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาธิปไตย แต่ไม่ได้รัการยอมรับจากทหารและไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศมหาอำนาจ อย่างสหรัฐฯ ก็จะโดนคว่ำ อียิปต์ก็เช่นกัน แสดงให้เห็นว่าข้ออ้างเรื่องประชาธิปไตยสำหรับคนบางกลุ่มนั้นมีผลประโยชน์แอบแฝง เหตุผลสำคัญกลุ่มที่โดนคว่ำเป็นกลุ่มที่ ที่คัดค้าน มหาอำนาจสหรัฐฯ อาจเป็นอุปสรรคของสหรัฐฯ ที่ต้องการสร้างสันติภาพ แต่เป็นสันติภาพที่ปราศจากความยุติธรรม เข้ายึดครองแล้วจัดการประเทศเหล่านั้น
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ : บทบากองทัพในอียิปต์
เรื่องอียิปต์ มันมีวิธีมองหลายแบบ แบบหนึ่งที่น่าสนใจคืออียิปต์เป็นสังคมที่เคยเป็นอาณานิคมมาอย่างยาวนาน และเป็นประเทศในแอฟริกาที่มหาอำนาจทั้งหมดแทบอยากเข้าไปยึดครอง นักวิชาการกลุ่มหนึ่งจึงพยายามอธิบายเหตุการณ์และความรุนแรงในอียิปต์ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากอียิปต์เคยเป็นสังคมเมืองขึ้นมาเป็นเวลานาน อียิปต์จึงมีลักษณะดังนี้
ประการแรก เมื่อเป็นสังคมเมืองขึ้นเป็นเวลานาน ระบบเมืองขึ้นมีลักษณะเหมือนกันอย่างหนึ่งคือการควบคุมประชาชนเพื่อดึงเอาทรัพยากรไปขาย เมื่ออียิปต์ได้รับเอกราชความต้องการเอาทรัพยากรไปขายก็ไม่ได้ลดลงไป ดังนั้นความเป็นสังคมอาณานิคมนั้นเป็นสังคมที่รัฐบาลกลางของอียิปต์อยู่บนการดึงทรัพยากรจากชนบทจำนวนมากเข้าสู่ส่วนกลางแล้วนำไปขาย
อะไรทำให้กระบวนการดึงทรัพยากรของอียิปต์เป็ฯไปได้ คำตอบคือการสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นกลไกในการดึงทรัพยากร ดังนั้นความเป็นสังคมอาณานิคมมีลักษณะที่ทำให้รัฐมีอำนาจสูงเป็นเวลานาน และทำให้กองทัพที่เข้มแข็ง ปี 1822 ที่อียิปต์เกิดกองทัพประการสมัยใหม่ และหลังจากนั้นไม่กี่ปีมีกองพล 2 แสนคน เพื่อดึงทรัพยากร ในหัวเมืองต่างๆ เพื่อยอมให้รัฐบาลกลางดึงทรัพยากรไปขายต่างชาติ เป็นกองทัพที่ไม่ได้สู้เพื่อเอกราช ดังนั้นกองทัพอียิปต์มีบาทบาทในการควบคุมประชาชนมาอย่างยาวนาน
นอกจากนี้กองทัพยังมีบทบาทในการดูผลผลิตปถึงในระดับหมู่บ้าน เป็นสิ่งที่รัฐมีกลไปในการจัดตั้งในระดับนั้นที่เข้มแข็งมาก ดังนั้นเวลาที่เห็นความรุนแรงปัจจุบันก็ต้องเห็นว่ากองทัพเป็นองค์กรที่มีบทบาทขุดรีดทรัพยากรของคนในอียิปต์ด้วย ที่มีประสบการณ์ที่ไปถึงระดับหมู่บ้าน
ประการที่ 2 ที่น่าสนใจในอียิปต์ในเวลานี้มีการขัดแย้งระหว่างกลุ่มภาดรภาพมุสลิมกับกองทัพ ทีเกิดหลังจากการโค้นมูบารัคไป ซึ่งมูบารัคเป็นผู้นำที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งและที่อยู่ในอำนาจมาอย่างยาวนาน ดังนั้นการล่มสลายของมูบารัคมันจึงเกิศูนย์ยากาศ ทั้งนี้มูบารัคปกครองได้อย่างยาวนานเพราะสามารถกดชนชั้นนำไม่ให้ขัดแย้งมาได้อย่างยาวนาน ดังนั้นในกรณีนี้มีคนประเมินว่าการอยู่ในอำนาจมาอย่างยาวนานของมูบารัคนั้น คือมีการทำให้ชนชั้นนำอียิปต์เชื่อว่าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากมูลบารัค เพราะถ้าไม่เลือกมูบารัคก็ไปเป็นฝ่ายค้าน รวมทั้งการทำให้พวกต่อต้านระบบมูบารัครู้สึกว่าไม่มีศัยภาพที่จะล้มระบบนี้ได้ ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าชนชั้นนำมีประสบการณ์ในการจัดการกับพลังมวลชนและสร้างความปรองดองในหมู่ชนชั้นนำเอง
ประการที่ 3 อะไรที่ทำให้มูบารัคลงอำนาจไป ซึ่งมีหลายสาเหตุ แต่เมื่อมูบารัคลงจากอำนาจไปชนชั้นนำที่เป็นเอกภาพจะทำอย่างไร ซึ่งจะเห็น 2 แนวทางใหญ่ๆ
แนวทางแรก คือในช่วงแรกๆสนับสนุนมูบารัคต่อ จะเห็นได้ว่ากองทัพไม่ได้แสดงท่าทีต่อต้านมูบารัคแต่ต้น แต่เมื่อเห็นว่าน่าจะอยู่ไม่รอด จึงเกิดการแยกตั้วของชนชั้นนำอียิปต์ จึงเป็นท่าทีแบบรอดูสถานการณ์
แนวทางที่ 2 การแตกแยกหรือการแยกตัวของชนชั้นนำอียิปต์ เป็นฝ่ายเอากับไม่เอามูบารัคในหมู่ชนชั้น ฝ่ายที่ไม่เอาในเวลานั้นจนถึงตอนนี้มีทัศนะคติต่อประชาธิปไตยอย่างไร คำตอบในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่าชนชั้นนำเหล่านั้นไม่ได้แปลว่าต้องการประชาธิปไตย แต่เป็นการแตกแยกที่ชนชั้นนำกลุ่มใหม่ต้องการขึ้นมาเป็นตัวแทนเอง ไม่ได้มีวาระประชาธิปไตยเลย
ประการที่ 4 บทบาทของกองทัพอียิปต์ อะไรที่ทำให้กองทัพมีท่าทีเหมือนเอียข้างประชาชน แต่ตอนนี้กลายเป็นฝ่ายสลายการชุมนุมของประชาชน คิดว่ามันมีตัวเลขหนึ่งที่น่าสนใจตัวเลขกองทัพอียิต์ ภายใต้มูบารัคไม่กี่ปีที่ผ่านมากลับมีงบประมาณลดลง เกือบเท่าตัว ทำไมจึงลดลง รายจ่ายของกองทัพก็ลดลงเรื่อยๆ ในสมัยมูบารัค ถ้าดูตัวเลขงบประมาณกองทัพอียิปต์เมื่อเทียบกับจีดีพีลดงลมาก ดังนั้นภาพของกองทัพกับมูบารัคดูมีความแนบแน่น แต่ถ้าดูตัวเลขตรงนี้ก็มีความไม่ลงรอย คิดว่าสำหรับมูบารัคมองว่ากองทัพเป็นสิ่งที่ไม่น่าไว้วางใจ เมื่อรอยแยกระหว่ากองทัพกับมูบารัคนั้นก็ไม่ใช่เรื่องประชาธิปไตย เป็นเรื่องการได้รับความสำคัญและการจัดสรรงบประมาณน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อมูบารัคลงแล้วโจทย์ใหญ่ของกองทัพจึงไม่ใช่ เรื่องประชาธิปไตย
ประวิทย์ โรจนพฤกษ์
ประวิทย์ โรจนพฤกษ์ : มองอียิปต์มองไทยมีทั้งความเหมือนและความต่าง
เป็นเรื่อที่น่าสนใจที่สื่อมวลชนไทยสนใจสถานการณ์อียิปต์ ถ้าดูในทวิตเตอร์คนไทยสองสีก็แบ่งเป็นสองฝั่งระหว่างสนับสนุนกับต่อต้านรัฐประหาร จนมีคนไทยที่ชุมนุมที่เขียนป้ายสนับสนุนให้ทหารไทยเป็นเหมือนทหารอียิปต์ ภาพเหล่านี้เหมือนคนไทยกลับไปมีส่วนร่วมกลับไปยุค ปี 2553 โดยการมองสิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์ในช่วง 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา แน่นอนถ้าพูดถึงการเปรียบเทียบมีสิ่งที่เปรียบเทียบได้ เช่น การรัฐประหาร ที่มีคนมาสนับสนุนรัฐประหาร หรือการเปรียบเทียบอดีตประธานาธิบดีมอร์ซี่กับทักษิณ ในกลุ่มที่ต้านทักษิณก็มองว่ามอร์ซี่พยายามรวบอำนาจ มีความคลายคลึงกับยุค ทักษิณ ก่อนรัฐประหาร
ภาพผู้ชุมนุมหน้ากากขาวเมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมาพร้อมป้ายผ้า(ที่มา เพจ กองทัพประชาชน โค่นระบอบทักษิณ)
และที่ล่าสุดที่คนไทยรู้สึกอินมาก ถ้านับจำนวนผู้เสียชีวิตตอนนี้ก็ยังเทียบไม่ได้กับที่ซีเรีย เพราะอาจจะมองซีเรียแล้วไม่เห็นเมืองไทย แต่กรณีอียิปต์เพราะมองแล้วเห็นเมืองไทย
จากความกลัวที่จะมีการนำกฏหมายอิสลามมาใช้หรือกรณีคนไทยก็มีเรื่องความกลัวล้มเจ้า เป็นความกลัวที่จับต้องได้ในหมู่คนที่ไม่ได้เคร่งอิสลามและเป็นชาวคริส กลุ่มฝ่ายซ้าย หรือกลุ่มที่สู้เพื่อสิทธิผู้หญิง ที่มองว่ามุสลิมบราเธอร์ฮูดที่เคลือนไหวแล้วมีการตีความจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยว่าเป็นภัยกับชีวิตของพวกเขา และดูเหมือนว่าไม่มีฝ่ายไหนยอมฝ่ายไหน จนทำให้เกิดความเลียดชัง มองความสูญเสียของฝ่ายตรงข้ามแล้วสะใจ การมีความเชื่อว่าจะต้องกำจัดฝ่ายตรงข้ามให้หมดไปจากสังคมเพื่อรักษาชีวิตที่ตนเองเชื่อ
แต่อยากเตือนว่าผนอาจมีความรู้น้อยเรื่องอียิปต์ คิดว่ามันเป็นเรื่องที่สุ่มเสียงที่สรุปว่าที่อียิปต์มันเหมือนไทย
เรื่องแรก การเมืองอียิปต์มันพ่วงกับสหรัฐฯอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะได้รับเงินสนับสนุนประเทศ มากเป็นอันดับ 2 รองจาก อิสราเอล มันอธิบายได้ว่าทำไมต้องได้ เพราะความสลับซับซ้อนของการเมืองในตะวันออกกลางที่สหรัฐฯ ต้องการความคุมภูมิภาคนั้นด้วย
ข้อดีอีกอย่างของการมองการเมืองอียิปต์นั้นคือทำให้เข้าใจด้านลบและการเป็นมือถือสากปากถือศีลของสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับซาอุดิอาราเบียที่ผู้หญิงไม่มีสิทธิขับรถ อเมริกาก็ไม่มีปัญหา ตราบใดที่คุยและแบ่งเคกกันรู้เรื่อง สรุปได้ว่าสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ถ้าอ้างประชาธิปไตยได้ก็จะอ้าง แต่ถ้าขัดผลประโยชน์ก็พร้อมที่จะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ แม้แต่คนอเมริกันที่รักในประชาธิปไตยก็มองว่าสิ่งที่ประธานาธิบดีโอบาม่า ไม่เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์ว่าเป็นการรัฐประหารนั้นเป็นเรื่องที่น่าละอาย ทำให้อเมริกาสูญเสียบารมีความน่าเชื่อถือในหลายประเทศ มันแสดงให้เห็นว่าแม้แต่ภายใต้ประธานาธิปดีโอบาม่าเองก็ดำเนินนโยบายต่างประเทศไม่ต่างจากประธานาธิบดีจากพรรคริพับลิกันในชุดอื่น อันนี้เป็นเรื่องแรกที่เราไม่มีในเมืองไทย แม้เมืองไทยจะมีความสำคัญต่ออเมริกาก็ตาม แต่ก็ไม่เท่ากับอียิปต์ที่ต้องการเข้าไปควบคุมให้ได้
เรื่อง 2 คือความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างชาวคริสฯชนกลุ่มน้อยกับชาวมุสลิม แม้ไทยอาจจะเหมือนมีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ที่อียิปต์นั้นไม่ได้จำกัดอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ชาวคริสชนกลุ่มน้อยมนอียิปต์รู้สึกว่าชีวิตของตนไม่ปลอดภัย รู้สึกถูกคุกคาม มีหนังสื่อชื่อ “After the Arab Spring” ของ John R. Bradley ที่เขียนถึงหลังปี 2011 ที่มูบารัคพ้นอำนาจ แล้วพบเพื่อนเก่าที่เป็นชาวคริสฯ ในนั้น ซึ่งเขารู้สึกว่าเขาไม่มั่นคง มีความพยายามขอวีซ่าเพื่อไปสหรัฐฯ ซึ่งเป็นความรู้สึกของชนกลุ่มน้อยในอียิปต์
แม้ผู้ชุมนุมถูกปราบดว้ยกระสุนจริง แต่ก็มีการไปทำลายโบรส์ชาวคริสฯ จึงมีความสลับซับซ้อนในมิติเรื่องศาสนา ของไทย ยังไม่มีแบบนี้อย่างชัดเจน แต่ก็ดูเหมือนมีปัญหาอยู่เพราะเอาเข้าจริงเรื่องเมืองไทยพูดไม่เต็มเพราะติด ม.112 (กฏหมายหมิ่นประมาทกษิตริย์ฯ) เราไม่สามารถพูดถึงเรื่องราวของสังคมได้อย่างเต็มที่ แต่รัฐประหารปี 49 นั้น เกิดขึ้นโดยอ้างเพื่อ ปกป้องสถาบันกษัตริย์ และการปราบประชาชนปี 53 ก็มีการยกเรื่องผังล้มเจ้าขึ้นมาอ้าง แต่ก็เราก็ไม่สามารถพูดได้จากกรณีที่มีการยกสถาบันพระมหากษัตริย์มาอ้างว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร เปรียบแล้วเหมือนกับคนป่วยที่ป่วยหนักที่ไม่สามารถพูดอาการป่วยของตัวเองได้ จึงทำให้รักษาลำบาก
อยากเตือนว่ามันมีทั้งความเหมือนและความต่าง สังคมไทยจึงสมควรติดตามเหตุการณ์ในอียิปต์เพื่อที่จะเรียนรู้ และมองเขาเป็นมนุษย์เช่นกัน และทำไมคนส่วนใหญ่ไม่อินมากกับการสังหารในซีเรียที่มีคนเสียชีวิตจำนวนมากกว่า ก็อาจเป็นข้อจำกันว่าเราเห็นอะไรที่คลายเราแล้วรู้สึกเพื่อที่จะโยงใยหรืออธิบายได้
และอยากฝากทุกสีเสื้อว่าอียิปต์เป็นโอกาสดีที่ทำให้เราเห็นด้านลบของแต่ละฝ่าย ในสังคมไทยคิดว่าแต่ละฝ่ายมักมองเห็นแต่ด้านบวกของฝั่งตัวเอง ถ้าเรามองอียิปต์อย่างแฟร์ๆ และเชื่อว่าเราสามารถมองได้เพราะเราไม่ใช่ชาวอียิปต์ จะเห็นทั้ง 2 ฝ่ายมีด้านมืดอยู่ มันไม่ใช่การต่อสู้ที่เป็นขาวกับดำและมีความซับซ้อนมาก
จรัญ มะลูลีม รอบ 2
จากการณ์ที่ ศิโรจน์ บกว่าทหารถูกลดบทบาทในสมัยมูบารัคนั้น สถานการณ์ความเป็นจริงคือเมื่อสหรัฐฯ สามารถดึงเอาอียิปต์มาเป็นแนวร่วมในเจรจาสันติภาพได้แล้ว ภาระกิจของกองทัพอียิปต์ที่เคยมีบทบาทในการสู้รบก็ค่อยๆลดน้อยถอยลงไป
สิ่งที่เห็นคือรัฐบาลใดที่คัดค้านการเจรจาสันติภาพที่ปราศจากความยุติธรรมนั้น ประเทศเหล่านี้สหรัฐฯ ก็มุ่งจะโค้น การโค้นกัสดาฟี่ ก็แบบเดียวกัน แล้วหนังสือฝรั่งก็ล้อว่าการโค้นกัสดาฟี่ประการแรกคือ น้ำมัน ประการที่ 2 คือน้ำมัน ประการที่ 3 ก็คือน้ำมัน ประการที่ 4 คือ ประชาธิปไตย
จุดจบของเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในอียิปต์ อาจลงเอยหลายแบบ ถ้าเป็นแบบซีเรีย คือตายอีกเยอะ เพราะอาจเกิดสงครามกลางเมือง อย่างในแอลจีเรียปี 1992 ก็เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 250,000 คน ถ้าลงเอยแบบนี้ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรมุสลิมเข้ามาก็อาจมีแนวทางที่ดี แต่ก็ยังไม่เห็น
รัฐประหารทั้งหลายนำไปสู่ความมืดมนทั้งสิ้น ไม่ว่าที่ไหน เป็นความจริงที่ปรากฏหลายภูมิภาคของโลก
สังคมอียิปต์ตอนนี้แตกเป็ฯหลายกลุ่มมาก อียิปต์ก่อนหน้านี้ได้รับชื่นชมว่าไม่มีปัญหาเรื่องชาติพันธุ์ คนกลุ่มน้อย แม้แต่คริสฯคอปติก ที่มา 10% ที่จริงอยู่อย่างดี สภาพของอียิปเริ่มเปลี่ยนแปลงไป และจะให้สรุปจดสิ้นสุดของสถานการณ์ในอียิปต์นั้นบอกตรงๆว่าดูไม่ออก แม้ว่าตอนนี้จะสงบไปพักหนึ่ง แต่ความสงบนั้นมีหลายแบบ ความสงบก่อนที่จะเกิดพายุร้าย เพราะอียิปต์นั้นเหมือนซีเรีย เนื่องจากที่มีอำนาจภายนอกเข้ามาอย่างเต็มที่
ในโลกมุสลิมมีประเทศที่เป็นรัฐศาสนาหรือเทวรัฐมาก อย่างซาอุดิอาระเบียก็เป็นรัฐศาสนา ส่วนประเทศอิหร่านแม้จะใช้หลักการทางศาสนาแต่เป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยมากที่สุดในบรรดาประเทศตะวันออกกลาง ตั้งแต่ปฏิวัติปี 1979 ก็มีการเลือกตั้ง ส.ส. ต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่กรณีอีหร่านเป็นรัฐอิสรามได้เพราะคนส่วนหญ่ของประเทศให้การยอมรับ อิหม่ามโคไมนี อยู่ในฐานะบิดาแห่งอิหร่าน ผู้หญิงอิหร่าน เปิดเผย ไม่เห็นคนอิหร่าน ปิดหน้า เป็นประเทศที่ผู้หญิงสามารถผ่าตัดเสริมความงามจมูกได้ อย่างไรก็ตามคนก็มองว่าอิหร่านเป็นรัฐที่จำกันเสรีภาพ แต่ก็เป็นข้อจำกัดที่คนในประเทศส่วนใหญ่ยอมรับ
เรากลัวอียิปต์เป็น รัฐศาสนา แต่ซาอุดิอารเบียก็เป็นรัฐศาสนา และมุสลิมบราเธอร์ฮูด ในสายตาของคนที่เคร่งครัดนั้นก็เป็นกลุ่มที่ไม่ได้เคร่งครัด หลังจากอาหรับสปริง สิ่งที่นักเขียนตะวันตกอาจแปลกใจคือชัยชนะในการเลือกตั้งทั้งในอียิปต์ ตูนิเซีย โมรอคโค เป็นชัยชนะของกลุ่มที่นิยมศาสนาทั้งนั้น แต่คนที่กลัวมากก็คือคนที่จะเคร่งมากกว่าบราเธอร์ฮูด ในเมื่อเป็นความต้องการประชาชน ก็ต้องยอมรับ แต่วิธีการที่ดีที่สุดคือ ที่ตุรกีเป็นโมเดลที่น่าสนใจ ที่เคยมีพรรคแบบเดียวกับบราเธอร์ฮูด และมาถึงรัฐบาลปัจจุบันของตุรกีก็มีลักษณเป็นแบบบราเธอร์ฮูด ที่ให้บทบาทของประชาธิปไตยเข้ามามากพร้อมกับการรักษาศาสนาไว้ วิธีการให้ประชาชนเลือกแล้วค่อยๆ ลดอำนาจขอทหาร ตอนนี้ทหารอ่อนเปรี้ยไปแล้ว
ตะวันออกกลาง เคยผ่านการใช้สังคมนิยมอาหรับมาแล้ว ที่เน้นความเป็นเอกภาพของอาหรับ สังคมนิยม เช่นพรรคบาธของซัดดัม ของซีเรีย เป็นสังคมที่อยู่ระหว่างประชาธิปไตบกับสังคมนิยม รวมทั้งมีเรื่องชีวิตหลังความตาย มีความเชื่อในโลกหน้าด้วย ดังนั้นความกลัวว่าจะเป็นแบบอิหร่าน ถ้าเป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ รวมทั้งให้สิทธิของคนที่ไม่ใช่มุสลิมอยู่ได้และยอมรับ อย่างในมาเลย์ที่มีชาวจีนอยู่ได้ น่าจะเป็นความปราถนา ก็น่าจะอยู่ได้ ดังนั้นถ้าบราเธอร์ฮูดจะกลับมาใหม่ต้องมีความใจกว้าง เปิดพื้นที่ให้กับคนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างด้วย
นักศึกษา สนนท. ชูป้ายประท้วงรัฐบาลอียิปต์ในงานเสวนา
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ รอบ 2
ในอียิปต์มีตัวละคร 3 ฝ่าย
1. ฝ่ายกองทัพ
2. กลุ่มอิสลามที่นิยามความรุนแรง และไม่เห็นด้วยกับมุสลิมบราเธอร์ฮูด กลุ่มนี้กับสหรัฐฯ น่าจะเป็นคู่ขัดแย้งกันในที่สุด
3. กลุ่มของสหรัฐฯ
การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในอียิปต์ มันเป็นการต่อสู้โดยใช้ความรุนแรง สิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์ เกิดจากความขัดแย้งและกลุ่มหัวรุนแรงเป็นกลุ่มที่เสียงดังสุด ดังนั้นปัญหาของอียิปต์จะไม่ใช่ปัญหาของอียิปต์อีกต่อไป เมื่อไหร่ที่การฆาตรกรรมจำนวนมากๆ ในสังคมแบบนี้ จะทำให้คนรุ่นนี้และรุ่นถัดไปจะเชื่อในการต่อสู้ด้วยความรุนแรง
เรื่องรัฐศาสนาเป็นเรื่องใหญ่ที่โลกตะวันตกใช้กล่าวหาทำให้สังคมอื่นเป็นสังคมที่ป่าเถือน ละเมิดสิทธิ เป็นฉลากแปะป้ายในการปราบ สิ่งที่เห็นคือรัฐศาสนาไม่ใช่เป็นปัญหาในทุกกรณี จริงๆแล้วความเชื่อทางการเมืองในโลกตะวันตกก็เป็นการแปลงเอาความเชื่อทางคริสมาแปลงเป็นความเชื่อทางการเมืองทั้งนั้น ในไทยก็เช่นกันที่เอาวันหยุดประจำชาติที่เอาศาสนาพุทธเข้ามา แต่กรณีสังคมชายเป็นใหญ่แล้วละเมิดสิทธิผู้หญิงนั้นเป็นการเอาศาสนามาเป็นเครื่องมือมากกว่า
กรณีมอร์ซี่ ต่อให้เขาเป็นผู้นิยมรัฐศาสนาไม่ใช่ประเด็น เพราะมันเป็นเพียงแนวโน้ม ที่ไม่เป็นเหตุที่จะไม่ให้ทหารออกมาได้การที่มอร์ซี่ถูกไล่ออกไป เป็นการส่งสัญญาของชนชั้นนำที่ส่งไปกับคนอียิปต์ว่าการเลือกตั้งไม่ใช่หนทางในการปกครองประเทศ
ส่วนแนวโน้มเรื่องสถานการณ์ในอียิปต์ มันมีแนวโน้มอยู่ 3 แบบ คือ
แบบ 1 แอลจีเรีย ที่ตายเป็นแสน ถ้าชนชั้นนำอียิปต์ต้องการให้บราเธอร์ฮูดอยู่ใต้ดิน การให้คนส่วนใหญ่ต้องเป็นคนที่สู้ใต้ดิน เป็นเรื่องอันตราย
แบบ 2 ที่เกิดขึ้นในบลาซิล หรือเวเนซูเอล่า ที่มีการปราบปรามประชาชน ในที่สุดฝ่ายต่อต้านมาสู้ผ่านการเลือตั้ง แล้วก็กลับมาชนะใหม่
แบบ 3 ที่อาจจะดีสำหรับอียิปต์ เมื่อมุสลิมบราเธอร์ฮูดกลับมาชนะเลือกตั้งใหม่ แล้วกลับไปดำเนินคดีกับทุกคนที่ฆ่าประชาชน และทำรัฐประหารเป็นสัญญาณที่ทหารอียิปต์ไม่กล้าทำหารรัฐประหารใหม่ เป็นความคาดหวัง ซึ่งแม้แต่เมืองไทยก็ยังไม่เกิด
ประวิตร โรจนพฤกษ์ รอบ 2
เรื่อทหารในอียิปต์ บทบาทของทหารมีมาก จนมีคำพูดในอียิปต์ที่ค่อนข้างใช้กว้างขวาง คือ ประธานาธิบดีเป็นผู้บริหาร แต่ทหารเป็นผู้ปกครอง ในสังคมอียิปต์ประชาชนอาจไม่ได้แยกตัวเองออกจากกองทัพ เนื่องจากประชาชนต้องผ่านกระบวนการทำให้เชื่อฟังคำสั่ง เป็นปัญหาทีสังคมที่ต้องผ่านการเกณฑ์ทหาร และผมคิดว่าในสังคมประชาธิปไตยการเกณฑ์ทหารควรเลิกได้แล้ว หรือจำกัดในวงแคบ เพราะประเทศไม่ได้อยู่ในภาวะสงคราม
การใช้ไพ่ที่กล่าวอ้างว่าจะเปลี่ยนแปลงเป็นรัฐอิสลามนั้นเป็นสิ่งที่ตะวันตกใช้ แต่มาถึงจุดนี้ความกลัวของคนบางคนเป็นความกลัวที่อยู่บนรากฐานตความจริงหรือในสภาพของความวิตกจริตที่ไม่ได้อยู่บนรากฐานความจริงกันแน่ ซึ่งอันนี้เป็นรากฐานเดียวกับการที่คนไทยกลัวการล้มเจ้า
มีการสำรวจ หลังจาการที่มูบารัค ลงจากอำนาจ ว่ามีการยอมรับการลงโทษแบบปาหิน ตัดแขนและประหาร มากขึ้น สิ่งที่จะบอกคือความจริงอาจไม่สัมพันธ์ เปรียบเทียบกรณีเสื้อแดงที่มีคนเชื่อว่าคนกลุ่มนี้ล้มเจ้า มันไม่มีโอกาสที่คนเสื้อแดงอธิบายคนรักเจ้าอย่างไม่พอเพียงได้เลยว่าไม่มีการล้มเจ้า เนื่องจากมีการตั้งกำแพงอคติ ดังนั้นความจริงจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้ว
ส่วนเรื่องเศรษฐกิจนั้นไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เรื่องขบวนการแรงาน ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าออกมาชุมนุม แต่สิ่งหนึ่งที่ตั้งข้อสังเกตุ ช่วงที่มอร์ซี่มีอำนาจนั้นถูกวางยาให้น้ำมันแพง และไฟดับบ่อย และตำรวจที่คนทั่วไปมักเกลียดชังมาก ตำรวจในยุคมูบารัคทำตัวเป็นนักเลงรีดไถชาวบ้าน เมื่อมูบารัคถูกขับออกจากอำนาจ ตำรวจจึงไม่ค่อยออกมาทำงานจึงนำไปสู่อาชญากรรมมากขึ้นแล้วไม่มีคนไปดูแล
จรัล ดิษฐาอภิชัย กล่าวสรุปตอนท้ายของการเสวนาว่า
1. ไม่ว่ากลุ่มมุสลิมบราเธอร์ฮูดจะเป็นอย่างไร ทหารก็ไม่มีสิทธิที่จะปราบปรามและฆ่าพวกเขา แม้บราเธอร์ฮูดจะนำประเทศอียิปต์เป็นรัฐศาสนา ทหารก็ไม่มีสิทธิออกมา
2. คิดว่าประชาชนคนไทยที่เคยผ่านและประสบกับเหตุการณ์แบบนี้ ก็ไม่อยากให้เกิดในประเทศไทยอีก และก็ไม่อยากให้เกิดในประเทศอื่นด้วย จึงต้อหาทางร่วมส่วนในการหยุดยั่งการปราบปรามที่เกิดขึ้น รวมทั้งรัฐบาลไทยเองที่ยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นอะไรมากนัก จึงเป็นเรื่องที่ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยการปราบปรามต้องกดดันรัฐบาลไทยให้แสดงท่าทีต่อเหตุการณ์เหล่านี้ด้วย
หมายเหตุ : มีการแก้ไขข้อมูลประกอบภาพผู้ชุมนุมหน้ากากขาว 18.00 น. 21 ส.ค.56
สนนท.-นักกิจกรรมจัด “Stop Killing People” ประณามปราบปชช.อียิปต์
สนนท.-นักกิจกรรมจัด “Stop Killing People” ประณามปราบปชช.อียิปต์
นักศึกษานักกิจกรรมจัดหยุดฆ่าประชาชนหน้าสถานทูตอียิปต์ ประณามรัฐบาลรักษาการและกองทัพอียิปต์ปราบประชาชน พร้อมชูสัญญาลักษณ์ 'Rabaa' ต้านรัฐประหาร วอนคืนอำนาจให้ประชาชนยุติความรุนแรง
22 ส.ค.56 – เวลา 10.00 น. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) พร้อมด้วยนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ประมาณ 50 คน ชุมนุมบริเวณหน้าสถานทูตอียิปต์ประจำประเทศไทย ที่บริเวณหน้าอาคารสรชัย ถนนเอกมัย เพื่อประณามรัฐบาลรักษาการจากการรัฐประหารและกองทัพอียิปต์ที่ใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนจนมีผู้เสียชีวิตนับพันคน
กิจกรรมประกอบด้วย การชูป้ายที่มีข้อความเรียกร้องให้รัฐบาลและกองทัพอียิปต์ยุติการปราบปรามประชาชน คืนอำนาจให้มีการเลือกตั้ง นอกจากนี้ผู้ชุมนุมยังมีการทำศพจำลองที่ห่อในผ้าสีขาว รวมทั้งภาพเหตุการณ์การในอียิปต์จัดเป็นนิทัศการชั่วคราวบริเวณที่ชุมนุม และร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสันติภาพและความเป็นธรรมอีกดัวย จนกระทั้งเวลา 11.00 น. จึงยุติการชุมนุม
จิตรา นำอ่านแถลงการณ์
จิตรา คชเดช นักสหภาพแรงงานและตัวแทนอ่านแถลงการณ์กลุ่มซึ่งระบุว่า ทรราชย์ทั่วโลกไม่ว่าพวกเขาจะเคยเสพสมอยู่ในอำนาจ บนซากศพ คราบเลือดและน้ำตาของประชาชนมานานกี่ชั่วอายุคนแล้วก็ตามย่อมมิอาจต้านทานหวนกระแสของการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ได้ ประชาชนในที่ต่างๆได้ลุกขึ้นมายืนหยัดต่อต้านเผเด็จการ มีความตื่นตัว รู้เท่าทัน และต่างสนับสนุนกันและกันอย่างเต็มกำลังความสามารถ สายใยแห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรมอันเป็นสากลเหล่านี้จะหลอมรวมเป็นหนึ่งเพื่อเอาชนะเผด็จการทั่วโลกให้จงได้ ตราบใดที่ประชาชนชาวอียิปต์สู่กับทรราชย์กระหายเลือด พวกเราก็จะขอยืนเคียงข้างและสนับสนุนสุดความสามารถเช่นกันจนกว่าจะได้ชัยชนะ
แถลงการณ์ยังระบุด้วยว่าทรราชย์ในอียิปต์ควรตระหนักที่จะก้าวลงจากอำนาจและเข้าสุ่กระบวนการยุติธรรมเพื่อชดใช้ในสิ่งที่ก่อขึ้นต่อประชาชน เพราะมิอาจมีอำนาจใดในโลกที่สามารถฝืนกระแสแห่งการปฏิวัติประชาธิปไตยโดยประชาชน ซึ่งกำลังจะกลายมาเป็นเจตจำนงของประชาชนชาติต่างๆทั่วโลกและเจตจำนงสากลของมนุษยชาติ
นอกจากนี้ สนนท. ยังมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลรักษาการและกองทัพอียิปต์ เพื่อประณามการกระทำของทักงกองทัพและผู้สนับสนุนการทำรัฐประหาร ที่สะท้อนการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างรุนแรงและไม่เข้าใจอำนาจการปกครองที่เป็นของประชาชน รวมไปถึงเรียกร้องให้กองทัพหยุดเข่นฆ่าประชาชนและคืนอำนาจกลับสู่ประชาชนโดยเร็วด้วย
ชู 4 นิ้ว แสดงสัญญาลักษณ์ 'Rabaa'
ผู้ร่วมชุมนุมรวมกันชู 4 นิ้ว แสดงสัญญาลักษณ์ 'Rabaa' ในฐานะสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านรัฐประหารในอียิปต์ ซึ่งจตุรัส Rabaa al-Adawiya เป็นสถานที่ๆ ชาวอียิปต์เคยร่วมชุมนุมต้านรัฐประหารมาก่อน และสัญญาลักษณ์นี้ถูกแพร่หลายในโซเชียลเน็ตเวิร์ค โดยมีการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์เป็นรูปดังกล่าว ซึ่ง 4 นิ้วนั้น ประกอบด้วย นิ้วก้อย หมายถึง ความถูกต้อง(Rightness) นิ้วนาง หมายถึง มือเปล่า ไร้อาวุธ (Barehanded) นิ้วกลาง หมายถึง อิสรภาพ(Independent)และนิ้วชี้ หมายถึง ต่อต้านรัฐประหาร(Anti Coup)
กิจกรรมประณามในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว(15 ส.ค.) จิตรา และกลุ่มมาชุมนุมประท้วงไปแล้วครั้งหนึ่ง
ภาพบรรยากาศกิจกรรม :
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ชำนาญ จันทร์เรือง: สื่อเลือกข้างได้หรือไม่
ชำนาญ จันทร์เรือง: สื่อเลือกข้างได้หรือไม่
ชำนาญ จันทร์เรือง
ประเด็นถกเถียงกันไม่รู้จักจบสิ้นสำหรับสังคมไทยนับตั้งแต่ที่ มีการแบ่งขั้วแบ่งสีกันอย่างชั ดเจนเช่นนี้ก็คือประเด็นที่ว่า "สื่อเลือกข้างได้หรือไม่" "สื่อต้องเป็นกลาง"ไม่สามารถเชี ยร์หรือต่อต้านใคร หรือ "สื่อควรจะต้องได้รับการคุ้ มครองเป็นพิเศษกว่าคนธรรมดาหรื อไม่"
ล่าสุดที่เป็นประเด็นขึ้นมาก็คื อกรณีที่มีการลอบปองร้ายนักหนั งสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์โดยมี แถลงการณ์ร่วมจากสมาคมนักข่ าวฯให้รัฐคุ้มครองเป็นกรณีพิ เศษโดยอ้างว่าได้รับการคุ กคามจากผลของการทำหน้าที่ซึ่ งแท้จริงแล้วเป็นเช่นนั้นหรื อไม่ยังไม่มีใครทราบ เพราะบางกระแสก็บอกว่ าอาจจะมาจากเรื่องส่วนตัวก็ได้ ที่สำคัญหนักกว่านั้นก็คือบอกว่ าผู้สื่อข่าวคนนั้ นหมดสภาพความเป็นสื่อไปแล้วนั บตั้งแต่ไปเป็น สนช.ของคณะรัฐประหาร 19 กันยา
ผมไม่ได้ร่ำเรียนมาทางนิ เทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์ โดยตรง แต่จากประสบการณ์ที่ผมได้รั บและได้พบเห็นมาผมเห็นว่า
1)ประเด็นสื่อเลือกข้างได้หรื อไม่
คำตอบของผมก็คือได้ เพราะสื่อก็คือปุถุ ชนคนธรรมดาไม่ได้วิเศษวิ โสมาจากจากไหน ย่อมมีรักโลภโกรธหลง มีรสนิยมหรืออุดมการณ์ทางการเมื องของตนเอง จึงไม่แปลกอะไรที่สื่อจะเลือกข้ าง แต่สิ่งที่ผมจะเน้นก็คือว่าแม้ ว่าสื่อจะเลือกข้างได้ แต่ข่าวต้องเป็นข่าว ข้อเท็จจริงต้องเป็นข้อเท็จจริง โดยไม่ใส่ความเห็นของตนเองหรื อสำนักข่าวของตนลงไปไม่ว่าจะเป็ นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ ในต่างประเทศ เช่น ในอเมริกาเวลาจะมีการเลือกตั้ งสื่อสำคัญๆ เช่น วอชิงตันโพสต์ นิวยอร์กไทม์ หรือฟ็อกซ์นิวส์ที่เชียร์รีพั บลิกันอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู ฯลฯ ต่างประกาศตัวชัดเจนว่าตนเองสนั บสนุนใครหรือเชียร์ใคร แต่ตัวเนื้อข่าวกับความเห็ นในคอลัมน์ต่างๆนั้นแยกกันชั ดเจนว่าอันไหนเป็นข้อเท็จจริง อันไหนเป็นความเห็น ซึ่งต่างจากของพี่ไทยเราไม่รู้ ว่าว่าอันไหนเป็นเนื้อข่าวอั นไหนเป็นความเห็น มั่วกันไปหมด ที่สุดๆก็คือพาดหัวข่าวใส่ อารมณ์เอียงข้างกันอย่างเต็มที่ ซึ่งนี่ยังไม่นับการ "เต้าข่าว"ซึ่งเป็นสิ่งที่เลวร้ ายมากแต่ก็มีให้เห็นอยู่เป็ นประจำ
2)สื่อต้องเป็นกลางหรือไม่
คำตอบของประเด็นนี้ก็คล้ายๆกั บประเด็นแรกว่าข่าวต้องเป็นข่าว ข้อเท็จจริงก็ต้องเป็นข้อเท็ จจริง ความเห็นก็เป็นส่วนความเห็น ซึ่งหากถามผม ผมก็ก็จะตอบได้ว่าไม่มี ใครในโลกนี้หรอกที่เป็นกลางร้ อยเปอร์เซ็นต์ ต่อให้อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ แต่ขอให้เอียงน้อยหน่อยและอยู่ ในกรอบของจรรยาบรรณของวิชาชีพ
3)สื่อต้องได้รับการคุ้มครองเป็ นพิเศษกว่าวิชาชีพอื่นหรือไม่
คำตอบก็คือไม่ว่าอาชีพไหนๆต้ องได้รับการคุ้มครองจากรัฐ แต่จะมากน้อยหรือแตกต่างกันแค่ ไหนก็ต้องแล้วเหตุปัจจัยว่าเป็ นภัยอันตรายไกล้ถึงตัวหรือไม่ ถูกขู่อาฆาตและคุกคามว่าจะทำร้ ายให้ถึงแก่ชีวิตของตนเองหรื อญาติมิตรหรือไม่ ฯลฯ หากไม่อยู่ในข่ายต่างๆเหล่านี้ สื่อก็ต้องได้รับการคุ้มครองเท่ าเทียมกับประชาชนทั่วไปที่พึ งจะได้รับจากรัฐ ซึ่งจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กั บประสิทธิภาพของหน่วยงานของรั ฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในรัฐที่ ปกครองด้วยกฎหมายอย่างเท่าเที ยมกัน เว้นเสียแต่ว่ารัฐนั้นสูญเสี ยความเป็นนิติรัฐไปเป็นรัฐเผด็ จการหรือรัฐที่ล้มเหลว(failed state)ไปแล้ว
ในสังคมไทยเรานี้มีวงจรอุบาทว์ เกี่ยวกับวงการสื่อกับเจ้าหน้ าที่ของรัฐที่เล่าขานกันอย่างหั วเราะไม่ออก จะร่ำไห้ก็ไม่ได้ แต่ก็เป็นความจริงก็คือวงจรที่ ว่า "ผู้ร้ายกล้วตำรวจ ตำรวจกลัวผู้สื่อข่าว ผู้สื่อข่าวกลัวผู้ร้าย" ในทำนองไก่เห็นนมงู งูเห็นนมไก่นั่นเอง เพราะต่างฝ่ายต่างหรือมีจุดอ่ อนที่สามารถถูกโจมตีได้ แต่ใครจะกลัวใครด้วยเหตุใดนั้ นคงไม่ต้องอธิบายลึ กลงไปในรายละเอียดก็คงมองเห็ นภาพกันได้
กล่าวโดยสรุปก็คือว่าสื่อเลื อกข้างได้ สื่อไม่จำเป็นต้องเป็นกลางแต่ ขอให้อยู่ ในกรอบของจรรยาบรรณของวิชาชีพ และสื่อก็อยู่ในสถานะเดียวกั บประชาชนทั่วๆไปที่จะได้รั บการคุ้มครองจากรัฐในฐานะผู้เสี ยภาษีอากรเหมือนกัน
หมายเหตุผู้เขียน
ล่าสุดที่เป็นประเด็นขึ้นมาก็คื
ผมไม่ได้ร่ำเรียนมาทางนิ
1)ประเด็นสื่อเลือกข้างได้หรื
คำตอบของผมก็คือได้ เพราะสื่อก็คือปุถุ
2)สื่อต้องเป็นกลางหรือไม่
คำตอบของประเด็นนี้ก็คล้ายๆกั
3)สื่อต้องได้รับการคุ้มครองเป็
คำตอบก็คือไม่ว่าอาชีพไหนๆต้
ในสังคมไทยเรานี้มีวงจรอุบาทว์
กล่าวโดยสรุปก็คือว่าสื่อเลื
หมายเหตุผู้เขียน
1)เขียนถึงเรื่อง "สื่อ"แล้วผมก็ขอเชิญชวน "สื่อ"และผู้ที่สนใจทุกท่านเข้ าร่วมงานแถลงข่าวการประกวด "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุ ษยชน ประจำปี 2556(Media Awards 2013)" และเวทีเสวนา "สื่อ: เสรีภาพ ความรับผิดชอบ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม( Freedom,Responsibility and Social Change)"ในวันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2556 เวลา 13.30 - 16.30 น. ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่ งประเทศไทย(FCCT) อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ชั้นเพนท์เฮ้าส์(เชื่อมกับบีที เอส สถานีชิดลม) จัดโดย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ครับ
2)เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุ รกิจฉบับประจำวันพุธที่ 21สิงหาคม 2556
2)เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุ
*****************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)