ขออนุญาตบันทึกข้อมูลนี้ไว้เพื่อการศึกษา
สำหรับรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปในภายภาคหน้า
ด้วยความขอบคุณผู้เขียนและแหล่งข่าว มา ณโอกาสนี้
อากง คดี ส่งSMS หมิ่นสถาบัน เสียชีวิตแล้วคาคุก..
มาย้อนอ่าน "คดีอากง" กัน
ข่าวจาก ไทยรัฐ นายสุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า อากง ผู้ต้องหาคดีส่ง SMS หมิ่นสถาบัน เสียชีวิตแล้ว หลังถูกนำตัวส่ง รพ.รักษาอาการป่วย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 พ.ค.ที่ผ่านมา... นายสุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยกับไทยรัฐออนไลน์ว่า นายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ อากง อายุ 61 ปี ผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร คดีส่งเอสเอ็มเอสหมิ่นสถาบัน ซึ่งได้ถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุก 20 ปี ในความผิดมาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ได้เสียชีวิตลงแล้ว เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา หลังถูกทางเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครนำตัวไปรักษาอาการป่วยที่โรงพยาบาล ตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2555 ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตกำลังอยู่ระหว่างการชันสูตร ขณะที่ นายอานนท์ นำภา ทนายความสำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ในชื่อ อานนท์ นำภา ระบุว่า นางรสมาริน ภรรยา นายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ อากง อายุ 61 ปี ผู้ต้องขังคดีหมิ่นเบื้องสูง ได้เสียชีวิตแล้ว หลังมีอาการปวดท้อง เนื่องจากคาดว่าน่าจะเป็นผลพวงจากอาการป่วยด้วยโรคมะเร็ง และได้ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ข่าวจาก sanook.com อากง sms ผู้ต้องหาคดีหมิ่นเบื้องสูง เสียชีวิตแล้ว ในโรงพยาบาลเรือนจำวันนี้ (8 พ.ค.) หลังปวดท้องอย่างรุนแรง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊คว่า "ผมเพิ่งได้โทรศัพท์ จากคุณ อานนท์ นำภา : อากง เสียชีวิตแล้ว(เท่าทีได้รับการบอกจากคุณทนาย, อากง มีอาการปวดท้องตั้งแต่วันศุกร์ วันนี้ "ป้าอุ๊" ไปเยี่ยม พบอากง เสียชีวิต)" โดย อาจารย์สมศักดิ์ ได้เผยถึงสาเหตุการเสียชีวิตของอากงว่า อากงมีอาการป่วยมาระยะหนึ่งแล้ว ก่อนจะถูกส่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของเรือนจำตั้งแต่เมื่อวันศุกร์(4 พ.ค.) จนกระทั่งมาเสียชีวิตในวันนี้
ทั้งนี้ นายอำพล ตั้งนพกุล หรือ อากง อายุ 61 ปี คือผู้ต้องหาในคดีหมิ่นเบื้องสูง ตามมาตรา 112 ศาลพิพากษาจำคุก 20 ปี จากการส่งข้อความสั้น (SMS) เข้าข่ายหมิ่นสถาบันไปยังเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในช่วงกลางปี 2553 ซึ่งมีการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงและนายอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ด้าน มติชนออนไลน์ รายงานว่า พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้เปิดเผยว่า นายอำพลได้เสียชีวิตจริง เมื่อเวลา 09.00 น.ที่โรงพยาบาลกลาง โดยมีอาการปวดท้องตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 พ.ค. แพทย์ในเรือนจำได้ให้ยาบรรเทาอาการปวดเบื้องต้น ก่อนที่จะส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกลาง ขณะนี้อยู่ในระหว่างการชันสูตรหาสาเหตุการเสียชีวิต
เรื่องของอากงวัย 61 ที่ถูกจับเพราะส่ง SMS ข้อความหมิ่นฯไปหาเลขอดีตนายกอภิสิทธิ์
เป็นดคีที่ถูกพูดถึงครึกโครมกันบนโลกอินเตอร์เน็ต
เรื่องของอากงวัย 61 ที่ถูกจับเพราะส่ง SMS ข้อความหมิ่นฯไปหาเลขอดีตนายกอภิสิทธิ์ เรื่องนี้มหากาพย์มากครับ..ค่อยๆไล่เลียงลำดับดูไปละกัน
และผมมีความเห็นเล็กๆเรื่องนี้ ในฐานะคนเสพข่าวคนนึง
3 สิงหาคม 2553 จำเลย วัย 61 ปี ถูกจับกุมในข้อหากระทำความผิดตามมาตรา 14 (2), (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
จำเลยให้การปฏิเสธ ตั้งแต่ชั้นจับกุม โดยกล่าวว่าไม่รู้จักวิธีการส่ง SMSและมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข (คปค.) ฉบับที่ 41 โดยข้อความดังกล่าวมีลักษณะหยาบคาย เข้าข่ายจาบจ้วง ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ส่งนั้นก็ไม่ใช่ของตน ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อว่าผู้ส่งข้อความหักซิมการ์ดทิ้งไปแล้ว จึงสืบเบาะแสจากหมายเลขประจำเครื่อง (IMEI) จำเลยเคยประกอบ อาชีพขับรถส่งของ ปัจจุบันไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรแล้ว เนื่องจากอายุมากและพูดไม่ถนัดหลังการ ผ่าตัดมะเร็งใต้ลิ้นตั้งแต่ปี 2550 ทุกวันนี้อาศัยอยู่กับภรรยาในห้องเช่าราคาเดือนละ 1,200 บาท ย่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ และอยู่ได้ด้วยเงินที่ได้รับจากลูกๆ อีกเล็กน้อย แต่ละวันมีหน้าที่ต้องเลี้ยงหลาน 3-4 คน หลังถูกจับกุมเมื่อ วันที่ 3 ส.ค.53 เขาถูกคุมตัวในเรือนจำนวน 63 วัน และได้ประกันตัวเมื่อวันที่ 4 ต.ค.53 หลังจากนั้น ในวันที่ 18 ม.ค. 54 อัยการมีคำสั่งฟ้องคดี จำเลยจึงต้องถูกควบคุมตัวอีกครั้ง ซึ่งศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงตามข้อหาการกระทำความผิดตามฟ้องกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนและ ความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง คดีอยู่ในชั้นพิจารณา หากผลการพิจารณาสืบพยานมีหลักฐานมั่นคงจำเลยอาจหลบหนี ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว อ่านสำนวนเต็มๆที่นี่กันก่อน ตรงเนื้อหาช่วงกลางๆนะครับ http://ilaw.or.th/node/1229
- อากงถูกกลั่นแกล้งจากการส่ง SMS ปลอมหรือเปล่า
เป็นคำถามที่หลายคนตั้งข้อสงสัยขึ้นมาครับ ว่ากรณีนี้เกิดได้หรือไม่
ตอบแบบบ้านๆว่า..ทุกอย่างมันสามารถเช็คต้นตอได้ครับ อย่างกรณีอี-เมลล์ปลอม เราสามารถตรวจสอบได้จาก Header ของอี-เมล์ กรณี SMS ก็คล้ายกัน ทางโอเปอเรเตอร์ จะต้องมี Log เก็บไว้ ว่ามีการส่ง SMS จากหมายเลขโทรศํพท์อะไร เครื่องโทรศํพท์ IMEI อะไร (IMIEI หรืออีมี่คือหมายเลขประจำโทรศัพท์) และ Cell Site บริเวณไหน ซึ่ง Cell Site สมัยนี้มันวางกันถี่ครับ คลาดเคลื่อนค่อนข้างยากอยู่
ขณะที่การส่ง SMS แบบ Fake นั้น ถ้าผ่านเว็บมันส่งผ่าน SMS Gateway
ใครที่สงสัยว่า อากงจะถูกลั่นแกล้งจาก โปรแกรมส่งSMS แนะนำว่าไปศึกษาเรื่อง Fake SMS / Spoofing SMS ก่อนครับ ให้เริ่มอ่านจากตรงนี้ SMS spoofing : http://en.wikipedia.org/wiki/SMS_spoofing
- ปริศนา 2 ซิม จากเครื่องอากง
จริงๆ เท่าที่อ่านจากสำนวนคดี
ที่ผ่านมา Log เบอร์หลักการติดต่อของอากงนั้น มีแค่การคุยกับลูกสาว ซึ่งจริงๆ ก็เป็นธรรมดาของผู้ใหญ่ธรรมดาๆ แต่มีการสลับซิมไปใช้ ใน Cell Site เดียวกันทั้งสองหมายเลข
ถ้าคิดแบบเลวๆนะครับ..Sim Card สำหรับ Basic Phone นั้น
เสียบสลับๆแป๊บๆ ก็เปิดเครื่องได้ พร้อมใช้งานได้แล้ว แถมไม่มีอะไรมายืนยันตัวตนได้ว่า Sim Card เบอร์นี้ เจ้าของคือคนนี้ ในกรณีที่เป็นเบอร์เติมเงิน
ถ้าย้อนกลับไปตอนที่มีการใช้ Nokia 3310 เป็นเครื่องมือมือในการจุดระเบิดจากระยะไกล
ช่วงนั้นมีการขอความร่วมมือว่า ใครจะซื้อ Sim Card ให้ขอหลักฐาน ซึ่งก็แห่กันทำได้พักนึง
แต่ความเป็นจริงตอนนี้ คุณเดินเข้าร้านสะดวกซื้อจ่ายเงินไม่กี่สิบบาทได้เบอร์ใหม่
ที่ไม่มีใครรู้ว่าใครคือเจ้าของเบอร์ (เบอร์โทรเบอร์นึง กรณีหมดอายุจะเวียนนำมาใช้ใหม่ในเวลา 6 เดือน)
ถ้าในสำนวนมีการพูดถึงประเด็นนี้ ผมก็สงสัยว่ามีเกณฑ์อะไรมาชี้ชัดว่าอากงเป็นเจ้าของเบอร์นี้
มีหลักฐานว่าแกเดินไปซื้อ Sim เบอร์นี้จากร้านไหนหรือเปล่า..พอดีที่ส่งไปหาคุณเลขาเป็นเบอร์ ‘เติมเงิน’
- ประเด็นการแก้ต่างฝั่งทนายฝั่งอากง
เป็นประเด็นที่ผมอ่านแล้วขัดใจมาก ทำไมหรือครับ
ถ้าผมจะบอกว่า..ทนายที่แก้ต่างให้อากง แกรู้ไม่รู้จริง รู้ไม่ลึกจะมีผลทางกฎหมายมั้ยครับนั่น แต่ผมมีแหตุผลของผมอยู่ จากย่อหน้านี้นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญเบิกความว่า ในฐานะทนายความที่ทำคดีนี้ตนได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์เรื่องการส่งข้อความสั้น และได้ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมทั้งที่เป็นนักวิชาการด้านโทรคมนาคมจากสถาบันเทคโนโลยีและอาจารย์ที่เปิดร้านสอนวิชาซ่อมโทรศัพท์มือถือ แต่ไม่มีพยานผู้เชี่ยวชาญคนใดมาเบิกความเป็นพยานโดยตรงในศาลจากการศึกษาข้อมูล พูนสุขได้ทราบว่าหมายเลขอีมี่ประจำเครื่องโทรศัพท์นั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยง่ายโดยมีอุปกรณ์ Flshbox มีโปรแกรมเฉพาะที่มีขายและมีสอนกันตามโรงเรียสอนซ่อมโทรศัพท์มือถือทั่วไปสำหรับช่างที่มีความรู้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงแต่ต้องแก้ไขให้สัมพันธ์กับหมายเลขที่มีอยู่จริงในระบบถ้าหากมีหมายเลขเฉพาะเจาะจงที่ต้องการอยู่แล้วก็สามารถทำได้เลย- เขาเรียก Flash Box ครับ ก็ตามความหมายคือทำหน้าที่ Flash Firmwareส่วนใหญ่ใช้ใน Basic Phone รุ่นเก่าๆอีมี่แก้ไขได้ ปลดได้ แต่สมัยนี้ไม่มีใครทำกันแล้วครับ...เป็นความรู้ช่างรุ่นเก่าช่างไม่ได้ตอบอะไรผิด แต่เข้าใจว่าทนายไม่ได้ตามเรื่องนี้เท่าไหร่"เมื่ออัยการถามต่อว่า ในทางปฏิบัติแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายเลขอีมี่เพื่ออะไรพูนสุขได้ให้การว่า เมื่อก่อนเวลานำเข้าโทรศัพท์มือถือจากต่างประเทศซึ่งจะมีหมายเลขอีมี่จากต่างประเทศทำให้ใช้ในประเทศไทยไม่ได้ทำให้เจ้าของโทรศัพท์มือถือต้องนำไปเปลี่ยนแปลงเลขอีมี่ให้เป็นหมายเลขอีมี่กลางก่อน ซึ่งเป็นหมายเลขอีมี่ที่มีโทรศัพท์หลายเครื่องใช้ร่วมกันและกรณีที่ผู้มีเจตนาจะกระทำความผิดทางอาญาอาจปลอมแปลงหมายเลขอีมี่เพื่อไม่ให้สืบรู้ถึงตัวผู้กระทำความผิดได้"นี่ก็อีกอัน...ทำให้เห็นความรู้ไม่ลึกจริงอีกเรื่องของทนายอากงนั่นเป็นข้อมูลเก่ามากแล้วครับ ทุกวันนี้อีมี่ใครอีมี่มัน ต้องตรงกับข้างกล่องเพราะนั่นหมายถึงฐานข้อมูลในเรื่องของการรับประกันตัวเครื่อองทุกวันนี้โทรศัพท์เครื่องนอกก็หิ้วมาได้ โดยไม่ได้แก้ไขพวกอีมี่ดูกันแต่เรื่องการรองรับเน็ทเวิร์คเสียมากกว่า...เรื่องอีมี่ต้องอ่านละเอียดๆในสำนวนครับรั่วกันเพียบ...ทุกฝ่ายพูนสุขยัง อธิบายต่อถึงเว็บไซต์ numberingplan ที่ใช้ตรวจสอบหมายเลขอีมี่ซึ่งพยานโจทก์ปากที่หก คือ พ.ต.อ. ศิริพงษ์ ติมุลา ได้เบิกความถึงและทดลองเปิดในห้องพิจารณาว่าเว็บไซต์นี่เป็นฐานข้อมูลสามารถวิเคราะห์ได้ว่าหมายเลขอีมี่ที่ถูกต้องคืออะไรแต่ไม่สามารถบอกได้ว่าหมายเลขอีมี่แต่ละชุดมีจำนวนกี่เครื่องและถ้าหากหมายเลขหลักสุดท้ายผิดไปจากความจริงก็จะไม่ปรากฏรายละเอียดในฐาน ข้อมูลให้ - ประเด็นนี้ ผมปวดตับมาก... motorola รุ่นเก่านั้นนำเข้ามาโดยบริษัทแม่ motorola เองซึ่งช่วงระยะหลังได้มีการถอนตัวออกไป ทั้งศูนย์บริการและอื่นๆโดยเพิ่งมีการนำมาจำหน่ายแค่บางรุ่นผ่าน dealerถ้าจะเล่นประเด็นอีมี่จริง..เช็คที่สิงค์โปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้น่าจะได้อยู่ อย่างไรก็ตาม เรื่องการแก้ไขเลขอีมี่นี้ ศาลไม่ได้ทำการบันทึก เนื่องจากเห็นว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญนั่นล่ะครับ ... จุดที่พลาดของทนายซึ่งผมไม่เข้าใจว่า ทำไมไม่พุ่งไปประเด็นการยืนยันตัวตนของเจ้าของซิมการ์ดถ้าคุณทนายพูนสุขอ่านเจอข้อความผม..ผมยินดีเป็นที่ปรึกษาให้ก็ได้เลยเอ้าแต่อย่าใช้โอกาสอันน้อยนิดที่นั้นไปให้ถูกตีกลับมาเล้ย
- ปริศนา Motorola สีขาว
เป็นข้อสงสัยส่วนตัวครับ คือในสำนวนคดีนี้บอกว่าอากงใช้โทรศํพท์ Motorola สีขาว ซึ่งซื้อมานานแล้ว มีคนกระซิบบอกผมว่ารุ่นที่แกใช้เป็นรุ่น Rockr ซึ่งถ้าเป็นรุ่นนี้จริงก็น่าจะเป็นตัวนี้ motorola rockr e1
ซึ่งส่วนตัวนั่งค้นเผื่อไปอีก อาจจะเป็น Motorola ROKR E2 / W200 / WX280 /SLVR L6
สิ่งที่พวกนี้เป็นเหมือนๆ กันหมดคือ โทรศัพท์แนว โทรเข้า-โทรออก และจอเล็ก การพิมพ์ไทย ไม่ใช่ของง่ายสำหรับผู้สูงวัย คือถ้ามีการเปิดเผยว่าเป็นรุนไหนมันจะขนมกรุบมาก
อากงมีการโต้แย้งว่า ตนไม่มีรุ้เรื่องว่า SMS มันส่งยังไง
จริงๆผมกนึกย้อนกลับไปว่า ในกระบวนการพิจารณานั้น ได้มีการทดลองเครื่องในแง่การใช้งาน SMS หรือไม่ ก่อนที่การให้การข้อนี้จะตกไป.. เพราะส่วนตัวที่จับ Motorola มา มันส่ง SMS ไม่ง่ายดายนักสำหรับผู้สุงอายุ
นี่คือความเห็นของผมสั้นๆ
อากงส่งข้อความจริงมั้ยผมไม่รุู้ ก็เหมือนที่ศาลท่านสงสัยน่ะแหล่ะ แต่ผมก็มีสิทธิ์สงสัยเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเหมือนกันนะว่า
ท่านเองยังจำไม่ได้เลย ว่ารุ่นนี้มีแป้นไทยมั้ย
ท่านเองยังไม่รู้เกี่ยวกับอีมี่เท่าไหร่ แล้วท่านรู้อะไรมั่งเนี่ย..นอกจาก Cell Site ใกล้เคียงกันของสองเบอร์
เรื่องอื่นที่พอรู้ ก็เขียนไปละ
แต่แป้นไทยนี่ ถ้ารู้รุ่นเป๊ะๆผมว่าผมรู้คำตอบ..แต่ถึงรู้ไม่บอกท่านตำรวจนะ เพราะมันเป็นตัวบอกว่าท่านทำงานละเอียดพอมั้ยกับคดีละเอียดอ่อนแบบนี้
ไว้ผมนึกประเด็นเพิ่มได้..จะมาอัพเดทอีกรอบ
ถ้าอยากอ่านเรื่องราวแบบ emotion หน่อย
ก็อ่านที่นี่ http://blogazine.in.th/blogs/groomgrim/post/3310
อ่อ..เรื่องนี้เป็นข่าวในต่างแดนแล้วนะครับ http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-15850068
-update-
- ในเว็บข่าวชั้นนำอย่าง blognone ก็มีการถกประเด็นนี้ทางเท็คนิคลงลึกไปอีกครับ ลองอ่านกันดู ที่นี่
- เนื่องจากผมรู้กฎหมายไม่เป๊ะมาก แล้วบังเอิญเจอมีคนส่ง ที่คุณ @paiboona ทวีตเล่าในแง่กฎหมายของคดีนี้อยู่สั้นๆแต่น่าสนใจมาก ลองไล่ย้อนไปอ่านกันดูนะครับ จะได้ดูกันในอีกแง่มุม แหล่งข้อมูล https://plus.google.com/106003692905592334607/?prsrc=3#106003692905592334607/posts |