วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ข่าวน่ารู้

ไม่ได้เขียนเอง นำมาเพื่อศึกษาเท่านั้น

Posted 11 October 2011 - 08:41 PM

ขอนำผลงานมองการณ์ไกลของ เจ๊ ชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน มาให้คนไทย
นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  คณะรัฐมนตรีชุด นายกปู (ขาเก) และ ส.ส. พรรคเพื่อไทยได้ชื่นชม



*****ข่าวนี้ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2554*********

ได้เตรียมรับมือภัยแล้งด้วยการให้อ่างเก็บน้ำในพื้นที่ 17 แห่งเก็บกักน้ำไว้สูงกว่าระดับเก็บกัก (เกิน 70%)

นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในแหล่งกักเก็บน้ำทั่วประเทศ ว่า ขณะนี้ในแหล่งกักเก็บน้ำ
ขนาดกลางและขนาดใหญ่ทั่วประเทศกว่า 400 แห่งมีปริมาณน้ำอยู่ประมาณ 34,000 ล้านลูกบาศก์เมตร และทางกรมชลประทาน
ได้เตรียมไว้ใช้ในฤดูแล้งปีนี้ 20,000 ล้านลูกบาศก์เมตร และอีก 14,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ก็เตรียมไว้ใช้สำหรับปี 2554
จึงขอเตือนเกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรัง โดยกรมชลประทานได้ขอความร่วมมือจากเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังให้ลดจำนวน
การปลูกข้าวนาปรังลง และไม่ควรขยายพื้นที่เพาะปลูก เพื่อกรมชลประทานจะได้จัดสรรน้ำให้เพียงพอ
http://thainews.prd....0122&tb=N255301


******ข่าวนี้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2554******

ด่วน!! ลานินญ่ากลับมาอีกแล้ว
ทีวี360องศาวันนี้มาติดตามข่าวร้ายของชาวโลก “ลานิญญ่า” ที่ป่วนโลกหนักกว่า 1 ปีที่ผ่านมา กำลังจะกลับมาอีกแล้ว
ความเข้าใจง่ายๆสำหรับลานิญญาคือ จะทำให้ประเทศในภูมิภาคบ้านเราอ่วมฝนหนัก ขณะที่ฝั่งอเมริกาใต้ก็เกิดความแห้งแล้ง

ศูนย์บริการด้านอากาศของสหรัฐอเมริกา เตือนว่าปรากฎการณ์ลานินญ่าที่หยุดลงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จะกลับมาอีกครั้งในช่วงฤดูใบไม้ผลินี้

http://tv360.krobkru...com/?page_id=98

******ข่าวนี้เมื่อ พฤศจิกายน 2553******

คำเตือนเรื่องฝนหนัก น้ำท่วม ฤทธิ์ลานินญาทำไทยเผชิญภัยพิบัติเพิ่ม

"ไทยไม่เคยมีการทำแผนที่เสี่ยงภัยไว้เลย จึงแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้ การเตือนภัยและการพยากรณ์อากาศจึงยังล้าหลังกว่าเวียดนาม
ที่มีการพยากรณ์อากาศแม่นยำมากในภูมิภาคอาเซียน ติดอันดับต้นๆ ในระดับเดียวกับญี่ปุ่น อังกฤษ หรือสหรัฐ" นายธนวัฒน์ กล่าว

http://www.ftawatch.org/all/news/20993

******ส่วนข่าวนี้เมื่อ เมษายน 2554********

กรมชลประทานวางแผนสู้ภัยแล้ง ปีนี้มีน้ำต้นทุนไว้จัดสรร 31,000 ล้าน ลบ.ม. พร้อมกันสำรอง เชื่อยังรับมือไหว
ขณะที่ปริมาณน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศยังลดลงอย่างต่อ เนื่อง อ่างแก่งกระจาน กับปราณบุรีวิกฤตสุด
2 อ่าง รวมกันเหลือน้ำใช้แค่ 200 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น

นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการจัดสรรน้ำและมาตรการป้องกันปัญหาภัยแล้งปี 2554
ว่า ขณะนี้แหล่งกักเก็บน้ำขนาดกลางและใหญ่มีปริมาณน้ำใช้ได้ประมาณ 31,000 ล้าน ลูกบาศก์เมตร โดยกรมชลประทาน
ได้จัดสรรการใช้น้ำให้กับการอุปโภคบริโภคเป็นอันดับแรก รองลงไปได้แก่ การรักษาระบบนิเวศวิทยา และการใช้น้ำเพื่อการเกษตร

ทั้ง นี้ในจำนวนปริมาณน้ำ 31,000 ล้าน ลบ.ม. กรมชลประทานได้สำรองไว้จำนวน 11,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
เพื่อใช้สำหรับต้นฤดูฝน กับหลังช่วง ฤดูฝน อีกจำนวน 20,100 ล้าน ลบ.ม. โดย น้ำสำรองจำนวน 20,100 ล้าน ลบ.ม.ได้วางแผน
การใช้น้ำในพื้นที่เพาะปลูกด้านการเกษตรทั่วประเทศประมาณ15. 29 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นแผนสำหรับการปลูกข้าวประมาณ 12.6 ล้านไร่
http://www.ftawatch.org/all/news/22775

อันสุดท้ายเป็นคลิปข่าว ภัยแล้ง (แล้งสุด ๆ นะ เธอว์)
http://www.youtube.c...h?v=UgmTjoEOQQw




La nina กลับมาอีกแล้ว
(ถ้าท่านดูที่ภาพ จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยอยู่ในโซนสีแดงเถือกซึ่งหมายความว่าโซนนี้ จะพบกับพายุ และฝนตกชุก โดย
ศูยน์บริการด้านอากาศของ สหรัฐอเมริกา ได้ออกเตือนประเทศต่าง ๆมาตั้งแต่เดือน เมษายน 2554)

(แต่เป็นที่น่ายินดีที่ว่า กรมชลประทาน ของ เจ๊ชลิต ทำหูแชแหมกับคำเตือน โดยยังเก็บน้ำไว้ในเขื่อน (บางแห่งมากกว่า 70%)
ไม่ยอมปล่อยออก โดยมั่นใจว่า เทวดา แถวคอนโดริมน้ำ ที่เรียกตัวไปพบประจำ แน่กว่า ศูยน์บริการด้านอากาศของสหรัฐ
แถมพกด้วย ความมั่นใจของกรมอุตุนิยมวิทยาที่คิดว่า ไม่เท่าไหร่หรอก)

ความเข้าใจง่ายๆสำหรับลานิญญาคือ จะทำให้ประเทศในภูมิภาคบ้านเราอ่วมฝนหนัก ขณะที่ฝั่งอเมริกาใต้ก็เกิดความแห้งแล้ง

ศูนย์บริการด้านอากาศของสหรัฐอเมริกา (เตือนมาตั้งแต่ เมษา 54)เตือนว่าปรากฎการณ์ลานินญ่าที่หยุดลงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
จะกลับมาอีกครั้งในช่วงฤดูใบไม้ผลินี้ หรือตั้งแต่ในช่วงเดือนหน้าเป็นต้นไป การกลับมาของลานิญญา พบโดยแบบจำลองการคาดการณ์อากาศ
ที่พบรูปแบบของชั้นบรรยากาศโลกกำลังกลับเข้าสู่สภาวะแบบลานิญญาเมื่อปีที่แล้ว


ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า ลานินญ่ารอบสอง จะซ้ำเติมปัญหาภัยแล้ง ทำลายผลผลิตข้าวสาลีในที่ราบทางใต้ของสหรัฐอเมริกา
ขณะที่ออสเตรเลียฝั่งตะวันออกจะเจอฝนหนัก แต่ได้ประโยชน์จากผลผลิตข้าวสาลีและข้าวบาร์เล่ย์เติบโตดี
ส่วนอาร์เจนติน่าและบราซิลจะเจอกับความแห้งแล้ง และเสียเปรียบที่ผลผลิตข้าวสาลี ข้าวโพดและถั่วเหลืองจะลดลง

เวลาติดตามตรวจสอบลานิญญา เขาจะดูกันที่ความผิดปกติของอุณหภูมิน้ำทะเล

กรมอุตุนิยมวิทยาของไทย รายงานว่า อุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรยังใกล้เคียงค่าปกติ
แต่ระบบบรรยากาศยังคงมีบางส่วนที่สอดคล้องกับภาวะลานิญญา โดยเฉพาะด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร
มีการยกตัวของอากาศอย่างต่อเนื่อง เพราะมีมวลน้ำอุ่นสะสมอยู่และอุณหภูมิสูงกว่าโดยรอบ ทำให้มีความชื้นมากรวมตัวกันเป็น
เมฆฝนทำให้มีฝนตกมากในเดือนที่แล้ว
ปัจจัยที่สนับสนุนเรื่องนี้คือ การเกิดพายุนกเตน ที่มีความรุนแรงและสร้างความเสียหายให้กับเวียดนาม ลาว และไทยนั่นเอง
อย่างไรก็ตามโดยรวมถือว่ามีเพียงความผิดปกติของชั้นบรรยากาศเท่านั้นที่ดูเหมือนลานิญญายังอยู่ และแบบจำลองคาดการณ์อากาศก็พบว่า
หากลานิญญากลับมาจริง ก็จะไม่รุนแรงเหมือนปีที่แล้ว
.......................................

Posted 11 October 2011 - 08:47 PM

ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2554 หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่ 3 ซึ่งมาตั้งฐานปฏิบัติการในกองบิน 21 กองพลบินที่ 2 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ
จังหวัดอุบลราชธานี ได้นำเครื่องบินรุ่นกาซ่าจำนวน 2 ลำ ขึ้นบินปฏิบัติการโปรยสารเคมีน้ำหนักรวม 10 ตัน
เหนือพื้นที่แหล่งใช้เก็บกักน้ำเพื่อทำฝนเทียมเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อน

ฝนตกหนักตั้งแต่ต้นปีเลยสงสัยว่ามันทำฝนเทียมกันอีกทำไม

นอกจากน้ำท่วมเกือบทั่วประเทศแล้วตอนนี้ยังเกิดอาการน้ำท่วมปากกันเป็นแถว

http://www.ryt9.com/...04-09-00:00:53/

ก.เกษตรฯเผยตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัดแล้ว
................................................
Posted 11 October 2011 - 08:52 PM

แม้แต่ “เดลินิวส์” ยังทนไม่ได้ น่าแปลกใจ ที่น้ำท่วมเต็มเมือง แต่สถานีสูบชายทะเลกลับว่างงาน เหมือนมีการ “วางยา”
เจ้าหน้าที่สถานีทุกแห่งมีข้อสงสัยตรงกันว่า “พร้อมสูบทุกวัน รอให้น้ำเหนือมา ก็ยังไม่มาสักที”
ถามไปที่กรมชลประทาน ก็ไม่มีคำตอบให้เข้าใจ แต่กลับมีผลให้น้ำท่วม ปทุม-นนทบุรี และ กทม.
มีใครกั๊กอะไรไว้ตรงไหนหรือเปล่า??.

http://www.dailynews...ontentId=168946

น่าแปลกใจ!น้ำท่วมเต็มเมือง แต่สถานีสูบชายทะเล'ระดับน้ำต่ำ'

“เราสูบทุกวัน ติดต่อกันมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เพื่อพร่องน้ำ รอให้น้ำเหนือมา ก็ยังไม่มาสักที” เจ้าหน้าที่ประจำสถานีทุกแห่งบอกตรงกัน
...................................................


Posted 11 October 2011 - 09:19 PM

""""""แต่ว่าไม่ใช่ไม่ทรงสนพระทัย ทรงเรียกกรมชลประทาน มาเสมอๆ และพระราชทานคำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างเขื่อน เกี่ยวกับการเก็บน้ำ
เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ทรงทำตลอดเวลา""""""


..................................................

Posted 13 October 2011 - 08:16 PM

- เม.ย. 54 ปริมาณน้ำในเขื่อน 50.21% แต่กลับปล่อยน้ำออกเพียง 7.0 ล้านลบม.
ในขณะที่ปี 53 ปริมาณน้ำ 37.95% ระบายน้ำถึง 12 ล้านลบม.

- พ.ค. 54 ปริมาณน้ำในเขื่อน 52.63% แต่กลับปล่อยน้ำออกเพียง 7.5 ล้านลบม.
ในขณะที่ปี 53 ปริมาณน้ำ 36.90% ระบายน้ำถึง 8.3 ล้านลบม.

- มิ.ย. 54 ปริมาณน้ำในเขื่อน 60.27% แต่กลับปล่อยน้ำออกเพียง 0.0 ล้านลบม.
ในขณะที่ปี 53 ปริมาณน้ำ 34.10% ระบายน้ำถึง 11.0 ล้านลบม.

...

พอเริ่มปล่อยน้ำออกมาก็พอดีกันกับที่ฝนตกชุก พอน้ำจากเขื่อนสิริกิตติ์ปล่อยลงสู่แม่น้ำน่านก็ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม
สมัยปลายรัฐบาลอภิสิทธิ์และส่งกระทบเป็นโดมิโนไปยังทุกๆเขื่อน
........................................................

Posted 14 October 2011 - 11:30 PM

ขอนำข้อมูลดิบ ของน้ำที่เขื่อนพ่อ เขื่อนแม่ มาฝาก

ขอให้สังเกตุตัวเลขปริมาณน้ำในเขื่อน เปรียบเทียบกับการระบายน้ำ ของปี 53 vs 54

ยกตัวอย่างเขื่อนพ่อ เดือน 5

ปี 53 มีน้ำ 34% ปล่อยน้ำออก 12 ล้านลูกบาศ์กเมตร
ปี 54 มีน้ำ 47% ปล่อยน้ำออก 3 ล้านลูกบาศ์กเมตร

หรือ เขื่อนแม่ เดือน 6

ปี 53 มีน้ำ 35% ปล่อยน้ำออก 11.94 ล้านลูกบาศ์กเมตร
ปี 54 มีน้ำ 54% ปล่อยน้ำออก 5.5 ล้านลูกบาศ์กเมตร

เป็นต้น

เขื่อนพ่อ 2010/3/13 vs 2011/3/13
ปริมาตรน้ำ 6,063 (45%) vs 6,282 (47%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร
ปริมาณระบายน้ำ 35 vs 21

เขื่อนพ่อ 2010/4/13 vs 2011/4/13
ปริมาตรน้ำ 5,166 (38%) vs 6,092 (45%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร
ปริมาณระบายน้ำ 18 vs 13

เขื่อนพ่อ 2010/5/13 vs 2011/5/13
ปริมาตรน้ำ 4,580 (34%) vs 6,320 (47%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร
ปริมาณระบายน้ำ 12 vs 3

เขื่อนพ่อ 2010/6/13 vs 2011/6/13
ปริมาตรน้ำ 4,187 (31%) vs 7,317 (54%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร
ปริมาณระบายน้ำ 8 vs 1.5

เขื่อนพ่อ 2010/7/13 vs 2011/7/13
ปริมาตรน้ำ 4,054 (30%) vs 7,993 (59%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร
ปริมาณระบายน้ำ 5 vs 7

เขื่อนพ่อ 2010/8/13 vs 2011/8/13
ปริมาตรน้ำ 4,177 (31%) vs 9,540 (71%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร
ปริมาณระบายน้ำ 3 vs 18.74

.....

............................................................

เขื่อนแม่ 2010/3/13 vs 2011/3/13
ปริมาตรน้ำ 4,177 (44%) vs 5,341 (56%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร
ปริมาณระบายน้ำ 18.98 vs 36.21

เขื่อนแม่ 2010/4/13 vs 2011/4/13
ปริมาตรน้ำ 3,779 (40%) vs 4,916 (52%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร
ปริมาณระบายน้ำ 11.69 vs 17.02

เขื่อนแม่ 2010/5/13 vs 2011/5/13
ปริมาตรน้ำ 3,514 (37%) vs 4,834 (51%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร
ปริมาณระบายน้ำ 7.96 vs 6.53

เขื่อนแม่ 2010/6/13 vs 2011/6/13
ปริมาตรน้ำ 3,356 (35%) vs 5,163 (54%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร
ปริมาณระบายน้ำ 11.94 vs 5.5

เขื่อนแม่ 2010/7/13 vs 2011/7/13
ปริมาตรน้ำ 3,207 (34%) vs 6,468 (68%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร
ปริมาณระบายน้ำ 7.96 vs 14.89

เขื่อนแม่ 2010/8/13 vs 2011/8/13
ปริมาตรน้ำ 4,221 (44%) vs 8,289 (87%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร
ปริมาณระบายน้ำ 5.46 vs 44.79
..........


ข้อมูลจาก http://www.thaiwater...p/rid_bigcm.php
โครงการระบบเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย
..........


ถ้ากรมชลฯ มีแผนการทำงานที่ดีกว่านี้ ความเสียหายครั้งนั้นก็คงไม่เกิดขึ้น.! !!

ครั้งนี้ก็เช่นกัน กรมชลฯ รู้สึกตัวช้าเกินไป หรือกรณี "ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี พัง" ยังคงต้องใช้เวลาอันยาวนาน
ในการซ่อมแซม นี่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเสร็จเมื่อไหร่กันแน่ แล้วอย่างนี้ ประชาชนตาดำๆ เขาจะอยู่กันอย่างไร

"ไม่รู้ว่าเหตุที่กรมชลฯ รู้สึกตัวช้า เพราะมัวแต่เตรียมจัดงานเลี้ยงให้กับข้าราชการที่เกษียณอายุราช รวมถึงข้าราชการที่จะเกษียณอายุ
ก็ปลดเกียร์ว่างตั้งแต่ 2 เดือนก่อนหรือเปล่า...."

http://www.innnews.c...-312739_34.html




........................................................

Posted 25 October 2011 - 07:26 PM



กราฟระดับกักเก็บน้ำในเขื่อนในภาคเหนือ ภาคกลางและอีสาน
ที่มีการกักเก็บน้ำในเขื่อนล่วงหน้าก่อนเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกราฟ

โดยความหมายคือ

- เริ่มกักเก็บน้ำตามเกณฑ์ ถือเอาตำแหน่งวันที่กราฟเกณฑ์เริ่มต้นขึ้นสูง เป็นวันที่เริ่มกักเก็บตามเกณฑ์
- เริ่มกักเก็บน้ำปี 54 ถือเอาตำแหน่งวันที่กราฟสีแดงเริ่มต้นขึ้นสูง

จากข้อมูลการกักเก็บน้ำในเขื่อนของกรมชลฯ
http://water.rid.go....d/res_table.htm

เขื่อนภูมิพล
- เริ่มกักเก็บน้ำตามเกณฑ์ 1 ส.ค.
- เริ่มกักเก็บน้ำปี 54 - 1 พ.ค. 54
- กักเก็บน้ำล่วงหน้าก่อนเกณฑ์ 3 เดือน

เขื่อนสิริกิติ์
- เริ่มกักเก็บน้ำตามเกณฑ์ 27 ก.ค.
- เริ่มกักเก็บน้ำปี 54 - 1 พ.ค. 54
- กักเก็บน้ำล่วงหน้าก่อนเกณฑ์ 3 เดือน

อ่างเก็บน้ำแม่กวง
- เริ่มกักเก็บน้ำตามเกณฑ์ 1 ส.ค.
- เริ่มกักเก็บน้ำปี 54 - 30 เม.ย. 54
- กักเก็บน้ำล่วงหน้าก่อนเกณฑ์ 3 เดือน

เขื่อนน้ำอูน
- เริ่มกักเก็บน้ำตามเกณฑ์ 1 ส.ค.
- เริ่มกักเก็บน้ำปี 54 - 1 พ.ค. 54
- กักเก็บน้ำล่วงหน้าก่อนเกณฑ์ 3 เดือน

เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ
- เริ่มกักเก็บน้ำตามเกณฑ์ 1 ส.ค.
- เริ่มกักเก็บน้ำปี 54 - 28 เม.ย. 54
- กักเก็บน้ำล่วงหน้าก่อนเกณฑ์ 3 เดือน
- 5 มิ.ย. 54 ระบายน้ำที่ระดับ 110 ล้าน ลบ.ม.
- 1 ส.ค. 54 กักเก็บน้ำอีกครั้งเริ่มต้นที่ระดับ 55 ล้าน ลบ.ม. (ตามเกณฑ์)

อ่างเก็บน้ำลำปาว จ.กาฬสินธุ์
- เริ่มกักเก็บน้ำตามเกณฑ์ 1ก.ค. (ตามเกณฑ์ระดับสูงสุด) และ 1 ส.ค. (ตามเกณฑ์ระดับต่ำสุด)
- เริ่มกักเก็บน้ำปี 54 - 1 มิ.ย. 54
- กักเก็บน้ำล่วงหน้าก่อนเกณฑ์ 1-2 เดือน

เขื่อนป่าสัก
- เริ่มกักเก็บน้ำตามเกณฑ์ 1 ส.ค.
- เริ่มกักเก็บน้ำปี 54 - 10 พ.ค. 54
- กักเก็บน้ำล่วงหน้าก่อนเกณฑ์เกือบ 3 เดือน
- 24 มิ.ย. 54 ระบายน้ำที่ระดับ 550 ล้าน ลบ.ม.
- 5 ส.ค. 54 กักเก็บน้ำอีกครั้งเริ่มต้นที่ระดับ 250 ล้าน ลบ.ม. (ตามเกณฑ์)

อ่างเก็บน้ำทับเสลา อ.อุทัยธานี
- เริ่มกักเก็บน้ำตามเกณฑ์ 1 ก.ย.
- เริ่มกักเก็บน้ำปี 54 - 6 มี.ค. 54
- กักเก็บน้ำล่วงหน้าก่อนเกณฑ์เกือบ 6 เดือน
- 24 มิ.ย. 54 ระบายน้ำที่ระดับ 75 ล้าน ลบ.ม.
- 5 ก.ค. 54 กักเก็บน้ำอีกครั้งเริ่มต้นที่ระดับ 60 ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำกระเสียว จ.สุพรรณบุรี
- เริ่มกักเก็บน้ำตามเกณฑ์ 22 ส.ค.
- เริ่มกักเก็บน้ำปี 54 - 18 พ.ค. 54
- กักเก็บน้ำล่วงหน้าก่อนเกณฑ์เกือบ 3 เดือน
- 10 มิ.ย. 54 ระบายน้ำที่ระดับ 225 ล้าน ลบ.ม.
- 28 ส.ค. 54 กักเก็บน้ำอีกครั้ง เริ่มต้นที่ระดับ 145 ล้าน ลบ.ม. (ตามเกณฑ์)

Back to top
MultiQuote
.........

.................................................