ชันสูตร 'อากง' มะเร็งตับระยะสุดท้าย รอผล 7 วันตรวจสารพิษ จี้ยกระดับคุณภาพคุก
Wed, 2012-05-09 17:19
9 พ.ค.55 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่โรงพยาบาลตำรวจ มีการผ่าพิสูจน์ศพนายอำพล ผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ ที่เพิ่งเสียชีวิตวานนี้ (8 พ.ค.) โดยมีฝ่ายต่างๆ ตามกฎหมาย รวมถึงมีนายแพท์ภายนอกเข้าร่วมสังเกตการณ์ 3 คน ได้แก่ นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย นพ.พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล และนพ.กิติภูมิ จุฑาสมิต
พ.ต.อ.สุพล จงพาณิชย์กุลธร นพ.(สบ5) ในฐานะโฆษก รพ.ตำรวจ เปิดเผยผลการชันสูตรศพว่า ผู้เสียชีวิตเป็นมะเร็งที่ตับ และกระจายไปทั่วร่างกาย ทำให้มีภาวะการหายใจที่ล้มเหลว อย่างไรก็ตาม หลังการผ่าชันสูตรศพ ต้องรอผลการตรวจชิ้นเนื้อประกอบด้วย
ด้านนพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ระบุว่า ที่พบมีปัญหาคือช่องท้องมีเนื้องอกบริเวณตับด้านซ้ายและลุกลามไปในช่องท้อง ลำไส้ แล้วก็มีน้ำในช่องท้องจำนวนมาก มีสองตายนิดหน่อย คาดว่าน่าจะเสียชีวิตเพราะมะเร็งระยะสุดท้าย อย่างไรก็ตาม มีการนำอาหารในกระเพาะ เลือด น้ำในช่องท้องไปตรวจว่ามีสารพิษไหม ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 7 วันจึงจะทราบผล
นพ.เชิดชัยตอบคำถามนักข่าวว่า ดูลักษณะแล้วน่าจะเป็นมะเร็งอยู่นานพอสมควร คุณหมอที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์น่าจะเอาไปตรวจ ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรังและลุกลาม อันนี้เป็นเรื่องของมนุษยธรรมนักโทษก็เป็นมนุษย์ควรได้รับการดูแลที่ดี ที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยก็พยายามพูดถึงเรื่องนี้ในการประชุมพรรคทุกรอบ โดยพยายามเอาข้อเสนอของ คอป. เป็นจุดเริ่ม เช่น ย้ายผู้ต้องขังไปโรงเรียนตำรวจ แต่นักโทษคดีมาตรา 112 เป็นคนละเรื่องกัน กับอีกส่วนคือคดีที่ศาลพิพากษาไปแล้วซึ่งฝ่ายการเมืองไปยุ่งไม่ได้
นพ.ชิดชัยยังตอบคำถามอีกว่า เรื่องนี้น่าจะเป็นความบกพร่องในระบบทำงานมากกว่า หมอต้องทำตามหลักวิชาการ ถ้าไม่มีเครื่องมือต้องส่งไปรักษาข้างนอก ส่วนหากกลัวว่าผู้ต้องขังจะหลบหนีก็สามารถให้เจ้าหน้าที่ดูแลควบคุมได้ ส่วนการนอนโรงพยาบาลรอ 3 วันก่อนจะได้ตรวจนั้นไม่สมควรแน่
“ต้องแยกให้ออกระหว่างมนุษยธรรมกับเรื่องคดี ถ้าคนไข้ได้รับการตรวจและรู้ว่าเป็นมะเร็งควรให้ประกันมารักษาข้างนอก” นพ.เชิดชัยกล่าว
นพ.พงษ์ศักดิ์ กล่าวเสริมว่า ดูจากสภาพตับแบบนี้เชื่อว่าเป็นมะเร็งมาไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือนขึ้นไป ดังนั้นสะท้อนว่า ระบบการรักษา การประเมินคนไข้ของกรมราชทัณฑ์มีปัญหา นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อคนไข้ใกล้จะเสียชีวิต โดยปกติเราต้องมีการปั้มหัวใจหรือใช้วิธีการต่างๆ เพื่อกู้ชีวิตคืนอย่างหนักหน่วง แต่เท่าที่ดูไม่เห็นร่องรอยการช่วยเหลือคนไข้อย่างหนักหน่วง
ด้านนพ.กิตติภูมิ ให้ความเห็นในภายหลังว่าระบุว่า น่าจะเสียชีวิตจากมะเร็งระยะสุดท้าย ที่ช่องปากที่เคยเป็นมะเร็ง มีแผลที่เคยผ่าตัด ไม่มีต่อมน้ำเหลืองโต แสดงว่ารักษาหาย ส่วนร่องรอยสมองฝ่อนั้นเป็นเรื่องปกติของวัยชราซึ่งน่าจะเป็นผลต่อการเบิกความต่อศาลว่าจำไม่ได้ว่านำโทรศัพท์มือถือไปซ่อมที่ร้านในที่ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว
9 พ.ค.55 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่โรงพยาบาลตำรวจ มีการผ่าพิสูจน์ศพนายอำพล ผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ ที่เพิ่งเสียชีวิตวานนี้ (8 พ.ค.) โดยมีฝ่ายต่างๆ ตามกฎหมาย รวมถึงมีนายแพท์ภายนอกเข้าร่วมสังเกตการณ์ 3 คน ได้แก่ นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย นพ.พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล และนพ.กิติภูมิ จุฑาสมิต
พ.ต.อ.สุพล จงพาณิชย์กุลธร นพ.(สบ5) ในฐานะโฆษก รพ.ตำรวจ เปิดเผยผลการชันสูตรศพว่า ผู้เสียชีวิตเป็นมะเร็งที่ตับ และกระจายไปทั่วร่างกาย ทำให้มีภาวะการหายใจที่ล้มเหลว อย่างไรก็ตาม หลังการผ่าชันสูตรศพ ต้องรอผลการตรวจชิ้นเนื้อประกอบด้วย
ด้านนพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ระบุว่า ที่พบมีปัญหาคือช่องท้องมีเนื้องอกบริเวณตับด้านซ้ายและลุกลามไปในช่องท้อง ลำไส้ แล้วก็มีน้ำในช่องท้องจำนวนมาก มีสองตายนิดหน่อย คาดว่าน่าจะเสียชีวิตเพราะมะเร็งระยะสุดท้าย อย่างไรก็ตาม มีการนำอาหารในกระเพาะ เลือด น้ำในช่องท้องไปตรวจว่ามีสารพิษไหม ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 7 วันจึงจะทราบผล
นพ.เชิดชัยตอบคำถามนักข่าวว่า ดูลักษณะแล้วน่าจะเป็นมะเร็งอยู่นานพอสมควร คุณหมอที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์น่าจะเอาไปตรวจ ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรังและลุกลาม อันนี้เป็นเรื่องของมนุษยธรรมนักโทษก็เป็นมนุษย์ควรได้รับการดูแลที่ดี ที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยก็พยายามพูดถึงเรื่องนี้ในการประชุมพรรคทุกรอบ โดยพยายามเอาข้อเสนอของ คอป. เป็นจุดเริ่ม เช่น ย้ายผู้ต้องขังไปโรงเรียนตำรวจ แต่นักโทษคดีมาตรา 112 เป็นคนละเรื่องกัน กับอีกส่วนคือคดีที่ศาลพิพากษาไปแล้วซึ่งฝ่ายการเมืองไปยุ่งไม่ได้
นพ.ชิดชัยยังตอบคำถามอีกว่า เรื่องนี้น่าจะเป็นความบกพร่องในระบบทำงานมากกว่า หมอต้องทำตามหลักวิชาการ ถ้าไม่มีเครื่องมือต้องส่งไปรักษาข้างนอก ส่วนหากกลัวว่าผู้ต้องขังจะหลบหนีก็สามารถให้เจ้าหน้าที่ดูแลควบคุมได้ ส่วนการนอนโรงพยาบาลรอ 3 วันก่อนจะได้ตรวจนั้นไม่สมควรแน่
“ต้องแยกให้ออกระหว่างมนุษยธรรมกับเรื่องคดี ถ้าคนไข้ได้รับการตรวจและรู้ว่าเป็นมะเร็งควรให้ประกันมารักษาข้างนอก” นพ.เชิดชัยกล่าว
นพ.พงษ์ศักดิ์ กล่าวเสริมว่า ดูจากสภาพตับแบบนี้เชื่อว่าเป็นมะเร็งมาไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือนขึ้นไป ดังนั้นสะท้อนว่า ระบบการรักษา การประเมินคนไข้ของกรมราชทัณฑ์มีปัญหา นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อคนไข้ใกล้จะเสียชีวิต โดยปกติเราต้องมีการปั้มหัวใจหรือใช้วิธีการต่างๆ เพื่อกู้ชีวิตคืนอย่างหนักหน่วง แต่เท่าที่ดูไม่เห็นร่องรอยการช่วยเหลือคนไข้อย่างหนักหน่วง
ด้านนพ.กิตติภูมิ ให้ความเห็นในภายหลังว่าระบุว่า น่าจะเสียชีวิตจากมะเร็งระยะสุดท้าย ที่ช่องปากที่เคยเป็นมะเร็ง มีแผลที่เคยผ่าตัด ไม่มีต่อมน้ำเหลืองโต แสดงว่ารักษาหาย ส่วนร่องรอยสมองฝ่อนั้นเป็นเรื่องปกติของวัยชราซึ่งน่าจะเป็นผลต่อการเบิกความต่อศาลว่าจำไม่ได้ว่านำโทรศัพท์มือถือไปซ่อมที่ร้านในที่ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว
นอกจากนี้ นพ.กิตติภูมิ ยังระบุด้วยว่า ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายน่าจะมีโอกาสได้ประกันตัวมารักษาตัวภายนอกเรือนจำ และใช้เวลาช่วงสุดท้ายของชีวิตกับครอบครัว
นับเป็นหลักฐานชัดเจนขอรับใต้เ
ว่าจำเลยเป็นโรคสมองฝ่อ
ทำให้ความจำเลอะเลือน
การที่ใต้เท้าไม่เชื่อคำให้การเรื่องจำไม่ได้
การลงโทษนับว่าเป็นความผิดพลาดขอรับ
พอเพลีย
ว่าจำเลยเป็นโรคสมองฝ่อ
ทำให้ความจำเลอะเลือน
การที่ใต้เท้าไม่เชื่อคำให้การเรื่องจำไม่ได้
การลงโทษนับว่าเป็นความผิดพลาดขอรับ
"หลักฐานฯ ที่เกิดจากการผ่าสมอง นี่ไม่อาจใช้ได้ตอนนั้นนะครับ..."
"เฉพาะเวลานั้น ถ้าจำเลยอ้างว่า สมองฝ่อเลอะเลือน อาจต้องพิสูจน์ด้วยการสแกนสมอง แล้วต้องมีหลักฐานเชื่อมโยงว่า อาจฝ่อจริง แต่ขั้นต่อไป ก็ต้องพิสูจน์อีก ว่า ฝ่อในความจำส่วนไหนบ้าง ถ้าพอว่ามี จึงน่าสนใจว่า จำเลย ไม่ใช่อ้างว่าสมองฝ่อ (ฝ่อจริง) แต่จะพิสูจน์ได้ไม่ชัดแจ้งว่า จำหรือจำอะไรไม่ได้บ้าง... นั่นน่าจะเป็นปัญหา..."
เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ สมองฝ่อไม่ใช่ทางสู้คดี หรือ จะทำให้จำเลยบริสุทธิ์ขึ้นนะครับ ผมว่า...
drtorn wrote:พอเพลีย
ว่าจำเลยเป็นโรคสมองฝ่อ
ทำให้ความจำเลอะเลือน
การที่ใต้เท้าไม่เชื่อคำให้การเรื่องจำไม่ได้
การลงโทษนับว่าเป็นความผิดพลาดขอรับ
"หลักฐานฯ ที่เกิดจากการผ่าสมอง นี่ไม่อาจใช้ได้ตอนนั้นนะครับ..."
"เฉพาะเวลานั้น ถ้าจำเลยอ้างว่า สมองฝ่อเลอะเลือน อาจต้องพิสูจน์ด้วยการสแกนสมอง แล้วต้องมีหลักฐานเชื่อมโยงว่า อาจฝ่อจริง แต่ขั้นต่อไป ก็ต้องพิสูจน์อีก ว่า ฝ่อในความจำส่วนไหนบ้าง ถ้าพอว่ามี จึงน่าสนใจว่า จำเลย ไม่ใช่อ้างว่าสมองฝ่อ (ฝ่อจริง) แต่จะพิสูจน์ได้ไม่ชัดแจ้งว่า จำหรือจำอะไรไม่ได้บ้าง... นั่นน่าจะเป็นปัญหา..."
เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ สมองฝ่อไม่ใช่ทางสู้คดี หรือ จะทำให้จำเลยบริสุทธิ์ขึ้นนะครับ ผมว่า...
ผมว่าด้วยวัตถุพยานอันประจักษ์ชัด คือสมองของจำเลย
การทำงานของสมองที่บกพร่องคือข้อพิสูจน์ว่าจำเลยบริสุทธิ์
ผลย่อมเกิดจากเหตุ ผลก็คือจำเลยให้การว่าจำความไม่ได้
อันผิดวิสัยของปุถุชนธรรมดาอย่างน่าสังเกตุได้
เป็นเหมือนการลงโทษบุคคลบริสุทธิ์อันไม่สมประกอบโดยแท้
*******************************************************
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บประชาไทค่ะ
http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40423