วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

29 มกราหมื่นปลดปล่อย..เส้นทางแห่งการต่อสู้



บทความดีๆ โดยคุณลูกชาวนาไทย
คัดมาเฉพาะสำนวนของคุณลุกชาวนาไทยเท่านั้น (จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน)


ผมดูภาพที่ "คุณมังกรดำ" นำมาลงที่เว็บประชาทอล์ก ถึงการชุมนุมของคนเสื้อแดงวันนี้ เพื่อให้มีการ "ปลดปล่อยนักโทษการเมือง" ผมคิดว่ามีคนเข้าร่วมชุมนุมในจำนวนที่มากพอสมควร
ต้องเข้าใจนะครับว่า การชุมนุมครั้งนี้เป็นการริเริ่มของคนเสื้อแดงอิสระ เป็น "แกนนอน" ไม่ได้มีคนของรัฐบาลหรือคนของ นปช. เข้าร่วม แต่คนเสื้อแดงที่เข้าร่วม ก็เป็นคนเสื้อแดงที่เข้าร่วมทั้งสองกลุ่ม ไม่ว่าชุมนุมของ นปช. นั่นแหละ
ดังนั้น ผมคิดว่าประเด็นเรื่อง "นักโทษทางการเมืองนี้" ค่อนข้างจุดติดแล้ว หากรัฐบาลนิ่งเฉยไม่ขยับตัว ทำอะไรเลย เชื่อว่า ความอึดอัดจะขยายตัวไปเรื่อยๆ และอาจมีการชนกับรัฐบาลในที่สุด
อย่าลืมว่าคนเสื้อแดงนั้นมีหลายกลุ่มในการต่อสู้กับระบอบอำมาตย์ มีทั้งแดงเสรีนิยม แดงสยาม และแดงที่รักทักษิณ แต่โดยรวมๆ แล้ว คนเสื้อแดงไม่ว่ากลุ่มไหน ก็จะออกไปชุมนุมร่วมกัน หากต้องต่อสู้กับอำมาตย์ โดยที่ มี นปช. เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ยังมีกลุ่มย่อยๆ กลุ่มอื่นๆ อีกมากมาย
คุณลักษณะของเสื้อแดงนั้น เป็นขบวนการประชาชนที่ใหญ่ที่สุด ใช่ว่า "นปช." จะสามารถสั่งซ้ายหันขวาหันได้ตามใจชอบ มันต้องขึ้นกับประเด็นที่คนเห็นสอดคล้องกันด้วย
ในการชุมนุมของ นปช.ทุกครั้ง ก็มีสองเวที คือเวทีใหญ่ ของ นปช. กับ เวทีเล็กของแดงอิสระต่างๆ ซึ่งในช่วงแรกๆ ก็มีการกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่ช่วงหลังๆ นี้รู้สึกว่าจะไปด้วยกันได้ คือ ไม่มีการกระทบการกระทบกระทั้งกัน มีเวทีใหญ่ก็มีเวทีเล็กพร้อมกันไป ตั้งอยู่ห่างกันไปพอที่เสียงจะไม่ตีกัน
การออก พรก.นิรโทษกรรมมวลชน ที่ยังติดคุกอยู่นี้ ผมไม่เห็น ว่า ทำไมต้องปล่อยให้ล้าช้า มันเป็นสิ่งที่รัฐบาลสามารถทำได้ทันที มันไม่กระทบใคร ไม่ว่าจะเป็นทักษิณหรือแกนนำทั้งแดง และเหลือง เพราะ นิรโทษกรรมเฉพาะมวลชนเท่านั้น
ผมคิดว่าคงมีการชุมนุมเรียกร้องเรื่องนี้ต่อไปอีก และเมื่อประเด็นจุดติดได้พอสมควร หากรัฐบาลนายกฯปู ไม่ตอบสนอง ความแปลกแยกจะเกิดขึ้นเรือ่ยๆ
นปช.นั้นได้แสดงความเป็น "อิสระ" ในการสวน "ทักษิณ"แล้ว ในปฎิญญาโบนันซ่า 3 ข้อ 
ตอนนี้ "แดงอิสระเริ่มชุมนุมแล้ว"
อย่าคิดว่าคนเสื้อแดงนั้นเป็นของตาย หากไม่ตอบสนอง รัฐบาลนี้หากไม่มีมวลชนคอยเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็ก ก็คงอยู่ได้ยาก เพราะอำมาตย์ไม่ได้หายไปไหน แต่จ้องที่จะขย้ำอยู่

ผมเชื่อว่าคงมีการชุมนุมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในครั้งต่อๆไป ตามแรงกระตุ้น ประเด็นเรียกร้องจะยกระดับไปถึงเรื่องรัฐธรรมนูญ และการรับรอง ICC เป็นแน่
เชื่อว่า นปช. ก็คงจะมีการขยับตัวอย่างแน่นอน ไม่อย่างนั้น เสื้อแดงกลุ่ม "ปฎิญญาหน้าศาล" ก็จะชิงการนำ มันเป็นธรรมชาติของงานมวลชน หากเสียการนำก็จะเสียไปเรื่อยๆ ดังนั้น หาก นปช.ล้าหลังมวลชน นปช.ก็จะเสียการนำเช่นกัน ดังนั้น ผมเชื่อว่า จตุพรที่ไม่ได้อยู่ใน คณะรัฐมนตรี ก็คงต้องออกมาเคลื่อนไหว เพื่อไม่ให้เสียสภาพการนำ
ส่วนรัฐบาลนั้น คุณทักษิณเริ่มโดน นปช.สวนที่ โบนันซ่า พลังของคุณทักษิณในการชี้นำคนเสื้อแดงก็ "อ่อนด้อยลง" พอสมควร แม้ว่าจะยังมีมากอยู่ แต่ "ตัวประเด็นเรียกร้องทางอุดมการณ์ เช่น รัฐธรรมนูญ การรับรอง ICC หรือแม้แต่ การแก้ไข กฎหมาย 112 ก็จะเริ่มแรงขึ้นเรื่อยๆ
รัฐบาลนายกฯปู มีจุดอ่อน ที่ "ห่างมวลชนมากเกินไป" ทั้งๆ ที่เกิดขึ้นจากมวลชน การที่รัฐบาลถูกการชี้นำของพวก "ที่ห่วงตำแหน่ง" ไม่กล้าสู้ ชี้นำมากเกินไป สุดท้ายจะเกิดสภาพที่ "นำมวลชนไม่ได้" แบบที่เห็นอยู่ขณะนี้
จะพึ่งณัฐวุฒิคนเดียว ตอนนี้ก็น่าจะกล่อมมวลชนยากแล้ว หากกดดันมากๆ เกิดณัฐวุฒิลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี รัฐบาลก็จะขาดจุดเชื่อมโยง ยากจะคุยกับมวลชนได้
การเชื่อ สุรนันน์ เวชชาชีวะ มากเกินไป เชื่อ เจ้แดงมากเกินไปทำให้เกิดสภาพนี้
คิดว่าจะหวังพึ่ง "บ้านเลขที่ 111" นั้น คนบ้านเลขที่ 111 นั้น ไม่ได้เป็นแกนนำมวลชนเสื้อแดง พวกเขาอาจมีความสามารถในการบริหาร แต่ขาดฐานมวลชน ในทางการเมือง ไม่ค่อยมีประโยชน์มากมายอะไรนัก พวกเขาเติบโตจากการ "เกาะคุณทักษิณ" นั่นหมายถึงว่าคุณทักษิณ "ชี้นำมวลชนได้"
แต่ตอนนี้พลังของคุณทักษิณในการชี้นำมวลชน ไม่ได้มากขนาดนั้น ยังต้องผ่าน "แกนนำเสื้อแดง" ต่างๆ แต่รัฐบาลมีแกนนำเสื้อแดงอยู่น้อยมาก เลยกลายเป็น "ห่างไกลจากมวลชน" ขาดการสื่อสารในระดับที่ดี
ก็อย่างที่ผมวิเคราะห์ไว้ ตั้งแต่ตอนตั้งรัฐบาลปู 3 ไม่ใช่ผมทวงตำแหน่ง รมต. ให้กับเสื้อแดง แต่ผมเห็นปัญหา "ความห่าง" แล้วมันจะเกิดปัญหาการนำ การสื่อสารตามมา
แล้วการคุมไม่ได้ก็จะตามมา อย่างที่เห็น
คณะรัฐมนตรีที่ไม่เข้าถึงอารมณ์มวลชน ต่อให้เก่งมีผลงาน จะรู้ได้อย่างไรว่ามวลชนเขาต้องการอะไรขณะนั้น เขาอาจไม่ต้องการรถคันแรก เป็นลำดับต้นก็ได้ แต่เขาต้องการด้านการเมืองก่อน เช่น รธน. หรือ เรื่อง 112
ใครที่ไม่เข้าใจการเมือง ไม่เข้าใจ การนำ ก็มักแต่จะคิดว่า "หวังตำแหน่ง" แย่งตำแหน่ง เป็นการมองการเมืองในระดับที่ตื้นเขินเกินไป
รัฐบาลต่อไปนี้จะถูกมวลชนบีบตลอด เพราะ "ไม่เข้าใจหลักการจัดสรรอำนาจ" เพื่อให้ การสื่อสาร ไหลเวียนได้ไม่ติดขัด
พลาดตั้งแต่ ครม.ปู3 แล้ว
อีกอย่างกลุ่ม "ปฎิญญาหน้าศาล" จุดติดแล้ว ก็คงไม่หยุดง่ายๆ เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องการก็คือ การชี้นำมวลชนเช่นกัน ก็คงมีการเรียกร้อง "ที่โดนใจมวลชน" มากยิ่งขึ้น เช่น เรื่อง ICC หรือ เรื่อง รธน. คนที่อึดอัดกับการนำของ นปช. ก็จะไหลเข้าไปหาแกนนำใหม่นี้ ผมเชื่อว่ามีมากพอสมควร
รัฐบาลที่มีแต่พวกเจ้แดง กับพวกชินวัตร เต็ม ครม. แต่ "ขาดพลังชี้นำมวลชน" แทนที่จะเข็มแข็งก็กลายเป็นอ่อนแอไปเลย เอาพวกบ้านเลขที่ 111 มาหนุนก็คงช่วยอะไรได้ไม่มาก เพราะไม่ใช่แกนนำมวลชน ยากที่จะหารอยเชื่อมได้
ก็อย่างที่บอก อำมาตย์รอจ้องอยู่ หากอ่อนด้านมวลชนเมื่อไหร่ ก็ล้มเมื่อนั้น
ผมว่ากลุ่ม "ปฎิญญาหน้าศาล" เมื่อจุดติดแล้ว กลุ่มอาจารย์หวานนี้ขยันจุดไม้ขีดเสียด้วย ก็คงจุดประเด็นขึ้นเรื่อยๆ
เสื้อแดงก้าวหน้าทั้งหลาย ที่อีดอัดกับ นปช. ก็จะเฮละโลไปสนับสนุนกลุ่มอาจารย์หวานให้เคลื่อนไหว ช่วงชิงการนำจาก นปช. ซึ่งก็คงขึ้นกับประเด็นด้วย หากเล่นประเด็นแรงและเร็วเกินไป "ล้ำหน้ามากเกินไป กลายเป็นอ๊อฟไซด์ ก็อาจร่วงเร็ว แต่หาก "บริหารประเด็นเป็น ไม่เร่งเกินไปหรือช้าเกินไป" ก็น่าจะสามารถชี้นำมวลชนได้มากพอสมควร
ผมไม่มีปัญหาอะไร เพราะก็มองที่ประเด็น หากประเด็นไหนน่าสนับสนุนก็สนับสนุน หากประเด็นมัน "ล่อแหลมเกินไป" ก็อาจเตือน ไม่เห็นด้วย
แต่เรื่อง นิรโทษกรรมมวลชน กำลังพอดี ๆ น่าสนับสนุน