วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ลำดับเหตุการณ์การเมืองไทย ปี 2553 (ตอน3)

3 เมษายน 2553
มีการเคลื่อนขบวนมาปักหลักบริเวณแยกราชประสงค์ ซึ่งเต็มไปด้วยผู้ชุมนุมจำนวนมาก กระจายกันอยู่เต็มผิวจราจร ตั้งแต่แยกประตูน้ำ ด้านหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ต่อเนื่องไปจนถึงถนนราชดำริ โดยพิธีกรบนเวทีแจ้งว่า คืนนี้จะปักหลักชุมนุมข้ามคืน ที่แยกราชประสงค์

7 เมษายน 2553
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

8 เมษายน 2553
ภายหลังที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง มอบหมายให้กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปแจ้งให้ไทยคมระงับการแพร่สัญญาณภาพและ เสียงของสถานีประชาชน ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมปักหลักชุมนุมอยู่ที่บริเวณสถานีไทยคม ที่ตั้งอยู่ถนนรัตนาธิเบศร์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และสถานีไทยคม ซึ่งตั้งอยู่ถนนสายลาดหลุมแก้ว-วัดเจดีย์หอย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เพื่อเรียกร้องให้ยุติการระงับการเผยแพร่สัญญาณ

9 เมษายน 2553
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า องค์กรผู้ สื่อข่าวไร้พรมแดนออกแถลงการณ์ประณามการปิดกั้นสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีเพิลแชนแนลและเว็บไซต์ 36 เว็บไซต์ของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยระบุว่าการปิดกั้นสื่อมวลชนที่ทั้งเป็นกลางและสื่อที่มีความเห็นไปในทาง เดียวกับฝ่ายค้าน ทำให้อาจเกิดความรุนแรงได้

กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปยังสถานีไทยคม ซึ่งตั้งอยู่ถนน สายลาดหลุมแก้ว-วัดเจดีย์หอย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เพื่อเรียกร้องให้ยุติการระงับการเผยแพร่สัญญาณการออกอากาศของสถานีประชาชน โดยได้มีการนำกองกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา แต่ไม่บรรลุผล จากนั้นเหตุการณ์ได้สงบลงภายในเวลา 15 นาที โดยแกนนำพยายามควบคุมมวลชนไม่ให้บุกเข้าไปภายในตัวอาคาร จนกระทั่งมีการเจรจาให้ทหารถอนกำลังเดินแถวออกจากสถานีไทยคม ท่ามกลางเสียงโห่ร้องดีใจของผู้ชุมนุม

นอกจากนี้ได้มีการนำอาวุธที่ได้ยึดมาจากทหาร ที่ประกอบด้วยปืนเอ็ม 16, ปืนลูกซองยาว พร้อมลูกระเบิดแก๊สน้ำตา หมวกกันน็อค เสื้อเกราะ โล่ กระบอง มาให้สื่อมวลชนได้ถ่ายภาพเอาไว้ รวมทั้งยังมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตาอีกจำนวนหนึ่งจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุม หลังจากที่มีการยืนยันว่าทางสถานีประชาชนจะมีการออกอากาศอย่างแน่นอน กลุ่มผู้ชุมนุมจึงเคลื่อนขบวนกลับไปยังที่ตั้ง

22.20 น.ได้มีการเข้าระงับการออกอากาศของทางสถานีอีกครั้ง

10 เมษายน 2553
รัฐบาลได้นำกองกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมของประชาชนบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
13.00 น. เจ้าหน้าที่ได้ฉีดน้ำออกจากกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 1 และพยายามปิดประตู พร้อมขึงรั้วลวดหนาม นอกจากนี้มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ได้ใช้แก๊สน้ำตายิงด้วย ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ถอยร่นออกมาบริเวณสนามเสือป่า พยายามปาท่อนไม้และสิ่งของตอบโต้ นอกจากนี้ยังเกิดเสียงดังขึ้นเป็นระยะๆ ซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นระเบิดเสียง ทำให้ผู้ชุมนุมแตกตื่นวิ่งหนี

13.10 น. กลุ่มเสื้อแดงได้กลับมารวมตัวอีกครั้ง แกนนำบนรถปราศรัยได้ประกาศว่า นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กำลังเดินทางตามมา โดยกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้เดินเก็บท่อนไม้ที่เหลือจากการจัดงานกาชาดเตรียมพร้อมไว้แล้วด้วย

13.45 น. เกิดเหตุชุลมุนที่แยกพาณิชยการ ใกล้ทำเนียบรัฐบาลและกองทัพภาคที่ 1 โดยเจ้าหน้าที่ทหารได้ใช้น้ำฉีดผู้ชุมนุมที่ปิดล้อมแยกดังกล่าว จากนั้นได้ยิงแก๊สน้ำตา และยิงกระสุนยางใส่ผู้ชุมนุมเป็นระยะ ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงบางคนได้รับบาดเจ็บและแตกฮือสลายการชุมนุมจากแยกพาณิช ยการ จากนั้นทหารนำรถที่กลุ่มผู้ชุมนุมจอดขวางออกนอกพื้นที่ และเดินจากแยกพาณิชยการมุ่งหน้าเข้าถนนราชดำเนิน

14.00 น. ทหารได้ทยอยยึดถนนราชดำเนินได้บางส่วน โดยตรึงกำลังตามสี่แยกต่างๆ ตั้งแต่กอง บัญชาการกองทัพภาคที่ 1 แยกมิสกวัน และสะพานมัฆวานรังสรรค์ ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมต่างถอยร่นไปรวมตัวที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ และพยายามจอดรถขวางทางเพื่อสกัดทหาร

14.20 น. บริเวณการชุมนุมคนเสื้อแดงบริเวณแยกมิสกวัน โดยทหารได้ใช้แก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม อย่างไรก็ตามเกิดโต้ล้มทำให้พัดย้อนกลับไปโดนทหารเช่นกันและมีผู้ชุมนุมบาง ส่วนได้ขว้างกลับมาเช่นกัน ทางด้านบริเวณคลองผดุงกรุงเกษมทหารได้รุกคืบฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุมพร้อมกับได้จับผู้ปราศรัยบนเวที ขณะเดียวกันทางผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงได้ปรับขบวนด้วยการใช้พระสงฆ์ออกมาตั้งแนวป้องกันการรุกคืบของทหาร

15.00 น. มีกลุ่มเจ้าหน้าที่ทหารพร้อมปืนลูกซอง ปืนเอ็ม16 พกโล่พร้อมอาวุธครบมือ ได้ยืนตั้งแถวอยู่ตรงบริเวณสวนสาธารณะเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ฝั่งอรุณอมรินทร์

17.50 น. มีเฮลิคอปเตอร์บินวนบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ และได้มีการปล่อยแก๊สน้ำตาลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ ลงมาเพื่อสลายการชุมนุม ขณะที่แกนนำได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมออกมารวมตัวกันที่หน้าเวที พร้อมกับปลุกระดมให้ต่อสู้และดูสถานการณ์ต่อไป ขณะที่ผู้ชุมนุมได้มีการปล่อยลูกโป่งและโคมลอยเพื่อรบกวนการบินของ เจ้าหน้าที่บนเฮลิคอปเตอร์แต่ไม่มีผลแต่อย่างใด แก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ทิ้งลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ตกลงมาที่ด้านหลังเวที ซึ่งมีสื่อมวลชนปักหลักทำข่าวอยู่เป็นจำนวนมากทำให้แตก ตื่นหาที่หลบแก๊สน้ำตา และอีกจุดทิ้งไปที่ด้านหน้าเวทีซึ่งมีผู้ชุมนุมรวมตัวอยู่ค่อนข้างหน้าแน่น

21.00 น. มีการปะทะกันอย่างต่อเนื่อง ระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในบริเวณต่างๆ ใกล้กับที่ชุมนุม เช่น ถนนดินสอ ช่วงวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และถนนตะนาว ช่วงแยกคอกวัว ฝั่งเชื่อมต่อถนนข้าวสาร โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 27 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 1,427 ราย
11 เมษายน 2553
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บตามโรงพยาบาลต่างๆ โดยนายสมชาย กล่าวว่าขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะหลีกเลี่ยงไม่ได้

12 เมษายน 2553
10.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนแห่ศพผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมออกจาก สะพานผ่านฟ้าลีลาศ โดยขบวนประกอบด้วยรถยนต์บรรทุกโลงศพจำนวนทั้งสิ้น 17 คัน พร้อมด้วยขบวนรถจักรยานยนต์และผู้ชุมนุม ที่เดินเท้าตาม ทั้งนี้ในจำนวนโลงศพทั้งหมด 16 โลง มีเพียง 2 โลงที่มีศพอยู่จริงส่วนที่เหลือจะเป็นโลงเปล่าเพราะศพทั้งหมดถูกนำไปชันสูตร ที่สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งผู้ชุมนุมได้นำธงชาติไทยมาคลุมโลงศพพร้อมรูปผู้เสียชีวิต อย่างไรก็ตามในบริเวณพื้นที่ชุมนุมสะพานผ่านฟ้าลีลาศและแยกราชประสงค์ยังคง มีกลุ่มผู้ชุมนุมปักหลักอยู่และไม่เดินทางร่วมไปกับขบวน เนื่องจากก่อนหน้านี้แกนนำผู้ชุมนุมได้ประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนปัก หลักอยู่ที่เวทีชุมนุมทั้งสองจุด เพื่อป้องกันการเข้าสลายการชุมนุม

19.30 น. นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่าขอให้กลุ่มคนเสื้อแดงเดินหน้าต่อสู้กันต่อไป วันนี้ถือว่าได้ประชาธิปไตยมาแล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เต็มที่ทั้งหมด แต่ก็ถือว่าเป็นการต่อสู้ที่ประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง เหลือเพียงไม่นานก็จะประสบความสำเร็จ เพื่อประเทศชาติ เพื่อคนรุ่นหลังต่อไป

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการปะทะกันของเจ้าหน้าที่ทหาร และกลุ่มผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นผู้ที่จะต้องรับผิดชอบมีคนเดียว คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นบุคคลที่ขาดสำนึกความเป็นผู้นำ ปฏิเสธที่จะเข้าใจถึงปัญหาของคนในชาติ ตนไม่เคยพบเห็นการใช้กำลังติดอาวุธเข้าปราบปรามประชาชน ไม่เคยเห็นความรุนแรง และกระทำอย่างขาดความสำนึกเช่นนี้

14 เมษายน 2553
ยุบเวทีใหญ่ที่ผ่านฟ้าเพื่อไปรวมกันที่แยกราชประสงค์ และเปิดเส้นทางจราจร เนื่องจากทางแกนนำไม่ต้องการให้เกิดการปะทะ และเป็นการคืนพื้นที่ให้ตามที่รัฐบาลเรียกร้อง

15 เมษายน 2553
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวว่า หลังการชุมนุมผ่านมา 3 วันทุกอย่างเรียบร้อยปกติ ซึ่งผู้ชุมนุมมีการยื่นเวลาให้ตนยุบสภาภายใน 24 ชั่วโมง ตนได้เชิญหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลและผู้แทนพรรคร่วมรัฐบาลมาหารือซึ่งเห็นร่วมกันว่าไม่ควรมีการยุบสภา

การย้ายมาชุมนุมที่แยกราชประสงค์สำนักนายกรัฐมนตรีได้ยื่นคำร้องขอให้ศาล ไต่สวนเพื่ออกมาตรการบังคับให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ถนนราชดำริ โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนฟังได้ว่าการกระทำของแกนนำทั้ง 5 และผู้ร่วมชุมนุมเป็นการปิดกั้นกีดขวางเส้นทางคมนาคมและการใช้ยานพาหนะของ ประชาชนทั่วไป ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสำคัญ รวมทั้งเกิดความเดือดร้อนต่อการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตของประชาชน จึงเป็นการจำกัดเสรีภาพการเดินทางของประชาชนที่จะใช้เส้นทางสาธารณะและกระทบ ต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพการชุมนุมที่เกินกว่าขอบเขตของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ม.34 และ 63 บัญญัติไว้ ดังนั้นเมื่อ ผอ.รมน.โดย ผอ.ศอ.รส. รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่แทน ได้อาศัยอำนาจตาม มาตรา 18 พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ออกข้อกำหนดและข้อประกาศห้ามแกนนำทั้งห้าและผู้ชุมนุมทั้งหมดออกจากพื้นที่ ที่ชุมนุมแล้ว ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวจึงมีสภาพบังคับอยู่ในตัว และเมื่อมีประกาศใช้แล้วย่อมมีผลบังคับได้ทันที ไม่จำเป็นต้องมาร้องขอให้ศาลออกคำบังคับตามข้อกำหนดดังกล่าวอีก ศาลจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องฝ่ายสนับสนุนการชุมนุม

16 เมษายน 2553
ช่วงเช้าเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยอรินทราช บุกเข้าปิดล้อมโรงแรมเอสซีปาร์ค ล้อมจับแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม ประกอบด้วยนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง, นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์, นายพายัพ ปั้นเกตุ, นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก และนายวันชนะ เกิดดี

โดยนายอริสมันต์ได้โรยตัวออกทางระเบียง โดยมีกลุ่มผู้ชุมนุมกว่า 100 รายคอยให้ความช่วยเหลือได้สำเร็จ หลังจากนั้นนายอริสมันต์นำกลุ่มคนเสื้อแดงไปล้อมเจ้าหน้าที่อีกชั้น ชิงตัวแกนนำคนอื่นๆออกมาได้ในที่สุด และ ได้ทำปิดล้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไปปฏิบัติการในครั้งนี้อีกชั้น และให้กลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าช่วยเหลือเหล่าแกนนำอีก 5 คนที่เหลือ จนสามารถช่วยเหลือนายสุภรณ์ และนายเจ๋งออกมาได้ อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ครั้งนี้ ทำให้ทางโรงแรมได้รับความเสียหายบางส่วน ขณะที่การจราจรโดยรอบต้องปิดไปโดยปริยาย

นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำผู้ประสานงานกลุ่มประชาชนพิทักษ์ชาติ และกลุ่มเฟสบุ๊คต้านยุบสภา เดินทางมาให้กำลังใจการปฏิบัติหน้าที่ของทหาร ที่บริเวณด้านหน้า กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์

18 เมษายน 2553
กลุ่มคนเสื้อหลากสี อันประกอบด้วย เครือข่ายประชาชนพิทักษ์ชาติ และเครือข่ายเฟซบุ๊ก เดินทางมารวมตัวกันที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อร่วมเป็นกำลังใจให้รัฐบาลทำหน้าที่ พร้อมทั้งคัดค้านการยุบสภา และแสดงออกไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง

21 เมษายน 2553
พนักงานบริษัทย่านสีลม ได้รวมตัวกันภายใต้ชื่อ เครือข่าย ประชาคมชาวสีลม ออกมาชุมนุมในช่วงเวลาพักเที่ยงต่อต้านการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง พร้อมทั้งมอบอาหารและน้ำให้กับทหารและตำรวจที่มาดูแลรักษาความปลอดภัย

กลุ่มคนเสื้อแดงรวมตัวชุมนุมบริเวณสถานีรถไฟขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อสกัดไม่ให้ขบวนรถไฟลำเลียงทหาร อาวุธและยานพาหนะกว่า 20 โบกี้ออกจากสถานี เนื่องจากเกรงทหารจะเข้าร่วมสลายการชุมนุมในกรุงเทพฯ
22 เมษายน 2553
ได้เกิดเหตุระเบิด 5 ครั้งบริเวณถนนสีลม โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ระหว่างที่กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ (นปช.) รวมตัวการชุมนุมอยู่แยกศาลาแดงฝั่งถนนสีลม ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของตำรวจ โดยเสียงระเบิดดังขึ้น 3 ครั้ง ที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง หลังเสียงระเบิดดังขึ้น ประชาชนที่อยู่บนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสศาลาแดงได้วิ่งหลบหนีออกจากบริเวณดัง กล่าว ขณะที่ด้านล่าง จุดที่มีการชุมนุมของกลุ่มต่อต้านนปช.ก็เกิดความโกลาหลเช่นกัน

20.30 น. ระเบิดลูกที่ 4 ได้ระเบิดขึ้นบริเวณหน้าโรงแรมดุสิตธานี ใต้ทางเดินลอยฟ้าเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือสกายวอล์ก

20.45 น. ระเบิดลูกที่ 5 ก็ระเบิดขึ้นที่หน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาศาลาแดง

ทั้งนี้ เหตุระเบิดที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้บาดเจ็บทั้งหมด 87 คน สาหัส 3 คน โดยผู้บาดเจ็บถูกส่งไปรักษาตัวตามโรงพยาบาลต่าง ๆ โดยรอบบริเวณการชุมนุม มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 3 คน

24 เมษายน 2553
18.00 น. นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช.แดงทั้งแผ่นดิน กล่าวบนเวทีปราศรัย โดยกล่าวว่า สืบเนื่องจากการที่กลุ่มนปช.แดงทั้งแผ่นดิน ได้ประกาศจุดยืนและเจตนารมณ์เพื่อปกป้องรักษาทุกชีวิต เพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ และเสียชีวิต ดังเหตุการณ์วันที่ 10 และ 22 เมษายน ที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท นปช.แดงทั้งแผ่นดิน จึงจำเป็นต้องปรับยุทธวิธี เพื่อรองรับสถานการณ์ที่เหมาะสมโดยยังยึดแนวทางที่สันติวิธี

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน กล่าวต่อว่า หลังจากที่ทาง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เลือกที่จะปิดประตูการเจรจากับทาง นปช. ชัดเจนว่า ทางนายกรัฐมนตรีได้ตัดสินใจหันหลังให้แนวทางสันติวิธีเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ขอประกาศโดยชัดเจนว่า นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ขอให้นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาโดยทันที รวมทั้งยังขอประกาศมาตรการรับมือ โดยยึดแนวทางที่สันติวิธี คือ

1. ขอให้กลุ่มผู้ชุมนุมถอดเสื้อสีแดง และวางสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเป็น นปช. ทิ้งออกตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อมาเป็นนักรบนอกเครื่องแบบ จนกว่าจะได้รับชัยชนะจนกว่าจะได้รับประชาธิปไตยจากรัฐบาลกลับคืนมา
2. ขออาสาสมัครจักรยานยนต์ไปประจำด่าน ทั้ง 6 ด่าน จำนวนด่านละ 2 พันคัน
3. ขอให้คนเสื้อแดงทั่วประเทศคอยสังเกตการณ์กองกำลังทหาร และตำรวจที่พยายามจะเข้ามาในกรุงเทพฯ หากพบก็ขอให้ยึดปฏิบัติการขอนแก่นโมเดลทันที ยึดแนวทางสันติวิธี
4. ขอให้กลุ่มคนเสื้อแดงกระทำและปฏิบัติตัวอย่างใดก็ได้ตามอิสระเสรี
5. ขอให้พี่น้องเสื้อแดงทุกคนจับกลุ่มย่อยละ 5 คน แลกเบอร์ และทำความรู้จักกันไว้ เพราะเมื่อเกิดสถานการณ์ใดขึ้น จะได้เป็นช่องทางในการสื่อสารถึงกันได้

นายณัฐวุฒิกล่าวอีกว่ามาตรการทั้งหมดนี้ เป็นมาตรการที่เตรียมไว้รับมือกับนายอภิสิทธิ์ เชื่อว่าภายใน 48 ชั่วโมงนี้ นายอภิสิทธิ์ได้เตรียมการที่จะสลายการชุมนุม ดังนั้น จึงขอเชิญชวนพี่น้องเสื้อแดงที่รักประชาธิปไตย ที่อาศัยอยู่ทั่วประเทศ เดินทางเข้ามาชุมนุมที่พื้นที่ราชประสงค์เพื่อประกาศให้นายกรัฐมนตรีได้รู้ ว่าไม่ต้องการรัฐบาลที่มาจากอำมาตย์อีกต่อไปแล้ว และต่อจากนี้ให้เรียกกลุ่มคนเสื้อแดงใหม่ว่า กลุ่มคนไม่มีสี ไม่มีเส้น

25 เมษายน 2553
ความเคลื่อนไหวในรูปแบบ "ขอนแก่นโมเดล" ได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ โดยที่จังหวัดอุดรธานี นายวิเชียร ขาวขำ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ได้เป็นแกนนำคนเสื้อแดงมาตั้งด่านสกัดเจ้าหน้าที่ตำรวจถึง 3 จุด โดยเฉพาะที่อำเภอโนนสะอาด โดยอ้างว่าเพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องในกรุงเทพฯ ในขณะที่วิทยุชมรมคนรักอุดรก็ได้ประกาศเชิญชวนให้มาสกัดการ เคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ พร้อมให้เรียกระดมพลให้เข้าร่วมชุมนุมที่ราชประสงค์ ที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ก็มีการตั้งด่านของคนเสื้อแดงเช่นกัน โดยได้ตั้งด่านมาตั้งแต่คืนวันที่ 24 เมษายน นอกจากการตั้งด่านสกัดเจ้าหน้าที่แล้ว บรรดาคนเสื้อแดงยังได้มีการปล่อยลมยางรถทหารและรถตำรวจที่จะมีการเคลื่อน ขบวนเข้ากรุงเทพฯ ด้วย ซึ่งน่าสังเกตว่าในหลายจังหวัดกลุ่มผู้ชุมนุมก็น้อยกว่าเจ้าหน้าที่ แต่กลับไม่สามารถนำกำลังเจ้าหน้าที่มายังส่วนกลางได้

28 เมษายน 2553
09.30 น. นายขวัญชัย ไพรพนา แกนนำ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน เปิดเผยภายหลังการประชุมแกนนำว่า ในเวลา 10.30 น. จะเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมไปยังตลาดไท เพื่อให้กำลังใจมวลชนคนเสื้อแดงที่ปักหลักอยู่ที่นั่น โดยให้มวลชนที่ต้องการจะร่วมขบวนไปรวมตัวที่ศาลาแดงแล้วร่วมเดินทางไปรถปิคอัพจำนวน 150 คัน เพราะว่าก่อนหน้านี้ได้ข่าวว่าจะมีการขนอาวุธเข้ามาในกรุงเทพฯเพื่อปราบปราม ประชาชนจึงเป็นภารกิจที่เสื้อแดงจะต้องสกัดกั้นเอาไว้

13.00 น. กลุ่มคนเสื้อแดงได้เคลื่อนพลถึงฐานทัพอากาศ ดอนเมืองนายขวัญชัยได้สั่งให้ขบวนหยุดเนื่องจากพบว่า มีตำรวจและทหารตั้ง ด้านสกัดอยู่และให้กลุ่มมอเตอร์ไซค์ไปดูพร้อมให้ถอยกลับมาก่อน โดยทหารมีการเตรียมพร้อมตั้งแถวพร้อมอุปกรณ์ปราบจลาจลและทั้งสองฝ่ายปักหลัก กันอยู่มีช่องว่างห่างกันประมาณ 2 กิโลเมตรทั้งนี้ทหารได้ขอความร่วมกับสื่อมวลชนให้ออกนอกพื้นที่ปฏิบัติงาน หลังจากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมได้เคลื่อนพลออกจากหน้าฐานทัพอากาศดอนเมืองมุ่ง หน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติเรียบร้อยแล้วหลังจาก หยุดเจรจาแล้วไม่เป็นผลและเจ้าหน้าที่ได้ยิงกระสุนยางเข้าใส่ทำให้ผู้ชุมนุมต้องถอยร่น

นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ได้ขึ้นปราศรัยที่เวทีการชุมนุมสี่แยกราชประสงค์ โดยประกาศขอให้ผู้ชุมนุมไม่ต้องตกใจกับสถานการณ์ที่ดอนเมืองและรังสิต พร้อมกับให้นายขวัญชัยนำมวลชนเดินทางกลับมาตั้งหลักที่ราชประสงค์เพื่อกำหนด ท่าทีกันอีกครั้ง

14.20 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้จับกุมผู้ชุมนุมบริเวณโรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยากว่า 10 คน

14.40 น. เจ้าหน้าที่ทหารเริ่มยิงกระสุนยางใส่ผู้ชุมนุมหลายสิบนัดตั้งแต่อนุสรณ์สถาน แห่งชาติถึงโรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยาดอนเมืองขณะที่ประชาชนที่จอดรถสัญจรไป มาบนถนนวิภาวดีรังสิตได้ลงมาจากรถเพื่อหาที่ปลอดภัยหลบกระสุนยางของเจ้าหน้าที่

15.00 น. เสียงปืนบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ซึ่งเป็นจุดปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมที่กำลังมุ่งหน้าไปยังตลาดไท ได้สงบลงแล้ว

16.10 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงยอดผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์บริเวณหน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติว่า จากรายงานของสถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เบื้องต้น มีผู้บาดเจ็บ 16 ราย ในจำนวนนี้ 10 ราย ส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมีสาหัส 1 ราย บาดเจ็บที่ช่องทองต้องเข้ารับผ่าตัด และอีก 3 ราย เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลแพทย์ รังสิต ซึ่งก็มีสาหัส 1 รายที่ต้องผ่าตัดเช่นกัน เนื่องจากถูกยิงที่หน้าอก

17.00 น. ที่ถนนวิภาวดี 47 เจ้าหน้าที่ทหารมีการผลักดันกับผู้ชุมนุมรอบที่ 2 ระหว่างนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ทหารชุดเคลื่อนที่เร็วขับรถมอเตอร์ไซค์ ลงมาจากโทลล์เวย์ทำให้เจ้าหน้าที่ทหาร ทางด้านล่างเกิดการเข้าใจผิดยิงปืนกระสุนจริงและกระสุนยางเข้าใส่จนทำให้ เจ้าหน้าที่ทหารบาดเจ็บ 1 ราย ขณะที่ทหารบางส่วนได้ถอยร่นกลับไปที่หน้าโรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยาดอนเมือง ฝั่งขาออกซึ่งขณะนี้ได้เปิดให้บริการแล้ว 1 ช่องทาง เพื่อให้รถขาออกได้เคลื่อนตัวไปได้

สำนักข่าวต่างประเทศ เช่น ซีเอ็นเอ็นและบีบีซีรายงานเหตุการณ์ปะทะกัน ระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารและกลุ่มผู้ชุมนุม ที่บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ โดยอ้างว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์เอราวัณเปิดเผยมีจำนวนผู้ชุมนุมบาดเจ็บอย่างน้อย 16 รายระหว่างการปะทะกัน ขณะที่มีเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 1 ราย จากกระสุนปืนของเพื่อนทหารพวกเดียวกันเอง โดยทหารคนดังกล่าวคือ พลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ ถูกยิงเข้าทะลุหมวกเข้าที่ศีรษะเหนือคิ้ว ซึ่งศพยังอยู่ในร้านค้าสวัสดิการภายในอนุสรณ์สถานแห่งชาติ

29 เมษายน 2553
นายพายัพ ปั้นเกตุ แกนนำ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน กล่าวว่าตนได้ไปตรวจสอบภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากมีบุคคลอ้างว่าภายในตึกโรงพยาบาลยังมีกำลังทหารพร้อมอาวุธสงคราม และปืนสไนเปอร์อยู่ครบมือ หากไม่ถอนกำลังทหารออกไปให้หมดภายในคืนนี้ ตนพร้อมจะนำสื่อมวลชนและกลุ่มคนเสื้อแดงไปตรวจสอบที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทันที เพื่อไปขอพื้นที่โรงพยาบาลคืนให้กับประชาชนรวมทั้งในพื้นที่สวนลุมพินีมีเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 7 กองร้อยและในถนนสีลม ไม่ว่าจะเป็นตึกซีพี หรือธนาคารกรุงเทพ สาขาสีลมก็มีกำลังทหารจำนวนมาก ซึ่งภายหลังได้มีการยืนยันออกมาว่า ไม่ได้มีกำลังทหารตามที่ได้ถูกกล่าวอ้างแต่อย่างใด

19.00 น. นายพายัพ พร้อมทีมรักษาความปลอดภัย เดินทางไปถึงโรงพยาบาล เพื่อขอตรวจสอบตึกในโรงพยาบาล เนื่องจากเกรงว่าอาจมีทหารซุ่มอยู่ตามตึก อย่างไรก็ตาม นายพายัพได้เจรจากับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะให้การ์ดเดินแถวเรียงหนึ่ง ตรวจตึก แต่เมื่อเจ้าหน้าที่อนุญาตให้เข้าไป การ์ดเสื้อแดงกลุ่มใหญ่ได้กระจายเข้าค้นทั่วโรงพยาบาล

30 เมษายน 2553
นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ได้ออกมาขอโทษเหตุการณ์ดังกล่าว โดยอ้างว่าไม่ใช่มติของแกนนำ และเป็นการกระทำไม่เหมาะสม พร้อมทั้งระบุว่ายินดีให้ความสะดวกกับทางโรงพยาบาลในทุกด้าน รวมทั้งจะไม่มีการเข้าไปภายในโรงพยาบาลเพื่อตรวจค้นอีก นอกจากนี้ แกนนำ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ยังชี้แจงว่าการเข้าไปตรวจค้นโรงพยาบาลเป็นการตอบคำถามของสื่อมวลชน ที่มีข่าวว่าทหารซุ่มอยู่ในอาคาร นายพายัพจึงเข้าไปเพื่อตรวจดูว่ามีทหารอยู่จริงหรือไม่ ตนนึกว่าจะไปแค่กับสื่อ และไม่คิดว่าจะพามวลชนเข้าไปด้วย ต่อจากนี้ขอยืนยันว่า จะห้ามคนเสื้อแดงที่ไม่ได้มีอาการบาดเจ็บ เข้าโรงพยาบาลจุฬาฯ เด็ดขาด โดยยังยึดแนวทางไม่เข้าไปรบกวนโรงพยาบาลหรือสถานที่ราชการ

ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน แถลงว่า ขออภัยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมทั้งประชาชน อีกครั้ง ยืนยันจะไม่มีการเข้าไปภายในโรงพยาบาลอีก ขณะเดียวกันชี้แจงเหตุที่เข้าไปตรวจค้นภายในโรงพยาบาลจุฬาฯ เนื่องจากไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่ทหาร พร้อมยอมรับเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของหลายฝ่าย ยืนยันไม่มีความตั้งใจจะสร้างให้เกิดภาพเหมือนเป็นการข่มขู่ อยากให้เข้าใจความรู้สึกของคนที่ตกเป็นเหยื่อ จึงมีความจำเป็นต้องดูแลความปลอดภัยของประชาชนให้ดีที่สุด

ด้านนายพายัพ ปั้นเกตุ อ้างว่า จากการสังเกตการณ์หลายวัน พบว่ามีการเคลื่อนไหวของทหารในโรงพยาบาลจริง จึงต้องการเรียกร้องโรงพยาบาล และบริษัทเอกชนที่มีอาคารสูงรอบพื้นที่การชุมนุม อย่าให้เจ้าหน้าที่ทหารใช้พื้นที่หรือให้ที่พักพิง