วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พระเอกเสื้อแดงตัวจริง



"จะปรองดอง 






พระเอกเสื้อแดงตัวจริง


"การปรองดอง ต้องเริ่มที่ ความจริงครับ"
เอาความจริงมาวางบนโต๊ะ ..คลี่ออกมา หาความยุติธรรม
จากอำนาจผลพวงรัฐประหาร กันยา 2549

ความผิดอยู่ที่คนของเรา

บทความ: พรรคร่วมไม่ได้ตีจากเรา สส เพื่อไทย 17 เสียงนั่นเองที่ไม่โหวตเองเรื่องคำสั่งศาล

โดย เสรีชนประชาไท
ที่มา ประชาทอล์ค 
13 มิถุนายน 2555

ข้อมูลชัดเจน ใครจะเถียงอีก พรรคร่วมไม่ได้ตีจากเรา สส เพื่อไทย 17 เสียงนั่นเองที่ไม่โหวตเองเรื่องคำสั่งศาล นี่เรายังจะหลอกตัวเองเรื่องเสียงไม่พออยู่อีกหรือ?

ข้อมูลที่ได้ชัดเจนแล้วว่า พรรคร่วมไม่ได้หักดิบเรา เราน่ะหักดิบตัวเอง และผู้นำของเราลอยตัว ตรวจสอบเสียงแล้ว พรรคร่วมไม่ออกเสียงหรือไม่มาเพียง 11 (จำนวนนี้พรรคชาติไทยมากสุด 8 คนไม่โหวต) ส่วนพรรคเราไม่ออกเสียงหรือไม่มาถึง 17 จะให้คิดว่าใครหักหลังครับ

หนนี้ รัฐสภามี 644 เราต้องการเสียงกึ่งหนึ่งคือ 323 ไม่ใช่ 325 ด้วย แต่โหวตว่าจะเลื่อนพิจารณารับทราบคำสั่งศาลไหมได้ 318 ขาดเพียงห้าเสียง

ความผิดอยู่ที่คนของเรา

น่าสนใจก็คือ หนึ่งในสามที่ไม่ลงคะแนนคือ สส.เพื่อไทย อุดรฯ นางเทียบจุฑา ขาวขำ ส่วนนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ กับนายจิรวัฒน์ ศิริพานิช ส.ส.มหาสารคาม ที่นั่งอยู่ในห้องประชุมด้วย แต่ไม่ยอมออกเสียงลงคะแนน

และมี ส.ส.เพื่อไทยที่ไม่ร่วมออกเสียงอีก 17 คน 3 คนไปตรวจน้ำท่วม นายกคนสวย/ มท. ยงยุทธ/ ปลอดประสพ ไม่มาประชุม

แล้วอีก 14 คน ไม่ทราบว่าไปอยู่ที่ไหน !!!!

ชัดไหมครับข้อมูลนี้ เลิกซะทีกลับการหลอกตัวเองว่า ถึงขืนโหวตวาระสามเสียงก็ไม่พอ บ้านะซี พอถ้าเราไม่เบี้ยวกันเอง ต้องการอีก 5 เราหายไป 17 เฉพาะพรรคเพื่อไทยนะ แล้วจะให้มวลชนช่วยยังไง จะแก้ตัวให้ดูดี ต้องมีหลักฐานไม่ใช่เชื่อพวกนักการเมืองที่เห็นแก่ประโยชน์ตนเองมากกว่าราษฎร

เหอ หนักใจแทนทักษิณ ถ้าแบบนี้ อยู่เมืองนอกไปเหอะ ขืนยังอ่อนแอแบบนี้ เข้ามาก็พังเปล่าๆ แถมจะโดนลอบฆ่าอีก

ไม่ท้อ แต่โอกาสมีแล้วปล่อยหลุดลอย สุนัยอ้างเจรจาลับกับผู้ใหญ่อีกฝ่ายแล้ว ถ้าเขาหลอกอีกล่ะ โดนมาหลายรอบไม่รู้จำ

เหอ กรรม ผมเลิกกำดีกว่า สถานการณ์แบบนี้ อุเบกขาดีที่สุด เสียดายมาก โอกาสหลุดลอย !!!



วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แถลงการณ์กรณีศาลรัฐธรรมนูญสั่งระงับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

แถลงการณ์
กรณีศาลรัฐธรรมนูญสั่งระงับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

 





 
ด้วยความขอบคุณ
 http://resist12.blogspot.com/2012/06/blog-post.html
 
 

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เวลาแห่งการรอคอย มือที่มองไม่เห็นปะทะมือของประชาชน



(1)
Dual Power เวลาแห่งการรอคอย มือที่มองไม่เห็นปะทะมือของประชาชน
และแล้วเวลาแห่งการรอคอยที่จะเปลี่ยนประเทศให้เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แท​้จริง โดยมีอำนาจอธิปไตยสูงสุดมาจากมวลชนชาวไทยอย่างสมบูรณ์ก็ได้เปิดฉากขึ้นแล้ว ไม่คิดว่า พรบ. ปรองดอง ที่ถูกนำเข้าสู่การพิจารณาในสภา จะกลายเป็นชนวนที่ถูกจุดขึ้นเพื่อนำไปสู่ระเบิดประชาธิปไตยได้อย่างรวดเร็วเช่นนี้

การเร่งให้เกิดความขัดแย้ง ให้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางทั้งภายในสภา และภายนอกสภา ที่เกิดขึ้นจากพรรคประชาธิปัตย์ และ กลุ่มพันธมิตร อีกทั้งอำนาจของศาลที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วยนั้น เป็นการส่งสัญญาชัดเจนว่า มือที่มองไม่เห็นที่ปกครองประเทศนี้อยู่ ต้องการล้มรัฐบาลที่มาจากประชาชนลงให้จงได้

เมื่อปลายปี 2554 ก็มีความพยายามทำให้น้ำท่วมประเทศไทย เพื่อหวังจะให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศ และเป็นเหตุให้รัฐบาลที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ต้องล้มลงไปเพราะไม่สามารถบริหารประเทศได้​ แต่ด้วยการบริหารจัดการอย่างยอดเยี่ยม การร่วมมือร่วมใจของท่านนายกยิ่งลักษณ์ และประชาชนที่ช่วยกันสนับสนุนและช่วยเหลือกันและกันอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ทำให้สถานการณ์ทุกอย่างคลี่คลายไปได้ รัฐบาลยังคงบริหารงานได้ และยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไปสิ่งนี้ส่งผลให้ อำนาจของมือที่มองไม่เห็นที่ปกครองประเทศนี้อยู่เริ่มสั่นคลอน และมองดูด้วยความหวาดหวั่นต่ออำนาจของประชาชนที่เติบโตขึ้นอย่างไร้การควบคุม

ปูนนก
 
 
 
 
(2)
 
เวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยถูกปกครองด้วยอำนาจมืด ทำให้มีกลุ่มคนจำนวนเพียงหยิบมือที่มีอิทธิพล.. ร่ำรวย.. มีอำนาจ.. และปกครองประชาชนอยู่บนยอดสูงสุดของปิรามิดแห่งประเทศนี้ ประชาชนชั้นล่างผู้ทุกข์ระทมไม่เคยสามารถจะเข้าถึงโอกาสที่จะดำเนินชีวิตตามที่ตนเอง​ปรารถนา ทรัพยากร.. เศรษฐกิจ และการบริหารของประเทศนี้ถูกผูกขาดด้วยคนเพียงไม่กี่ตระกูล ที่สูบเลือดเนื้อ รีดนาทาเร้น ใช้อำนาจย่ำยีบีฑาผู้คนส่วนใหญ่ของประเทศให้ต้องทนทุกข์ทรมานมาอย่างยาวนาน

โดยอาศัย “ความเชื่อ..ความศรัทธาอย่างงมงาย” ประชาชนได้ถูกสั่งสอนให้ศรัทธาโดยปราศจากข้อสงสัย (หรือถ้าสงสัยก็ต้องตาย) ประชาชนต่างยื่นมืออันสั่นระริก ด้วยความหิว และสิ้นหวัง จบขึ้นเหนือศรีษะด้วยความเชื่อว่า จะได้กุศลผลบุญจากความเมตตาของเทวดาบนฟากฟ้าประทานลงมาให้เพื่อจะได้พ้นทุกข์โศกได้บ​้าง แต่น่าเศร้าสิ่งที่ประชาชนคิดว่ามองเห็นนั้นคือ เทวดา กลับกลายเป็น นกกระสาที่คอยจ้องจับกินกบที่อยู่ในบึงอย่างอิ่มเอม

วันที่ 19 กันยายน 2549 เมื่อสายพานของรถถังเคลื่อนเข้ายึดอำนาจการบริหารจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่า​งท่วมท้นของประชาชน ทำให้ประเทศทั้งประเทศ “ช็อค” กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะภายในปีเดี่ยวกันก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่เดือนคนไทยทั้งชาติต่างชื่นชมและภาคภู​มิใจกันถ้วนหน้าว่า “โชคดีที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เพราะได้อยู่ใต้ร่มพระบารมีของกษัตริย์ที่ทรงบุญญาบารมียิ่งใหญ่ไพศาลที่สุดในโลก และมีรัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีที่เก่งที่สุดในโลก” แต่ 3 เดือนให้หลังกองทัพไทยก็ยึดอำนาจรัฐบาลที่มีนายกที่ดีที่เก่งทีสุดในโลกเสียแล้ว

อำนาจมืดของมือที่มองไม่เห็นจะไม่ยอมให้ประชาชนมีอำนาจขึ้นมาเพื่อปกครองตนเองตามควา​มต้องการ จากวันนั้นถึงวันนี้เวลาผ่านไปกว่า 5 ปีสถานการณ์ได้ผ่านการต่อสู้อันปวดร้าว สูญเสียแม้กระทั่งชีวิต และทรัพย์สินมากมาย ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าประชาชนเริ่มเข้าใจถึงอำนาจและสิทธิที่ตนเองพึงมีพึงได้ และถูกแย่งชิงไปเช่นไร กระแสคนเสื้อแดงที่กำลังไหลบ่าท่วมท้นประเทศไทยในแทบทุกหัวระแหงขณะนี้ ได้กลายเป็นเหมือนกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากที่กำลังโถมทับ “อำนาจมืดของมือที่มองไม่เห็น” ให้จม และถูกกลืนหายไปในสายธารแห่งการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัฒน์

ปูนนก
 
 
 
(3)
การประท้วง และการปลุกระดมอย่างก้าวขวางที่เกิดขึ้นในเวลานี้ คือสิ่งบอกเหตุที่แสดงให้เห็นชัดแล้วว่า “อำนาจมืดจากมือที่มองไม่เห็น จะไม่ยอมปล่อยให้กาลเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงกลืนกินพวกเขาไปโดยไม่ต่อสู้อย่างแน่นอน พรรคการเมืองที่อ้างว่าเป็นพรรคของประชาชนอย่างประชาธิปัตย์ กล้าที่จะแสดงอาการ “ดิบ..ถ่อย..เถื่อน” ในสภาต่อหน้าประชาชนที่เฝ้ามองดูอยู่ทั้งโลก

กลุ่มพันธมิตรร่วมกลุ่มคนมาชุมนุมเป็นครั้งสุดท้าย และปลุกเร้าทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดการปะทะ และความวุ่นวายในประเทศให้ได้ พร้อมที่จะนำประชาชนที่มาชุมนุม “บุกยึดรัฐสภา..ดุจเดียวกับที่เคยบุกยึดทำเนียบรัฐบาล หรือสนามบินสุวรรณภูมิ” ครั้งก่อน ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้สภาผู้แทนราษฎรระงับการพิจารณาร่างแก้ไข รธน.มาตรา 291 แม้เป็นการกระทำที่ก้าวก่ายอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้แสดงให้เห็นแล้วว่า “มือที่มองไม่เห็น มันเอาเราแน่” เหมือนเป็นการปรามหรือขู่ให้ฝ่ายประชาชนยอมแพ้ เพราะถ้าไม่เช่นนั้น อาจจะมีการเคลื่อนกองทัพออกมายึดอำนาจอีกครั้ง

แต่ทว่างานนี้ผิดคาดครับ.. เพียงแค่ 2 วันที่มีการเรียกรวมพลคนเสื้อแดงให้ไปร่วมชุมนุมกันที่ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี แม้จะมีการประกาศเพียงแค่ 2 วันแต่คนเสื้อแดงก็ไป่ชุมนุมรวมตัวกันจนธันเดอร์โดมเต็มล้น และไม่พอที่จะนั่ง มีการประกาศผ่านสื่อออนไลน์ วิทยุชุมชน และเวปไซด์ของคนเสื้อแดงแทบทุกแห่ง ถึงการตอบโต้ถ้ามีการยึดอำนาจหรือล้มล้างรัฐบาลโดยมิชอบอีก

การชุมนุมของกลุ่ม พธม. ที่กำลังกระทำกันอยู่ ก็เป็นการชุมนุมที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดจากกำลังตำรวจปราบจลาจล ซึ่งครั้งนี้คงไม่เหมือนครั้งก่อนๆ อย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลเป็นฝ่ายชอบธรรม การกระทำใดๆ ที่เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายคงจะต้องถูกฝ่ายกฏหมายปราบปรามอย่างเฉียบขาดแน่นอน แม้จะมีคำกล่าวออกมาอีกว่า “อย่าทำอะไรคนของฉัน” ก็ตาม..

ปูนนก
 
 
 
(4)
คราวนี้ถ้าท่านนายกยิ่งลักษณ์ หรือท่านประธานสภาสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ปล่อยให้พวก พธม. เข้าไปยึดครองรัฐสภา เหมือนยึดครองทำเนียบเช่นครั้งก่อนโดยไม่ทำอะไร ทั้งสองท่าน และพรรคเพื่อไทยทั้งพรรค จะกลายเป็นจำเลยของสังคม และคนเสื้อแดงทั้งมวลจะหันหลังให้กับพรรคท่านทันที

จนถึงวันนี้ และขณะนี้ ผมเชื่อว่าคนเสื้อแดงผู้รักประชาธิปไตยทุกคน ก็ยังคงรักและฝากความหวังไว้กับพรรคเพื่อไทย และการนำของท่านนายกยิ่งลักษณ์ หรือแม้แต่ท่านนายกทักษิณ อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง และเชื่อว่าครั้งนี้ท่านนายกทักษิณ ก็คงมองออกแล้วว่า อำนาจของประชาชน หรือ Dual Power ได้เกิดขึ้นแล้ว และเป็นอำนาจที่ทัดเทียมกันเสียด้วย มันขึ้นอยู่กับว่าท่านจะเลือกใช้อำนาจของประชาชนนี้ให้ถูกต้องและถูกจังหวะเช่นไร

แม้ว่าท่านนายกทักษิณ ไม่ต้องการให้เกิดการปะทะ หรือการนองเลือด หรือการสูญเสียใดๆ แต่ถ้าถึงคราวที่จะต้องสูญเสียก็จะต้องทำ มิฉะนั้น ท่านนายกทักษิณ และพรรคเพื่อไทยทั้งพรรคนั่นแหละ จะกลายเป็นจำเลยของคนเสื้อแดงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และถ้าถึงวันที่คนเสื้อแดงหันไปหาความหวังจากที่อื่นก็จะไม่มีใครอีกเลยที่จะหันกลับ​มาหาท่านอีก.. พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นตัวอย่างที่ดีครับท่าน อย่าเป็นเช่นนั้นเลยครับ

ปูนนก
 
http://forum.banrasdr.com/showthread.php?tid=8937

ครึ่งทศวรรษ ความจริงวันนี้

วันเสาร์, มิถุนายน 02, 2012

พตท.ทักษิณ โฟนอินเวที  3เกลอร้อง "รู้เขาหลอกแต่เต็มใจให้หลอก"








ที่ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี ระหว่างการจัดงาน "ครึ่งทศวรรษ ความจริงวันนี้"เมื่อเวลา 16.50 น. วันที่ 2 มิถุนายน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี  ได้โฟนอินสดข้ามประเทศ เวทีรายการ พูดคุยกับกลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)  ท่ามกลางการต้อนรับของ นายวีระกานต์ มุวิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช. และผู้ดำเนินรายการความจริงวันนี้

พ.ต.ท.ทักษิณ   โฟนอินสวัสดี พี่น้องคนเสื้อแดง  พร้อมระบุ วันนี้สัญญาณไม่ดี  ไม่รู้เป็นอะไร มีแต่เสียง อุตส่าห์แต่งตัวหล่อ  จะไปโชว์ ที่เมืองไทยให้พี่น้องเสื้อแดงได้เห็นว่า ยังสบายดีอยู่  หลังจากโดนแล้วโดนอีก 

พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวกับนายณัฐวุฒิที่บอกว่า  อย่าเป็นหมูให้เขาหลอก  แต่บางทีก็ต้องร้องเพลง  ถึงเขาหลอกก็เต็มใจให้หลอก... บางทีบางครั้งก็โง่จริงบ้าง โง่ปลอมบ้าง ก็ว่ากันไป   พร้อมบอกว่า  พยายามลดโทนให้ไม่เครียดเกินไป  กำลังฝึกอยู่ ถ้าได้กลับเมืองไทย ไม่ว่าจะได้กลับตอนไหนตอน 85 หรือตอน 63 ก็ไม่รู้  ยังไงก็ต้องกลับ  

นอกจากนี้ อดีตนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวแบบอารมณ์ดีว่า  วันนี้อยากจะใช้คำพูดเบาๆ  แบบอารมณ์ดีบ้าง เพราะวันก่อนมีคนท้วงว่า อารมณ์เสียเกินไป  และเห็นโน้ส อุดม ออกเดี่ยวมาหลายรอบแล้ว  ก็อยากจะออกแฝดบ้าง  เป็นโน้สกับแม้ว  ก่อนจะเข้าเนื้อหาโฟนอิน ดังนี้

"คนร้ายเวลาทำแผนประทุษกรรมเหมือนๆ กันหมด  เวลานี้แผนประทุษกรรมเหมือนกันมากสมัยล้มผม  มาตอนนี้เริ่มอาการออกแล้ว แต่วันนั้นต้องอ่านหนังสือแบบเรียนเรื่องเรณูปัญญา  ตอนนั้นคนเรายังโง่อยู่ แต่วันนี้ไม่โง่แล้วนะครับ วันนี้รู้แล้วอะไรเป็นอะไร กระบวนการโค่นอำนาจประชาชนเริ่มอีกแล้ว

เมื่อวานนี้ (1 มิ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน...ถ้าคนเข้าใจกฎหมาย  จะรู้ว่าระเบียบต้องอ่อนกว่ากฎหมาย   กฎหมายจะเหนือกว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้เพราะเป็นกฎหมายสูงสุด    รองจากกฎหมาย เป็นกฤษฎีกา ซึ่งก็ต้องออกตามกฎหมาย ออกนอกกฎหมายไม่ได้  ระเบียบก็ต้องออกตามกฤษฎีกา หรือกฎหมายนั้นๆ  แต่วันนี้เอาระเบียบมาอยู่เหนือกฎหมาย 

วันนี้กติการบ้านเมืองไม่เหลือแล้ว  คนรักษากฎกติกาขาดคุณธรรมมันถึงได้เป็นอย่างนี้ จะใช้สองมาตรฐาน มันถึงไม่มีทางเลิกแตกแยกกันได้   ตราบใดที่กระบวนการไม่มีคุณธรรมในการรักษากติการับรองเลยว่าความแตกแยกบ้านเมืองจะเลวร้ายมากขึ้น

เราก็คิดว่า  ขนาดมีนายกฯ  ผู้หญิง (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)  ไม่ทะเลาะกับใคร  ขนาดคนที่มีความเป็นผู้ชายแต่เป็นผู้หญิงมากกว่าชวนทะเลาะ  ยังไม่ทะเลาะด้วยก็คิดว่าบ้านเมืองจะสงบสักที แต่ปรากฎว่าไม่สงบ เพราะไม่ถูกใจ  ถ้าขืนยังเล่นกันอย่างนี้ กระบวนการโค่นอำนาจ ก็ต้องบอกประชาชนว่าเราจะปล่อยให้โค่นหรือ   อำนาจของประชาชนเป็นอำนาจสูงสุด   ขอให้ช่วยกันดู สภาฯก็ต้องพิจารณาว่า ตกลงจะยอมรับอำนาจที่ไม่มีอำนาจหรือเปล่า ต้องไปหารือ

พี่น้องความขัดแย้งในบ้านเมืองนึกว่าจะจบทำยังไงดี อุตส่าห์กลืนเลือดคนละหยด สองหยด คนละปี๊บ สองปี๊บ  หวังจะมีการปรองดองในเมืองไทย แต่เห็นภาพในสภาฯ กระชากเก้าอี้  เริ่มตั้งรัฐธรรมนูญแล้ว  ก็แปรญัตติไม่มีอะไรกลัวทักษิณ กลัวผีทักษิณยังไม่ทันตาย ไม่รู้เป็นอะไร มาถึงกฎหมายปรองดอง ทีนี้ลากเก้าอี้ประธานเลย ไม่รู้พรรคประชาธิปัตย์จะเปลี่ยนชื่อเลย 

วันนี้รัฐบาลเพื่อไทยกำลังตั้งใจทำงานไปสร้างความเชื่อมั่นในประเทศต่างประเทศ เต็มที่ เศรษฐกิจเริ่มฟื้น มีการปล่อยข่าวเรื่องปฏิวัติเล่นๆ เผื่อมีความขัดแย้ง    วันนี้ เราไว้ใจอะไรไม่ได้เพราะกติกาไม่เป็นกติกา คนรักษากติกา ไม่มีคุณธรรม ไม่รักษากติกา

พรรคเพื่อไทยถือว่า การทำร้ายนักการเมืองพรรคเพื่อไทย  ความจริงแล้วมันส่งผ่านเป็นการทำร้ายประชาชน เพราะพรรคเพื่อไทยเป็นตัวแทนประชาชน  เป็นตัวแทนที่ประชาชนเลือกมา  ตามระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเลือกมาด้วยเสียงส่วนใหญ่    แต่เขามาทำอำนาจแทนประชาชน  การลงโทษแบบนี้ คือการทำร้ายประชาชน โครงการต่างๆของรัฐบาลกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี  ประชาชนกำลังกินดีอยู่ดี เงินกำลังสู่ระบบ ทั้งจำนำข้าว รถคันแรก บ้านหลังแรก เครดิตการ์ดเกษตรกร  ค่าแรงงาน 300 บาทเริ่มแล้ว  ทุกอย่างกำลังดำเนินไป พวกนี้ออกมาเพ่นพ่านอีกแล้ว 

เพราะฉะนั้นพี่น้อง  เรารักษากฎหมาย เป็นกฎหมาย กติกาต้องเป็นกติกา  เกมการเมืองวันนี้ ถ้าเราเล่นเกมในรูปแบบเพราะประชาชนเลือกมา   แต่เกมนอกรูปแบบเราไม่มีตัวช่วย  เราต้องเล่นเกมที่ถูกต้องตามกติกา ตามหลักสากล  เราไม่เล่นมวยวัด เราไม่มีตัวช่วยเรา ทำผิดให้เป็นถูก เราต้องปฏิบัติตามกติกาเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นเราจะเหนื่อย หวังว่า เจ้าหน้าที่รัฐ  รัฐมนตรีทั้งหลายต้องทำหน้าที่โดยเคร่งครัด  ตามกติกา ไม่มีหย่อน

วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ ประกาศดับเครื่องชน พูดอยู่คำเดียว 46,000 ล้าน พี่น้องครับ ต้องไปถามพล.ต.จำลอง (ศรีเมือง แกนนำ พันธมิตรฯ) ที่มายืนประท้วงผม วันที่มาเชิญไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พรรคพลังธรรม เมื่อปี  2537   เมื่อ 18 ปีที่แล้ว วันนั้นผมประกาศมีทรัพย์สินอยู่ 46,000 ล้าน ผมมีตังค์ ค้าขายรวยมาก่อน  ไม่ใช่เป็นคนที่ไปต้มใครมาก่อน แล้วมาเป็นนักการเมืองมีตังค์  เด็กรุ่นหลังคิดว่ามารวยตอนเข้าการเมือง  ผมมาเข้าการเมืองมีแต่เงินหายไป    เงิน 46,000 ล้านเป็นเงินที่ไม่ได้ปล้นใครมา   แต่เขาปล้นผมไป ต้องการให้เข้าใจว่าเป็นเงินของผม ของครอบครัว ที่ถูกขโมยไป ปล้นไป ผมทำมาหากินมาก่อน

ประชาธิปัตย์ดับเครื่องชน เล่นทั้งในสภา และนอกสภาฯ  ตกลงเป็นพรรคที่ถูกต้องตามกฏหมายจริงๆ หรือเปล่า  ไม่แน่ใจว่า พรรคที่มีอายุ 60 ปี ทำไมเล่นการเมืองแบบนี้ ในสภาฯ ไม่เคยมีภาพที่น่าเกลียดแบบนี้ในประเทศไทย ก็เพิ่งมามีคราวนี้ กระทำโดยพรรคที่เก่าแก่ที่สุดของไทย    และวันนั้น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ไปรอพบอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านในพม่า นึกว่า อองซาน ซูจี จะสอนว่าต้องอดทนนะ กว่าจะได้ประชาธิปไตย ไม่ใช่ถึงเวลาเลือกตั้งแล้วได้เสียงข้างน้อยก็ต้องให้ทหารมาช่วย ให้เป็นนายกรัฐมนตรีมันไม่ถูก

แต่คราวนี้คงไม่ง่ายแล้ว เพราะประยุทธ์ (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก) จบ จปร. 5 ปี  ไม่เหมือนกับอนุพงศ์ (พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ.) จบจปร.แค่ 3 ปี แล้วไปต่อปริญญาตรีที่ ม.รามคำแหง  ถึงไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะฉะนั้น ประยุทธ์ ฉลาดกว่า  คงไม่ทำอะไรในสิ่งที่ไม่ถูกต้องนัก

ผมคงจะต้องพูดอีกทีหนึ่ง ได้ข่าวว่า พี่น้องเสื้อแดงบางคนโกรธผม เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ขอประทานโทษ ไหว้อย่างงามๆ เลย ว่า  ไม่เคยคิดย่ำยีพี่น้องคนเสื้อแดงเลย  วันนั้นสัญญาณไม่ค่อยดี เพราะผมไปอยู่บ้านนอกของประเทศจีน สัญญาณมือถือขาดๆ หายๆ เลยพุดไม่ครบทุกประเด็น  จริงๆ อยากจะบอกว่า  ผมเป็นคนรู้สำนึกในบุญคุณพี่น้องเสื้อแดง ไม่เคยทอดทิ้ง ไม่เคยลืม วันนี้ก็ส่งคนไปคอยดูแลตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็น การเยี่ยมเยียนผู้ต้องขังคดี  พยายามจะช่วยทุกคน อาจจะทั่วถึงบ้าง ไม่ทั่วถึงบ้าง  ก็ต้องอาศัยแกนนำด้วย  ผมสนับสนุน สั่งการช่วยเหลือทุกอย่าง หวังว่าพี่น้องคนเสื้อแดง เราหัวใจเดียวกัน เราไม่ทิ้ง ไม่ลืมกันเด็ดขาด   แต่วันนี้ที่พูดถึงปรองดองอยากเห็นบ้านเมืองเดินหน้าได้  ไม่ใช่ว่าได้ดิบได้ดีอะไร  เราเห็นแล้วว่า พี่น้องติดคุก โดนคดีอยู่  5 พันกว่าคน    ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญบอกว่า คดีอาญาต้องให้ประกันตัว แต่ศาลสุดท้ายก็ไม่ได้ประกัน หลายคนถูกจำคุกทั้งที่ไม่ผิด คดีอากงเป็นตัวอย่าง  สิ่งนี้ทำให่พวกเราช้ำกันพอสมควร  เราต้องไม่ทะเลาะกันเอง  ไม่น้อยใจกันเอง หนักนิดเบาหน่อย  ขอให้บอกเลยว่า ผมไม่เคยทอดทิ้ง

พี่น้องครับ ผมได้อ่านบทความของอาจารย์สมศักดิ์ (สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล )  ต้องขอบคุณ อ่านแล้ว ยอมรับ หลายสิ่งที่พูดเป็นเรื่องที่จริง บางเรื่องก็พุดไม่ได้  แต่ผมก็ขอบคุณในความห่วงใยและปรารถนาดี วันนี้เราต้องช่วยกันเอาประชาธิปไตยกลับสู่ประเทศไทยให้ได้   ถึงแม้จะมีนักไม่ใช่ประชาธิปไตยทั้งหลาย  หรือบางคนเป็นนักเลือกตั้ง ก็มี  วันนี้เราต้องฝ่าตรงนี้ ให้เกิดประชาธิปไตยให้ได้

อองซาน ซูจี ยังพูดเลยว่า   การปฏิรูปเข้าสู่ประชาธิปไตยต้องเดินหน้าอย่างเดียว ถอยหลังไม่ได้   แต่ผมกลัวประเทศไทยจะถอยหลังอย่างเดียวหรือเปล่า  เป็นบาปกรรมอะไรหรือเปล่า พอพม่าพ้นเราจะเป็นหรือเปล่า    ขอให้อย่าเป็นอย่างนั้นเลย  ขอให้เห็นใจพี่น้องคนไทยเถอะ เพราะคนไทยเป็นคนที่รักษาเสรีภาพ  มีสันติ   ประชาธิปไตยเท่านั้นที่รักษากฎกติกา  และคนที่รักษากติกา จะทำให้ประเทศเราก้าวหน้าได้  อยากเห็นประชาธิปไตยได้รับการผลักดัน พวกเราเป็นนักสู้ประชาธิปไตย เราจะไม่ถอย แม้จะเจ็บปวดกันบ้าง    รับรองว่า เที่ยวนี้ความสามัคคีพวกเราจะเป็นปึกแผ่น  เราจะประสานงาน เราจะพูดคุยกัน   กำลังตั้งใจว่า กลับบ้าน จะทำอะไรที่ตอบแทนเสื้อแดง  ที่เป็นคนน่ารัก เป็นคนรักประชาธิปไตย รักประชาธิปไตย  นั่นคิดเรื่องเดียว ไม่ได้คิดเรื่องอื่นเลย

ตอนนี้อยากจะพูดอะไรให้พี่น้องสบาย ใจ  มีความสดชื่น พร้อมบอกว่ารักและคิดถึงพี่น้องเสื้อแดงทุกคน

ภายหลังจากที่พ.ต.ท.ทักษิณ โฟนอินจบ   นายณัฐวุฒิ  ใสยเกื้อ  บอกว่า   ฝ่ายตรงข้ามพยายามให้คนเสื้อแดงกับพ.ต.ท.ทักษิณห่างกัน ตนก็เลยอยากประกาศว่า   "เขาผลักทักษิณ เราจะกอดทักษิณเอาไว้  เขาจะไล่ทักษิณออกไป เราจะเอาทักษิณกลับมา เขาเกลียดทักษิณ เราก็จะบอกว่าเรารักทักษิณ  เขาอาจจะคิดว่าเรารู้ว่าซ่อนอยู่ตรงไหน เราก็บอกว่า เรารู้ว่าไผเป็นไผ" ซึ่งได้รับเสียงเฮและเสียงปรบมือจากคนเสื้อแดงอย่างล้นหลามอย่างมาก



ตลก. รธน. ละเมิด รธน. เสียเอง

ประชาไท: อดีตคณบดีนิติ มธ. ชี้ ตุลาการ รธน. ละเมิดรธน. เสียเอง เสนอเข้าชื่อถอดถอน


พนัส ทัศนียานนท์
ที่มา ประชาไท
2 มิุุถุนายน 2555


พนัส ทัศนียานนท์ – ปิยบุตร แสงกนกกุลชี้ ตุลาการรัฐธรรมนูญสั่งสภาผู้แทนราษฎรระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน เป็นคำสั่งที่ละเมิดรัฐธรรมนูญเสียเองและขัดต่อหลักแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย เสนอล่าชื่อถอดถอน ด้านพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล แจงวุฒิสมาชิกลงคะแนน 3 ใน 5 ถอดตุลาการรัฐธรรมนูญได้


ภายหลังตุลาการรัฐธรรมนูญ มีมติ 5 ต่อ 4 รับคำร้องพิจารณาว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่สภาผู้แทนราษฎรกำลังดำเนินนั้นมีลักษณะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งยังมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งรัฐสภาระงับการดำเนินเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าศาลมีคำวินิจฉัยด้วย
โดยนายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยนายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ ได้ร่วมกันแถลงว่า “เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา ศาลมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งรัฐสภาระงับการดำเนินเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าศาลมีคำวินิจฉัย นอกจากนี้ ให้ ครม. , รัฐสภา, พรรคเพื่อไทย, พรรคชาติไทยพัฒนา, นายสุนัย และนายภราดร มีหนังสือชี้แจงต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งสำเนาคำร้องและนัดคู่กรณีไต่สวนวันที่ 5-6 ก.ค.2555 เวลา 09.30 น. ซึ่งตุลาการจะเป็นการออกนั่งบัลลังก์ และหากไต่สวนได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้ว คณะตุลาการก็อาจนัดวันฟังคำวินิจฉัยได้เลย แต่หากข้อเท็จจริงยังไม่ครบถ้วนก็อาจไต่สวนเพิ่มเติมได้"
ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ แสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ ส่งผลสะเทือนต่อระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างน้อย 3 ประการคือ
1 ต่อไปนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้กุมชะตากรรมของ "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" ทุกครั้ง
2 ลำดับชั้นของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ อำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ จะเสียไปทั้งหมด
3 การสั่งให้สภาระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ชั่วคราว ไม่มีรัฐธรรมนูญเขียนไว้เลย แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังสามารถไปเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ นั่นหมายความว่า อนาคตอาจมีอีก
“ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญสร้างขึ้นมาเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ กลับเป็นองค์กรที่ละเมิดรัฐธรรมนูญเอง แล้วจะทำอย่างไร?” นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ตั้งคำถาม
ขณะที่นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง แสดงความเห็นว่าการวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อรัฐธรรมนูญของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และเสนอให้รวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอน และได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กในคืนวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมาว่า
“การที่ศาลรธน.มีคำสั่งให้สภาผู้แทนราษฎรระงับการพิจารณาร่างแก้ไข รธน.มาตรา 291 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการก้าวก่ายการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตุลาการที่ออกคำสั่งดังกล่าวจึงมีลักษณะเข้าข่ายที่อาจถูกถอดถอนตามบทบัญญัติมาตรา 270 ได้ ฉะนั้น จึงขอเสนอให้มีการรณรงค์เพื่อร่วมกันเข้าชื่อถอดถอนตามกระบวนการที่รธน.บัญญัติไว้”
“รัฐสภาคือตัวแทนอำนาจสูงสุดของประชาชน จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยเรื่องอำนาจกนิติบัญญัติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด ตามหลักการประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของอังกฤษ ซึ่งเราถือเป็นแบบอย่าง เขาถือว่ารัฐสภามีอำนาจสูงสุดตามหลัก Supremacy of Parliament”
อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษากฎหมายได้แสดงความเห็นว่า คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเสียเองนั้นย่อมไม่มีผลผูกพันบรรดาองค์กรต่างๆ ของรัฐ และเห็นว่าจะต้องแสดงความไม่ยอมรับต่อคำวินิจฉัยดังกล่าว ไม่เช่นนั้นจะเป็นการทำลายระบบในระยะยาว โดยผู้มีอำนาจในการถอดถอนตุลาการัฐธรรมนุญนั้นทำได้โดยวุฒิสภา ด้วยเสียง 3 ใน 5 ตามมาตรา 209 (6) ประกอบมาตรา 274 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.พ.ศ. 2550
"คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ" ตามมาตรา 216วรรคห้า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ย่อมหมายถึงเฉพาะ 'คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ' เท่านั้นครับ หากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเสียเองแล้ว ย่อมเป็น "คำวินิจฉัย" ที่ปราศจากฐานรองรับตามรัฐธรรมนูญ (unconstitutional actions) เช่นนี้ "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเช่นว่านั้น" ย่อมไม่ผูกพัน 'บรรดาองค์กรใดๆของรัฐ' ตามมาตรา 216 วรรคห้า ซึ่งการไม่ผูกพันสามารถแสดงออกโดยผ่านวิธี "เพิกเฉย" (ignored) ต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเช่นว่านั้น ไม่ยอมบังคับผูกพันต่อคำวินิจฉัยที่ขัดรัฐธรรมนูญ นี่เป็นวิธีกระทำต่อตัวคำวินิจฉัย (นอกไปจากวิธีลบล้างโดยอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) (efficacy as condition of validity) แต่ถ้ากระทำต่อตัว 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' ก็ต้องถอดถอนโดยวุฒิสภา ตามมาตรา 209 (6) ประกอบมาตรา274 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
“นี่เป็นวิธีการอย่างเร็วในการยับยั้งอำนาจศาลรัฐธรรมนูญนะครับ ถ้าไป "รับตามคำบังคับ" มันจะเป็นคำสั่งที่จะดำรงอยู่ในระบบกฎหมายต่อไป และระบบจะไม่เป็นระบบ จะไม่สามารถอธิบายในทางหลักวิชาได้เลย และทำลายโครงสร้างทั่วไปของ รัฐธรรมนูญในที่สุดครับ”
ที่มาของมติตุลาการรัฐธรรมนุญมาจากคำร้องของ 1.พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และกลุ่ม 40 ส.ว. 2.นายวันธงชัย ชำนาญกิจ 3.นายวิรัตน์ กัลยาศิริ 4. นายวรินทร์ เทียมจรัส 5.นายบวร ยสินทร และคณะ ที่ยื่นหนังสือให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐสภา พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา นายสุนัย จุลพงศธรและคณะ และนายภราดร ปริศนานันทกุล และคณะได้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผลทำให้เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
โดยคำร้องดังกล่าวขอให้ตุลาการวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่
สำหรับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน เป็นคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดที่ 3 ของไทย จัดตั้งขึ้นตามความในมาตรา 300 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ตุลาการรัฐธรรมนูญชุดแรกถูกยุบไปภายหลังจากที่มีจากการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ภายหลังจากการรัฐประหาร ได้มีการตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาเป็นชุดที่ 2 โดยมีอำนาจตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และต่อมามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งมาตรา 300 ได้กำหนดให้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็น ศาลรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะมีการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ภายหลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
หมายเหตุ
รัฐธรรมนูญ มาตรา 209 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย
(2) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(3) ลาออก
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 205
(5) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา207
(6) วุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
(7) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นกรณีที่คดียังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ภายใต้บังคับมาตรา 216
รัฐธรรมนูญมาตรา 274 สมาชิกวุฒิสภามีอิสระในการออกเสียงลงคะแนนซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
ผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลาห้าปี
มติของวุฒิสภาตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด และจะมีการร้องขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยอาศัยเหตุเดียวกันอีกมิได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
อ่านเพิ่มเติม

"รัฐสภา" ปฏิเสธคำสั่ง "ศาลรัฐธรรมนูญ"ได้หรือไม่

อิศรา: "รัฐสภา" ปฏิเสธคำสั่ง "ศาลรัฐธรรมนูญ"ได้หรือไม่ ?


โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ 
ที่มา สำนักข่าวอิศรา
วันเสาร์ที่ 02 มิถุนายน 2012 เวลา 11:35 น. 

1 มิถุนายน 2555 เป็นวันประวัติศาสตร์ที่ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ได้อ้างอำนาจตาม “รัฐธรรมนูญ มาตรา 68” เพื่อรับคำร้องมาวินิจฉัยว่า การดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 โดยรัฐสภาและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องนั้น เป็นกรณีที่ศาลจะสั่งการให้ “เลิกการกระทำ” ได้หรือไม่ 

นอกจากนี้ ศาลได้มี “คำสั่ง” ไปยังเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเพื่อแจ้งให้รัฐสภารอการดำเนินการดังกล่าวจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย โดยข้อมูลจากรายงานข่าวนั้น ไม่ชัดเจนว่าศาลได้สั่งไปยัง “สมาชิกรัฐสภา” โดยเจาะจง หรือเป็นเพียงการสั่งไปยัง “เลขาธิการ” เพื่อ “แจ้งสภาให้ทราบ” เท่านั้น (http://on.fb.me/LQrM7w )

ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ผู้เขียนขออาศัยวันเดียวกันเขียนเชิญชวนให้เรา โดยเฉพาะ “บรรดาผู้แทนของเรา” ร่วมกันใคร่ครวญว่า “รัฐสภา” ในฐานะ “ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติแทนปวงชนชาวไทยเพื่อถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารและตุลาการ” นั้น จะสามารถ “ปฏิเสธคำสั่ง” ของศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ?

ในขั้นแรก รัฐธรรมนูญ ได้กำหนดว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา...” แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดว่า “คำสั่ง” ของศาลนั้น มีผลผูกพันเด็ดขาดต่อรัฐสภาหรือไม่

ในขั้นต่อมา การที่รัฐสภาจะตัดสินใจปฏิเสธหรือปฏิบัติตาม “คำสั่ง” ของศาลหรือไม่นั้น รัฐสภาจะต้องปฏิบัติตาม “รัฐธรรมนูญ” อย่างน้อยสี่มาตรา คือ

มาตรา 3 วรรค 2 บัญญัติว่า ทั้งรัฐสภาและศาล ต่างต้องปฏิบัติหน้าที่ตามหลักนิติธรรม
มาตรา 6 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายอื่นจะมาขัดแย้งมิได้
มาตรา 291 (5) บัญญัติให้ รัฐสภามีหน้าที่ต้องพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่สาม เมื่อพ้น 15 วันหลังเสร็จสิ้นการพิจารณาวาระที่สอง
และที่สำคัญ คือ มาตรา 122 ซึ่งบัญญัติว่า

“สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยโดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์”

ดังนั้น ประเด็นที่ “รัฐสภา” ต้องพิจารณาก็คือ หาก “รัฐสภา” ปฎิบัติตาม “คำสั่ง” ของศาลรัฐธรรมนูญแล้วไซร้ จะเกิดผลอะไรต่อบทบัญญัติทั้งสี่มาตราที่กล่าวมานี้ ?

กล่าวอย่างตรงไปตรงมาก็คือ หากการปฎิบัติตาม “คำสั่งศาล” ดังกล่าว มีผลเป็นการยอมรับการใช้อำนาจที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ อันเป็นการขัดหลักนิติธรรมทั้งโดยศาลและรัฐสภา เป็นการละเมิดกำหนดเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ อีกทั้งส่งผลให้ผู้แทนปวงชนชาวตกอยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำ ของศาลแล้วไซร้ รัฐสภาย่อมมี “หน้าที่” ตามรัฐธรรมนูญที่จะปฏิเสธ “คำสั่ง” ดังกล่าว !

หาก “รัฐสภา” สำนึกในหน้าที่ของตนได้ดังนี้ ผู้เขียนก็จะขอเสนอคำถามเบื้องต้นที่อาจช่วยตรวจสอบว่า “คำสั่ง” ของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่านั้น ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่

คำถามแรก: ศาลใช้อำนาจ “เกินกรอบ” มาตรา 68 หรือไม่ ?
รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคแรก บัญญัติว่า 

“บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้”

ถ้อยคำของ มาตรา 68 ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเฉพาะการกระทำที่เป็นการ “ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” เพื่อล้มล้างการปกครอง...ฯ เท่านั้น ซึ่ง “การใช้สิทธิเสรีภาพ” ย่อมเป็นคนละเรื่องกับ “การใช้อำนาจหน้าที่” เช่น การลงมติสนับสนุนหรือเห็นชอบการแก้ไข มาตรา 291

ลักษณะสำคัญของ “การใช้สิทธิเสรีภาพ” คือ ผู้กระทำได้อ้าง “สิทธิเสรีภาพ” เพื่อประโยชน์ของตนตามที่ตนปราถนาโดยปลอดจากสภาพบังคับ และจะใช้หรืออ้าง “สิทธิเสรีภาพ” หรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างการกระทำที่อาจเข้าข่าย มาตรา 68 อาจมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การดำเนินนโยบายพรรคการเมืองเพื่อยุยงให้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ การนัดชุมนุมเพื่อทำให้คณะรัฐมนตรี รัฐสภาหรือศาลไม่อาจทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ 

แต่ “การใช้อำนาจหน้าที่” นั้น หมายถึง ผู้กระทำมิอาจเลือกได้อย่างอิสระว่า ตนจะกระทำหรือไม่กระทำเพื่อประโยชน์ของตนตามที่ปราถนาโดยปลอดจากสภาพบังคับ แต่เป็นกรณีที่ผู้กระทำถูกกำหนดให้กระทำไปเพราะมีอำนาจหน้าที่ต้องกระทำหรือต้องใช้ดุลพินิจกระทำไปในฐานะส่วนหนึ่งของกลไลตามรัฐธรรมนูญ 


เช่น การที่สมาชิกรัฐสภาจะเสนอญัตติ หรือออกเสียงลงคะแนน หรือกระทำการอื่นที่เกี่ยวกับการแก้ไข มาตรา 291 ก็ถือเป็น “การใช้อำนาจหน้าที่” ซึ่งการใช้ดุลพินิจย่อมไม่อิสระ แต่อยู่ภายใต้ มาตรา 122 กล่าวคือ จะอ้างว่ามีเสรีภาพใช้ดุลพินิจเพื่อตนเองหรือผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้ และจะสงวนการใช้สิทธิเสรีภาพว่าขอละเว้น ไม่รับรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการทำหน้าที่ในสภาก็ไม่ได้ เช่นกัน เป็นต้น


ข้อที่สำคัญกว่านั้น คือ หากมี “การตีความปะปน” ว่า “การใช้อำนาจหน้าที่” ตามรัฐธรรมนูญ กลายเป็น “การใช้สิทธิเสรีภาพ” ตาม มาตรา 68 ไปเสียแล้วก็จะส่งผลแปลกประหลาดทำให้ ศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นองค์กรที่มีเขตอำนาจล้นพ้น สามารถรับเรื่องมาวินิจฉัยการใช้อำนาจหน้าที่ได้มากมาย


เช่น การใช้อำนาจของคณะองคมนตรีในการเสนอชื่อผู้สมควรเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตาม มาตรา 19 การใช้อำนาจของรัฐสภาในการเห็นชอบการประกาศสงครามตาม  มาตรา 189 การใช้อำนาจของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาในการเลือกผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 204 ก็อาจล้วนถูกศาลตรวจสอบได้ เป็นต้น


หรือแม้แต่การเสนอ ร่าง พ.ร.บ. ปรองดอง หากมีผู้อ้างว่าเป็นการ “ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” เพื่อล้มล้างการปกครอง...ฯ ก็จะกลายเป็นว่า สามารถถูกตรวจสอบโดยศาลได้ โดยไม่ต้องรอให้มีการพิจารณาตามวาระของรัฐสภาเสียด้วยซ้ำ และอาจนำไปสู่การยุบพรรคหรือตัดสิทธิทางการเมืองได้อีกด้วย ! 


ยิ่งไปกว่านั้น หาก “สิทธิการยื่นคำร้อง” ตามมาตรา 68 ถูกตีความอย่างพร่ำเพรื่อ เช่น อ้างอำนาจตุลาการมายับยั้งการใช้ดุลพินิจของผู้แทนปวงชนได้ทุกกรณีแล้วไซร้ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” นี้เองอาจกลับกลายมาถูกนำมาใช้ในทางที่เป็น “ปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ” ทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจ และขัดต่อหลักการใช้สิทธิตาม มาตรา 28 อีกด้วย


(อนึ่ง ผู้เขียนน้อมรับหากมีผู้เห็นต่างเรื่องสิทธิหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและการแยกแยะสถานะของ “เอกชน” และ “รัฐ” ซึ่งก็หวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนในทางวิชาการต่อไป)


คำถามที่สอง:
 
ศาลใช้อำนาจ “ข้ามขั้นตอน” อัยการสูงสุดหรือไม่ ?

รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสอง บัญญัติว่า 


“ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว”


ศาลตีความว่า ผู้ที่จะนำคดีมาสู่ศาล จะเสนอเรื่องผ่านอัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้องต่อศาลก็ได้ หรือ จะยื่นคำร้องเองโดยตรงต่อศาลเลยก็ได้ ดังนั้น ศาลจึงรับคำร้องได้โดยไม่ต้องรออัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน 


คำถามก็คือ การตีความที่ว่านี้ ขัดต่อทั้งถ้อยคำและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ อีกทั้งสร้างผลประหลาดตามมาหรือไม่ 


หากพิจารณาถ้อยคำ มาตรา 68 ว่า “มีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย” การตีความของศาลทำให้เกิดปัญหาทางภาษาอย่างน้อย 2 ระดับ ระดับแรก คือ เสมือนศาลได้แทนคำว่า “และ” ด้วยคำว่า “หรือ” และระดับที่สอง คือ ศาลได้ใช้ตรรกะภาษาที่ตีความขัดกับรูปประโยค เพราะหากศาลมองคำว่า “และ” ให้แปลว่า “หรือ” ก็จะเท่ากับว่า รูปประโยคไม่ได้ให้อำนาจ “อัยการสูงสุด” เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาล


หากพิจารณาในแง่เจตนารมณ์ จะเห็นว่า “อัยการสูงสุด” มีบทบาทจำเป็นในการกรองคดี เพราะศาลไม่มีทรัพยากรที่จะไปตรวจสอบหรือสืบสวนการ “ล้มล้างการปกครองฯ...” ซึ่งอาจมีข้อเท็จจริงและพฤติกรรมที่ต้องอาศัยพยานหลักฐานจำนวนมาก เห็นได้จาก คดีอื่นในทางมหาชน เช่น คดีทุจริต หรือ คดีพรรคการเมือง ก็จะมี อัยการ ป.ป.ช. หรือ กกต. เป็นผู้นำคดีมาสู่ศาล หรือ หากเป็นคดีที่ฟ้องตรงได้ต่อศาล ก็จะต้องเป็นกรณีที่วินิจฉัยข้อกฎหมายและมีข้อจำกัดในเรื่องผู้มีสิทธินำคดีมาสู่ศาล อีกทั้งป้องกันการกล่าวอ้างสารพัดมาเพื่อสร้างภาระคดีต่อศาลโดยตรง


การให้ความสำคัญกับอัยการสูงสุด ยังปรากฏหลักฐานจาก “รายงานการประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ” ครั้งที่ 27/2550 เช่น คำอภิปรายโดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ในหน้าที่ 6-8 และนายจรัญ ภักดีธนากุล (ผู้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในเวลานี้) ในหน้าที่ 32-34 ซึ่งอภิปรายถึงการให้อัยการสูงสุดเป็นผู้นำคดีไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญ และไม่ได้กล่าวถึงการให้สิทธิบุคคลอื่นยื่นเรื่องโดยตรงต่อศาลแต่อย่างใด ( http://bit.ly/Mg9kLY )


นอกจากนี้ การตีความของศาลก็ส่งผลประหลาด คือ ทำให้บทบาทของ “อัยการสูงสุด” ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลนั้นไร้ความหมาย เพราะหากผู้ใดจะนำคดีไปสู่ศาล ก็ย่อมยื่นต่อศาลโดยไม่เสนอเรื่องผ่านอัยการ และหากผู้อื่นเสนอเรื่องเดียวกันให้อัยการในเวลาเดียวกัน ก็จะเกิดคำถามตามมาว่าอัยการต้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไปหรือไม่ เพราะศาลได้รับคำร้องเรื่องเดียวกันจากผู้อื่นที่ยื่นตรงต่อศาลไปแล้ว 


ยิ่งไปกว่านั้น การที่ มาตรา 68 ให้ศาลมีอำนาจ “ยุบพรรคการเมือง” หรือ “ตัดสิทธิทางการเมือง” ก็คือการให้ตุลาการถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมี “อัยการ” เป็นกลไกในการกรองคดี แต่หากศาลตีความเพิ่มอำนาจให้ตนเองได้อย่างกว้างขวางแล้ว ก็จะเป็นช่องทางให้มีผู้ใช้ตุลาการเป็นอาวุธทางการเมือง ซึ่งก็จะกลับมาทำร้ายตุลาการในที่สุด


บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ผู้เขียนไม่ปฏิเสธเลยว่าการแก้ไข มาตรา 291 มีปัญหาและความไม่สง่างามหลายประการ แต่นั่นคือปัญหาที่รัฐสภาเสียงข้างมากต้องรับผิดชอบทางการเมือง และประชาชนก็ต้องจ่ายราคาของประชาธิปไตยที่จะอดทนเรียนรู้และตัดสินใจได้ดีขึ้นในครั้งต่อไป แต่ประชาชนจะไม่มีวันเรียนรู้โดยตัวเองเลย หากเราปล่อยให้มีเสียงข้างน้อยที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนำมาตรฐานจริยธรรมและความพึงพอใจทางการเมืองส่วนตนมาลากประชาชนไปสู่ทางออกที่ตนยังไม่ทันได้เข้าใจ

ดังนั้น หาก “รัฐสภา” พิจารณาได้ว่า “คำสั่ง” ของศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นเพราะ “เกินกรอบ” และ “ข้ามขั้นตอน” ตามตามที่อธิบายมาก็ดี หรือ เพราะขัดหลักนิติธรรม หรือหลักการแบ่งแยกอำนาจ หรือ หลักอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญก็ดี (หรือสภาเห็นช่องทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องการอนุโลมกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ศาลกำหนดขึ้นเอง “ระหว่างรอกฎหมาย” จากรัฐสภาก็ดี!) “รัฐสภา” ย่อมมี “หน้าที่” ที่จะต้องปฎิเสธและไม่ปฏิบัติตาม “คำสั่ง” ดังกล่าว เพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญแทนปวงชนชาวไทย อีกทั้งต้องร่วมต่อต้าน ดำเนินการตรวจสอบ รวมทั้งพิจารณาถอดถอนผู้ใดที่จงใจใช้อำนาจนอกวิถีรัฐธรรมนูญ 

แต่หากประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภาปฏิบัติตาม “คำสั่ง” อันขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย อีกทั้งยัง “ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่” เมื่อพ้นเวลา 15 วันตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้แล้วไซร้ ก็พึงสังวรว่า กลับเป็นประธานและสมาชิกรัฐสภาหรือไม่ ที่ร่วมลงมือละเมิดรัฐธรรมนูญของประชาชน และอาจต้องโทษอาญาเสียเอง 


อ่านเพิ่ม
อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ เสนอให้ล่ารายชื่อ ถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ข้อหาผิดมาตรา 270 ได้

http://thaienews.blogspot.com/search?updated-min=2012-01-01T00:00:00%2B07:00&updated-max=2013-01-01T00:00:00%2B07:00&max-results=50

ข่าวต้านรัฐประหาร ฉบับ บก.ลายจุด

VoiceTV: แถลงข่าวต้านรัฐประหาร ฉบับ บก.ลายจุด


by Watsana
ที่มา VoiceTV
1 มิถุนายน 2555 เวลา 22:46 น.

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด นักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางสังคม แถลงข่าวต้านรัฐประหาร ผ่านทวิตเตอร์ โดยระบุว่า 
ตลอดทั้งวันของวันนี้ (1 มิ.ย.55) เต็มไปด้วยกระแสข่าวการเตรียมการรัฐประหาร อันสืบเนื่องจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร และ ท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ในสภา แม้ พันธมิตรจะมีกำลังมวลชนเหลือไม่มาก แต่การประสานเครือข่ายกับ ประชาธิปัตย์ในนามของ สยามสามัคคี เกิดขึ้นได้ แม้จะเดินแยกกันมาระยะหนึ่งแล้ว อย่างน้อยที่สุด ภาพรวมการเคลื่อนไหวครั้งนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพันธมิตร และ ประชาธิปัตย์ 
โดย พันธมิตรออกตัวให้ก่อนนอกสภา ส่วน ประชาธิปัตย์เล่มเกมในสภา เหตุการณ์ 2 วันก่อนในสภาของ ประชาธิปัตย์แสดงให้เห็นว่า ทุ่มสุดตัว เกหมดหน้าหนัก ไม่ต้องไว้ฟอร์มหน้าตาของพรรค เพื่อสร้างสถานการณ์ในสภาว่าไม่ใช่คำตอบ
การที่ ส.ส. ชาย 3 คนเดินขึ้นไปบนบันลังก์แล้วฉุดกระชากประมุขฝ่ายนิติบัญญัติให้ลงจากเก้าอี้ เป็นการแสดงถึงการล้มอำนาจในสภา ซึ่งน่าสังเวชใจ การที่ ส.ส. รังสิมา ลากเก้าอี้ประธานสภาไปซ่อน ยิ่งตอกย้ำว่า เขาไม่ยอมให้มีการประชุมสภา ไม่รวมถึงการโยนแฟ้มและบีบคอ ส.ส. จิรายุ ภาพเน่าสนิท
พฤติกรรมของ ส.ส.ประชาธิปัตย์ ใน 2 วันที่ผ่านมา ไม่ต้องสงสัยว่า นี่เป็นความรู้เห็นและเตรียมการของ ประชาธิปัตย์ โดยมีผู้ใหญ่ในพรรคส่งสัญญาณเต็มที่งานนี้ถือว่า คงลงหน้าตักมากสุดคือ ประชาธิปัตย์ เพราะแก้ผ้าเล่นกันไพ่เสี่ยง ยอมแลกกับภาพลักษณ์เจ้าหลักการและยึดมั่นในระบอบรัฐสภาของตนเอง ทิ้งไพ่ เรื่องที่ต้องพิจารณาคือการลงแรงของ ประชาธิปัตย์ รอบนี้ จะเหมือนกับตอน ไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งเมื่อปี 49 เพื่อล้มเกมเลือกตั้งหรือไม่
คำถามจึงมีอยู่ว่า ประชาธิปัตย์ ลงทุนสูงขนาดนี้ หวังแค่ล้ม พ.ร.บ. ปรองดอง หรือว่าคิดไกลกว่านั้น หาก ประชาธิปัตย์ และ พันธมิตร คิดจะล้มอะไรบางอย่างที่มากกว่า พ.ร.บ. ปรองดอง พวกเขาจะต้องมีตัวช่วยสำคัญ คือ ทหารรัฐบาล 
มีผู้วิเคราะห์ว่า การรัฐประหารโดยทหารเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ความเป็นไปได้มากสุดคือ การรัฐประหารโดยกฎหมาย วันนี้เราเห็นศาลรัฐธรรมนูญ เคลื่อนแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผิด รัฐธรรมนูญ หรือไม่ และให้เลื่อนการแก้ไขออกไปก่อนการรุกกลับของฝ่ายตรงข้าม เพื่อไทย (ทักษิณ) เกิดขึ้นจากบรรยากาศ 2 ขา ระหว่างเสื้อแดง กับ เพื่อไทยเดินขัดกัน มีการเคลื่อนไหวในระดับผู้บังคับบัญชากองกำลังของท่าน ทั้งประชุมและการทำ Poll เช็คความรู้สึกของ ประชาชน ในกรณีในสภา 
เมื่อบ่ายวันนี้ จตุพร และ นปช.แถลงข่าว ประกาศชัด ทักษิณโดนหักหลัง นปช ชิงแถลงข่าวผ่านเครือข่ายสื่อของเสื้อแดงทั้งหมด ทั้งทีวีจอแดงและวิทยุชุมชน ย้ำให้เตรียมพร้อมระดับสูงสุด
จตุพรบอกว่า มีการเตรียมบ้าน VIP ที่ราบ 11 คาดว่าเหมือนตอนจับพลเอกชาติชาย แต่งานนี้ทหารจะจับนายกหญิงคนแรก เตรียมความพร้อมโดยการสั่งการในทางลับ ให้เตรียมพื้นที่เชียงใหม่สำหรับทำฐานบัญชาการหากเกิดรัฐประหาร (ข่าววงในเพื่อไทย)
การรัฐประหารจะต้องทำในช่วงที่รัฐบาลมีกระแสตกต่ำ แต่ตอนนี้กระแสตกต่ำคือ ฝ่ายค้าน ตกสุดขีด หากเกิดการรัฐประหาร ความยากที่สุดของคนทำคือ การรับมือกับฝ่ายต่อต้าน ที่ไม่ใช่กองกำลัง แต่เป็นมวลชน และต้องตอบคำถามสังคมโลก กรอบระยะเวลาของการรัฐประหาร คือ 3 สัปดาห์ หรือ ในเดือนมิ.ย. นี้ ซึ่งต้องขึ้นอยู่ว่ากระแสสูง ตอบรับเพียงใด เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวต่าง ๆ  โดยรวม ก็ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า โอกาสที่จะเกิดรัฐประหารมีความเป็นไปได้ พอ ๆ กับจะไม่เกิดขึ้น อำมาตย์เดินเกมพลาด 19 กันยายน กำจัดทักษิณแต่สร้างขบวนการเสื้อแดงขึ้นมาจนใหญ่โต ยักษ์หลับเอาใส่ตะเกียงลำบากกว่าทักษิณ
นอกจากนั้น การรัฐประหาร ยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แรงต้านสำคัญตรงนี้คือชนชั้นกลาง หากผลักคนชั้นกลางไปเข้าทางเสื้อแดงจะยิ่งไปกันใหญ่ เศรษฐกิจยึดโยงกับเศรษฐกิจโลก ยิ่งในสภาวะการณ์ที่เศรษฐกิจโลกทดถอย การรัฐประหารยิ่งทำลายตัวเองให้อ่อนแอไปกันใหญ่
การแถลงของ นปช. ในฐานะองค์กรนำ จึงยึดเอาหลักป้องกันสูงสุด ส่งสัญญาณไปในระดับหมู่บ้าน ที่ขณะนี้มีเครือข่ายอย่างกว้างขวางมีความเสี่ยงที่เกี่ยวกับ รัฐประหาร อีกอย่างคือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของฝ่ายทหาร ซึ่งมีกันมาตลอด 5 ปี ในยุคบูรพาพยัคฆ์เรืองอำนาจการขาดเอกภาพในกองทัพระหว่างบูรพาพยัคฆ์และวงศ์เทวัญ กระหึ่มขึ้นในเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. 53 เมื่อเศษระเบิดขว้าง M67 ไปอยู่ในร่างทหาร 2 นาย คนที่จ่อคิว ผบ.ทบ. แทนพลเอกประยุทธ ที่มีผลงานเด่นในช่วย เม.ย.- พ.ค. 53 ก็นั่งรออยู่ แต่อายุราชการพลเอกประยุทธยาวเกิน
ปัจจัยเรื่องการรัฐประหารนั้น มีปัจจัยซ้อนกันหลายประเด็น นี่ยังไม่รวมเรื่องจิตนิยมประเภทคำทำนายและการสะเดาะเคราะห์ที่คุยกันหลังไมค์ ต่อไปเป็นการเสนอแนวทางและข้อเสนอต่อสถานการณ์รัฐประหาร คือ เฝ้าระวัง ตื่นตัว สื่อสาร เครือข่าย คิดปฏิบัติการ การเฝ้าระวัง ให้ทำการติดตามการเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น จากญาติที่เป็นทหาร หรือ สัญญาณใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การตื่นตัว โดยการไม่นิ่งนอนใจต่อสถานการณ์ ให้มีการติตามวิเคราะห์พูดคุยกันอย่างกว้างขวาง 
กรณีหากเกิดการรัฐประหาร จะเกิดผลดีผลเสียอย่างไร การสื่อสารให้ใช้เครือข่ายสื่อสารทุกรูปแบบที่มี หากมีการรัฐประหาร ทำการต่อต้าน ไม่ว่าจะใน Social Network หรือแม้แต่ฝาผนังห้องน้ำ การต่อต้านการรัฐประหารโดยแกนนำทำได้ยาก เพราะถูกไล่ล่า จึงต้องกระบวนการธรรมชาติ จนกว่าจะตั้งหลักได้จึงมีแกนนำการต่อต้านรัฐประหาร ให้ทำทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เป้าหมายคือ การปฏิเสธและก่อกวนอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรม การต่อต้านรัฐประหารไม่ควรต้านบนความเสี่ยงด้วยชีวิต ติดคุก ถูกจับ เดี๋ยวก็ปล่อย แต่อย่าไปแลกกับกระสุน ทหารมาให้หลบ แล้วออกมาใหม่เวลาเขาไปพื้นที่การต่อสู้แม้จะกำหนดให้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นพื้นที่สัญลักษณ์ แต่ในความเป็นจริง คงยากที่จะเข้าไป ณ จุดนั้น ดังนั้นทุกที่ ๆ พอเป็นไปได้
การต่อต้านรัฐประหาร ต้องเข็มข้นต่อเนื่องให้ได้ใน 2สัปดาห์แรก สื่อทั่วโลกจะจับตาปฏิกริยาของประชาชน ให้แสดงออกทุกวิถีทางทันทีที่การรัฐประหารเกิดขึ้น ให้ทุกคนใช้สัญลักษณ์สีดำ สวมเสื้อดำ ฉีดสเปรย์สีดำตามผนัง เป็นรูปพระอาทิตย์ การต่อต้านรัฐประหารครั้งนี้ ขอให้สายพิราบได้ทำหน้าที่อย่างถึงที่สุด สายเหยี่ยวไม่ควรยุ่ง ให้เป็นการต่อต้านที่ศิวิไลซ์ที่สุด แพ้ก็ไม่เป็นไร
การปิดประเทศทำไม่ได้..
มีคนบ้าเท่านั้นที่คิด
การเลือกตั้งก็ต้องกลับมาโดยเร็ว
ถึงวันนั้นจงเลือกพรรคที่มีความกล้าหาญในการต่อสู้จริง ๆ
http://thaienews.blogspot.com/search?updated-min=2012-01-01T00:00:00%2B07:00&updated-max=2013-01-01T00:00:00%2B07:00&max-results=50